กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. ธนู โกมลไสย แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. ธนู โกมลไสย แพทย์ทั่วไป

แมลงเข้าหูควรทำอย่างไรดี

หากแก้ไขไม่ถูกวิธี อาจมีผลร้ายแรงต่อหูและการได้ยินของคุณได้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แมลงเข้าหูควรทำอย่างไรดี

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หูคนเรามี 3 ชั้นได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน ก่อนจะถึงหูชั้นในจะมีชั้นแก้วหูซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ถ้าชั้นแก้วหูถูกทำลายก็จะส่งผลทำให้ไม่ได้ยินเสียงอะไรอีก หรือที่เรียกว่า "หูหนวก"
  • หากแมลงเข้าหูควรหาวิธีหลอกล่อให้แมลงออกมาเร็วที่สุดเพื่อป้องกันมันเข้าไปกัด แทะเยื่อแก้วหู วิธีที่น่าสนใจ เช่น เข้าไปในห้องมืดๆ แล้วคลุมตัวด้วยผ้าห่มอีกชั้น จากนั้นจึงส่องไฟฉายเข้าไปในรูหูเพื่อให้แมลงออกมา
  • การทำให้แมลงจมน้ำด้วยการหยอดของเหลวลงไป รอให้ของเหลวไหลลงเต็มรูหู ดึงใบหูข้างนั้นไปทางด้านหลังเล็กน้อย รอจนไม่มีการเคลื่อนไหวของแมลงแล้ว จึงตะแคงหูข้างนั้นให้น้ำไหลออกมาพร้อมแมลง ก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ 
  • ข้อห้ามปฏิบัติที่สำคัญเมื่อแมลงเข้าหู ได้แก่ ห้ามใช้นิ้วแหย่เข้าไปในหูเพราะแมลงอาจต่อย หรือกัดได้ ห้ามใช้อุปกรณ์ใดๆ แหย่หูเพราะจะยิ่งดันแมลงให้เข้าไปในหูลึกยิ่งขึ้น และห้ามใช้น้ำมันไวไฟ แอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู หยอดลงไปในหูเด็ดขาด
  • วิธีป้องกันแมลงเข้าหู ได้แก่ หมั่นทำความสะอาดหูอยู่เสมอ รักษาความสะอาดของเครื่องใช้  ป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงขึ้นมาอยู่บนที่นอน และไปตรวจหูทันทีหากพบว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น หูอื้อ ปวดหู  (ดูแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ที่นี่)

หูถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ใช้หูเป็นอวัยวะรับเสียงต่างๆ ก่อนจะส่งผ่านไปสู่สมองเพื่อแปลงสัญญาณเป็นการรับรู้ในที่สุด

หูคนเรามี 3 ชั้นได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน ก่อนจะถึงหูชั้นในจะมีชั้นแก้วหูซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหู ถ้าชั้นแก้วหูถูกทำลายก็จะส่งผลทำให้ไม่ได้ยินเสียงอะไรอีกต่อไป หรือที่เรียกว่า "หูหนวก" นั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อันตรายหากแมลงเข้าหู 

รูหูคนเรามีความยาวเพียงแค่ 3-4 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับรูปตัว S  คงไม่ดีแน่หาก เกิดเหตุการณ์มีแมลงหลุดเข้าไปในหู เนื่องจากธรรมชาติของแมลงจะบิน หรือเดินต่อไปข้างหน้าเรื่อยๆ ไม่มีการกลับตัวออกมาเอง 

หากโชคร้ายแมลงอาจเดินทางไปถึงแก้วหูได้ ยิ่งไปกว่านั้นแมลงอาจจะกัดแทะ หรือตะกายบริเวณแก้วหูจนทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรงตามมา หรืออาจมีเศษซากแมลงหลงเหลืออยู่ได้ ซึ่งอาจเกิดการติดเชื้อในช่องหูในภายหลัง หรืออาจทำให้แก้วหูทะลุ

ดังนั้นหากมีแมลงหลุดเข้าไปในหู สิ่งสำคัญที่สุดคือ การพยายามนำแมลงออกมาให้เร็วที่สุด 

การปฏิบัติตัวเมื่อมีแมลงเข้าหู

ใช้วิธีหลอกล่อให้แมลงออกมา 

โดยการเข้าไปในห้องมืดๆ ไม่ต้องเปิดไฟ แล้วคลุมตัวด้วยผ้าห่ม จากนั้นส่องไฟฉายเข้าไปในรูหูเพื่อช่วยให้แมลงออกมา เพราะโดยธรรมชาติของแมลงแล้วจะบิน หรือเข้าหาแสงไฟสว่าง

การทำให้แมลงจมน้ำ 

โดยการเอียงคอด้านที่แมลงเข้าหูขึ้น จากนั้นหยอดของเหลว เช่น น้ำอุณหภูมิห้อง น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว เบบี้ออยล์ ช้าๆ ครั้งละประมาณ 2 ซีซี รอให้ของเหลวไหลลงเต็มรูของหู 

จากนั้นให้ดึงใบหูข้างนั้นไปทางด้านหลังเล็กน้อย รอประมาณ 30 นาที สังเกตดูว่า แมลงยังมีการขยับตัวอยู่หรือไม่ เมื่อแน่ใจว่า แมลงไม่เคลื่อนไหวใดๆ แล้วจึงค่อยๆ ตะแคงหูเพื่อให้แมลงไหลออกมาเอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในบางพื้นที่ เช่น ภาคอีสาน จะใช้ยาเส้น(บุหรี่)แช่น้ำประมาณ 5 นาที จากนั้นใช้น้ำดังกล่าวเทกรอกลงในรูหู เฉพาะในกรณีที่หาน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันมะกอกไม่ได้ 

ข้อห้ามปฏิบัติเมื่อมีแมลงเข้าหู 

  • ห้ามใช้นิ้วแหย่เข้าไป เพราะแมลงอาจต่อย หรือกัดได้
  • ห้ามใช้อุปกรณ์แคะหู ทำการแหย่เข้าไปในรูหูอย่างเด็ดขาด เพราะจะเป็นการผลักดันให้แมลงยิ่งมุดหนีเข้าไปลึกในรูหูมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงกับเยื่อแก้วหูได้
  • ห้ามใช้น้ำมันไวไฟ แอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชูหยอดลงไปในหูเด็ดขาด
  • ห้ามใช้น้ำสบู่ น้ำยาล้างจาน หยอดลงไปในหูเด็ดขาด
  • หากผู้ป่วยใส่ท่อระบายน้ำในหูอยู่แล้ว หรือมีอาการแก้วหูทะลุ ไม่ควรใช้น้ำมันหยอดลงไปในรูหู เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น

การป้องกันแมลงเข้าหู

  • หมั่นรักษาความสะอาดของหูอยู่เสมอ
  • หมั่นรักษาความสะอาดของข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า ที่นอน ห้องนอน 
  • ไม่ควรให้สุนัข แมว หรือสัตว์อื่นๆ ขึ้นมาอยู่บนที่นอน เพราะมีโอกาสที่เห็บ หมัด ตกอยู่บนที่นอนและเข้าหูได้  
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีแมลงชุกชุม
  • ในกรณีต้องไปท่องเที่ยวนอนค้างแรม หรือกางเต็นท์ในป่า ก่อนนอนให้ใช้สำลีก้อนกลมอุดรูหูเอาไว้อย่างหลวมๆ พอให้ได้ยินเสียง หรือใส่ที่ครอบหู เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงเข้าไปทำอันตรายใดๆ ในรูหูของเราได้

วิธีที่แนะนำนี้ดังกล่าวเป็นวิธีการรักษาขั้นเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองได้ แต่หากไม่พบว่า มีแมลงไหลออกมากับน้ำ หรือแมลงที่เข้าหูมีขนาดใหญ่ต้องพาไปให้แพทย์ใช้เครื่องมือพิเศษคีบแมลงออกมาจากรูหู 

หากนำแมลงออกมาได้แล้วแต่มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง มีเลือด หรือน้ำไหลออกมาจากหู หูอื้ออย่างมาก การได้ยินลดลง รู้สึกตื้อๆ เจ็บภายในหู หน่วงๆ ในหู ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหูเพราะอาจเกิดการบาดเจ็บ อักเสบ ติดเชื้อภายในหู หรือแก้วหูทะลุได้ 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Androi


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MaryAnn De Pietro, How to get a bug out of your ear (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322064.php), 7 June 2018
Elaine K. Luo, How Do I Remove a Bug from My Ear? (https://www.healthline.com/health/bug-in-ear), 1 December 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป