ประมาณครึ่งของคนอเมริกันทั้งหมดมีการรับประทานวิตามินทุกวัน แต่ความนิยมในการรับประทานสารอาหารเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเข้าใจ ว่ามันคืออะไรหรือมีบทบาทอย่างไรในร่างกาย แล้วตกลงว่าวิตามินคืออะไร?
คำจำกัดความทางคลินิกของวิตามิน
วิตามินเป็นสารเคมีอินทรีย์ที่จำเป็นซึ่งคน สัตว์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ต้องการในปริมาณน้อยสำหรับการมีชีวิต และให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ คนมักจะได้รับวิตามินจากการรับประทานอาหารที่มาจากพืช และสัตว์อยู่แล้วโดยธรรมชาติ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
วิตามินละลายน้ำหรือละลายในไขมัน
วิตามินมีทั้งหมด 13 ชนิดที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ละลายน้ำและกลุ่มที่ละลายในไขมัน
วิตามินที่ละลายในไขมันเช่นวิตามิน A, D, E, K สามารถละลายได้ในไขมันและมีการเก็บสะสมอยู่ภายในร่างกาย ดังนั้นคุณจึงไม่จำเป็นต้องรับประทานทุกวัน ในขณะที่วิตามินที่ละลายน้ำ เช่นวิตามิน C และกลุ่มของวิตามิน B ( biotin, folate, niacin, pantothenic acid, riboflavin, thiamin, B6 และ B12) จะถูกขับออกจากร่างกายทุกวันและต้องได้รับการเติมเข้าสู่ร่างกายในทุกๆ วัน และแม้ว่าวิตามินทุกชนิดจะสำคัญต่อร่างกาย แต่ก็มีหลายตัวที่อาจเป็นพิษได้หากรับประทานในปริมาณที่สูง หรือเรียกว่าภาวะ hypervitaminosis
วิตามินที่ละลายในไขมันมีแนวโน้มที่จะเป็นพิษเมื่อได้รับในปริมาณมากมากกว่า เนื่องจากร่างกายมักมีการขับวิตามินที่ละลายน้ำออกไปทางปัสสาวะ แต่วิตามินที่ละลายน้ำบางชนิดก็อาจเป็นพิษได้เช่นกันหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป วิตามินที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็กเป็นวิตามินที่มีแนวโน้มเป็นพิษสูงที่สุด โดยเฉพาะเมื่อรับประทานในเด็ก เนื่องจากร่างกายสามารถขับเหล็กออกได้ผ่านการเสียเลือดเท่านั้น ดังนั้นหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้เข้าสู่ระดับที่เป็นพิษในร่างกายอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมากอาจได้รับคำแนะนำให้รับประทานธาตุเหล็กเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีด
เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการเริ่มรับประทานวิตามินที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก วิตามิน B (วิตามินละลายน้ำ) เช่นเดียวกับ วิตามิน A D และ E (วิตามินละลายในไขมัน) อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้หากรับประทานในปริมาณมากเช่นกัน
การขาดวิตามิน
การรับประทานวิตามินในปริมาณมากสามารถทำให้เกิดภาวะ hypervitaminosis ได้ การขาดวิตามินก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพเช่นกัน โดยมักจะมีการขาดแคลเซียม วิตามิน D โพแทสเซียม เหล็ก วิตามิน B12 โฟเลต และแมกนีเซียมในร่างกาย
การขาดโฟเลตอาจเป็นอันตรายได้ในหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาทในทารกแรกเกิด นอกจากนั้น ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หลายคนก็มีภาวะการธาตุเหล็ก ซึ่งทำให้เกิดภาวะซีดและอาการต่างๆ เช่นอ่อนแรง อาการเหล่านี้ยังสามารถพบได้ในผู้ที่ขาดวิตามิน D ซึ่งอาจะพบอาการปวดกล้ามเนื้อและอาจทำให้ภาวะกระดูกบางหากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน
ต้นกำเนิดของคำว่าวิตามิน
คำว่าวิตามินนั้นเริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Casmir Funk ตั้งสมมติฐานว่าการได้รับสารเอมีนที่จำเป็น (vital amines – amine เป็นรูปแบบของสารเคมีชนิดหนึ่ง) จากอาหารจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้
โดยสรุป
หากคุณสงสัยว่ากำลังขาดสารอาหารบางชนิด หรือต้องการรับประทานวิตามินเพื่อช่วยรักษาปัญหาทางสุขภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์หรือภาวะอื่นๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อระบุชนิด และปริมาณของวิตามินที่ต้องรับประทาน และการตรวจเลือดอาจสามารถระบุชนิดของวิตามินที่ขาดได้เช่นกัน