การเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ (Involuntary movements)

การเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ เช่น การสั่น หรือชักกระตุก มักเกิดจากความผิดปกติในระบบประสาทหรือสมอง ซึ่งบางภาวะหากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 19 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

การเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ หมายถึงกรณีที่ร่างกายขยับเองโดยคุณที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนั้นได้ เช่น การกระตุกสั้นๆ การสั่นเทิ้ม หรืออาการชัก ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้สามารถเกิดได้ในเกือบทุกส่วนของร่างกาย

การเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจมีหลายรูปแบบและอาจเกิดจากสาเหตุแตกต่างกันหลายประการ อาจมีทั้งอาการที่ไม่รุนแรงและหายไปได้เอง หรือมีอาการรุนแรง และยิ่งแย่ลงไปเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประเภทของการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ

การเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้แก่

  • กลุ่มอาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia: TD) : เป็นความผิดปกติของระบบประสาท สาเหตุเริ่มต้นในสมองและเกิดขึ้นโดยผู้ป่วยที่ใช้กลุ่มยารักษาโรคจิต (Neuroleptic Drugs) ซึ่งจะมีการเคลื่อนไหวบนใบหน้าที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น หน้าตาบูดบึ้ง กระพริบตาถี่ แลบลิ้นออกมา เลีย เม้ม หรือย่นริมฝีปาก
  • อาการสั่น (Tremors) : เป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างมีจังหวะ โดยเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นระยะๆ คนส่วนใหญ่เกิดอาการสั่นในการตอบสนองต่อปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการถอนสุรา หรือหมดแรงอ่อนเพลีย ในบางกรณีอาจพบอาการสั่นรุนแรงที่เกิดจากโรคบางชนิด เช่น เส้นโลหิตตีบหลายเส้น หรือโรคพาร์กินสัน
  • กล้ามเนื้อกระตุกรัว (Myoclonus) : หมายถึงการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว กระตุกแรง คล้ายกับอาการสะดุ้ง อาการนี้อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติในช่วงระหว่างการนอนหลับหรือในช่วงเวลาที่ตกใจ แต่ก็อาจพบได้จากความผิดปกติทางสุขภาพ เช่น โรคลมชัก (Epilepsy) หรือโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
  • โรคติกส์ (Tics) : เป็นการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ทันทีทันใด โดยแบ่งเป็นแบบธรรมดาหรือซับซ้อนขึ้นอยู่กับว่าอาการเกี่ยวข้องกับกลุ่มกล้ามเนื้อไม่กี่มัดหรือกลุ่มกล้ามเนื้อกลุ่มใหญ่ เช่น การยักไหล่แรงหรืองอนิ้วมากเกินไปเป็นรูปแบบหนึ่งของโรคติกส์แบบธรรมดา ส่วนการกระโดดซ้ำๆ และการสะบัดแขนซ้ำๆ ไปมา เป็นตัวอย่างของโรคติกส์แบบซับซ้อน
  • ภาวะ Athetosis : การเคลื่อนไหวนี้หมายถึงการเคลื่อนไหวบิดและคลายตัวไปมาช้าๆ มักเกิดขึ้นในส่วนมือและแขน

สาเหตุของการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ

โดยทั่วไปแล้ว การเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจมักเกิดจากความเสียหายต่อเส้นประสาทหรือส่วนต่างๆ ของสมอง ที่มีผลต่อการประสานงานของระบบควบคุมกล้ามเนื้อ แต่ก็มีโรคทางการแพทย์หลายโรคที่สามารถทำให้เกิดการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ ซึ่งสามารถแบ่งออกตามช่วงวัยได้ ดังนี้

  • สาเหตุของการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจในเด็ก มักเกิดภาวะขาดออกซิเจนหรือได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในช่วงเวลาคลอด เช่น
    • ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Kernicterus) : เกิดจากเม็ดสีที่ผลิตจากตับชื่อว่า บิลิรูบิน
    • โรคสมองพิการ (Cerebral palsy) : เป็นโรคทางระบบประสาท ที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายและการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • สาเหตุของการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจในผู้ใหญ่ ได้แก่
    • การใช้ยาเสพติด
    • การใช้ยารักษาโรคจิตเพื่อรักษาความผิดปกติทางจิตเวชในระยะยาว
    • เนื้องอก
    • อาการบาดเจ็บในสมอง
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคเสื่อมตามวัยของร่างกาย เช่น โรคพาร์กินสัน
    • โรคชัก
    • โรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษา
    • โรคของต่อมไทรอยด์
    • ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease) และโรควิลสัน (Wilson’s Disease)

การวินิจฉัยการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ

นอกจากการซักประวัติทางการแพทย์ และประวัติอื่นๆ แล้ว ควรแจ้งอาการอื่นๆ ที่พบพร้อมกับการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงอาการข้างเคียงที่เกี่ยวข้องนอกเหนือไปจากที่แพทย์ถาม เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุที่เกิดได้ดียิ่งขึ้น

การตรวจวินิจฉัยสำหรับการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ

หากแพทย์ไม่แน่ใจว่า การเคลื่อนไหวนอกจิตใจที่เกิดขึ้น มีาสาเหตุมาจากอะไร ก็อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • การตรวจเลือดวัดระดับอิเล็กโทรไลต์
  • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เพื่อค้นหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
  • การตรวจธาตุทองแดงหรือเซรูโลพลาสมินในซีรัม เพื่อวินิจฉัยโรควิลสัน
  • การตรวจเชื้อซิฟิลิส เพื่อค้นหาว่ามีภาวะประสาทจากซิฟิลิสหรือไม่
  • การตรวจเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เพื่อตรวจว่าเป็นโรคลูปัสทั้งระบบร่างกาย (Systemic lupus etrythrematosus) หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
  • การตรวจวัดระดับแคลเซียมในเลือด
  • การตรวจนับเม็ดเลือดแดง
  • การตรวจปัสสาวะเพื่อค้นหาสารพิษ หรือยาเสพติด
  • การเจาะไขสันหลังเพื่อทำการวิเคราะห์น้ำไขสันหลัง
  • การถ่ายภาพรังสี เช่น เอ็มอาร์ไอ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในบริเวณสมองเพื่อค้นหาความผิดปกติของอวัยวะดังกล่าว
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram)
  • การตรวจทางจิตเภสัชวิทยา (Psychopharmacology) เพื่อดูว่ามีการใช้ยาหรือสารเคมีใดอยู่บ้าง

ทางเลือกการรักษาการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ

การรักษาการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจของผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรค บางรายอาจต้องรับประทานยามากกว่า 1 ชนิด ขณะที่บางรายแพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกายมากขึ้นแทน เช่น การว่ายน้ำ การเดินเร็ว หรือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ก็เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะปกติ

ที่มาของข้อมูล

Krista O'Connell, What Causes Involuntary Movements? (https://www.healthline.com/symptom/involuntary-movements), March 10, 2016.


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abnormal Involuntary Movements. Dyskinesias info. Patient. (https://patient.info/doctor/abnormal-involuntary-movements)
Movement - uncontrollable. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/003201.htm)
Involuntary Movements: Causes, Diagnosis, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/movement-uncontrollable)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป