สิ่งที่ควรเลี่ยงให้ไกล หากตั้งใจจะมีลูก

สิ่งที่ควรเลี่ยงให้ไกล หากตั้งใจจะมีลูก
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สิ่งที่ควรเลี่ยงให้ไกล หากตั้งใจจะมีลูก

กำลังวางแผนจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้! 10 สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง  เพราะอาจเป็นอุปสรรคหรือเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ในอนาคต

ใครที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ คุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น 10 สิ่งที่จะขัดขวางการตั้งครรภ์ต่อไปนี้ หากต้องการให้มีลูกได้อย่างหวัง และเด็กในครรภ์ปลอดภัยแข็งแรง

1. การใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ 

เนื่องจากมีการศึกษามากมายพบว่า ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นอาจเป็นอันตรายต่อเชื้ออสุจิ และรบกวนการเคลื่อนที่ของอสุจิไปยังมดลูกเพื่อปฏิสนธิกับไข่ด้วย หากคุณรู้สึกว่าช่องคลอดยังคงแห้ง แม้จะพยายามเล้าโลมทุกวิธีแล้ว ให้ลองใช้น้ำอุ่นเป็นตัวหล่อลื่นแทน เนื่องจากน้ำไม่มีฤทธิ์ทำลายเชื้ออสุจิ และไม่รบกวนการเคลื่อนที่ของอสุจิไปยังปากมดลูก หรืออาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบมาแล้วว่าปลอดภัยและไม่ขัดขวางการตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสัญลักษณ์ระบุบนฉลากว่า “Fertility Friendly” หรือเป็นมิตรต่อการสืบพันธุ์

2. ยารักษาโรคบางตัว 

ยาที่วางขายทั่วไปตามร้านขายยานั้นมักปลอดภัย หากใช้เพียงปริมาณน้อยๆ แต่ยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs) หรือ NSAIDS บางตัว เช่น หรือยาที่มีส่วนผสมของไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) อาจส่งผลให้การตกไข่ผิดปกติ หรือทำให้สภาพเยื่อบุมดลูกไม่เหมาะสมต่อการฝังตัว ดังนั้น หากต้องการตั้งครรภ์ คุณควรรับประทานยากลุ่ม NSAIDS เฉพาะช่วงมีประจำเดือนจะดีกว่า

3. คาเฟอีนปริมาณสูงๆ

แม้นักวิจัยจะยังไม่พบว่าการบริโภคคาเฟอีนปริมาณปานกลางจะทำให้เกิดปัญหากับการสืบพันธุ์ แต่โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณคาเฟอีนที่ถือว่าปลอดภัยหากกำลังพยายามตั้งครรภ์ จะอยู่ที่ 200-300 มิลลิกรัม/วัน หรือเท่ากับกาแฟชงอ่อนๆ ในแก้วขนาด 8 ออนซ์ 2 แก้ว หากปกติคุณบริโภคเกินกว่านั้น ควรลดปริมาณลงจะดีกว่า

4. เนื้อปลาที่น่าสงสัยว่าจะมีสารปรอท 

เนื่องจากมีงานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า การสัมผัสสารปรอทในระหว่างตั้งครรภ์ แม้เพียงปริมาณเล็กน้อย ก็อาจทำให้พัฒนาการของสมองและระบบประสาทในทารกผิดปกติได้ หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency (EPA)) ได้ระบุว่า สารปรอทอาจส่งผลกระทบต่อทักษะการเรียนรู้ เช่น ความจำ สมาธิ ทักษะด้านภาษา การเคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงการมองเห็นของทารกได้

5. แอลกอฮอล์ 

เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า แอลกอฮอล์เพียงระดับปานกลางก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นหากคุณตั้งใจจะตั้งครรภ์ ก็ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงครึ่งหลังของรอบเดือน หรือหลังจากที่ไข่ตกแล้ว เนื่องจากมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ในช่วงนั้น

6. การสูบบุหรี่ 

การสูบบุหรี่ไม่เพียงส่งผลเสียต่อผู้หญิงที่ต้องการจะตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ยังส่งผลร้ายต่อผู้ชายด้วย เนื่องจากยาสูบอาจทำให้จำนวนและคุณภาพของอสุจิลดลง รวมถึงอาจทำให้ระดับสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำอสุจิลดลงด้วย ทำให้เชื้ออสุจิถูกทำลาย และส่งผลต่อการเคลื่อนที่และความสามารถในการปฏิสนธิกับไข่

7. สารเคมีบางอย่าง 

เช่น หัวน้ำหอม สารลดแรงตึงผิวที่ผลิตจากปิโตรเลียม และตัวทำละลายเคมี เนื่องจากสารลดแรงตึงผิวประกอบด้วยสารเคมีที่อาจทำให้จำนวนเชื้ออสุจิลดลง ลูกอัณฑะเล็กลง รวมถึงยังมีหลักฐานยืนยันว่าสารเคมีในตัวทำละลายนั้นส่งผลให้สัตว์ทดลองตั้งครรภ์ยากขึ้น แม้ในคนจะยังไม่พบหลักฐานชัดเจน แต่ก็มีการศึกษาที่พบว่า กลุ่มผู้หญิงที่ใช้สารเคมีเหล่านี้มาก จะมีโอกาสตั้งครรภ์ลดลงเช่นกัน

8. ความเครียด 

เนื่องจากความเครียดมีผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไฮโปธาลามัสในสมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความอยากอาหาร ตลอดจนฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการตกไข่ ดังนั้นหากคุณเครียดมากๆ ก็อาจทำให้การตกไข่เกิดช้ากว่าปกติ หรือไม่เกิดเลย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้การวางแผนตั้งครรภ์บบนับวันไม่ประสบความสำเร็จ

9. การแช่อ่างน้ำร้อน 

ข้อนี้ต้องขอย้ำว่าที่คุณพ่อ เพราะงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า จำนวนเชื้ออสุจิในผู้ชายอาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หากอัณฑะต้องสัมผัสกับความร้อนซ้ำๆ บ่อยครั้ง และอาจต้องใช้เวลานาน 4-6 เดือนหลังการแช่อ่างน้ำร้อนแต่ละครั้ง เพื่อให้จำนวนเชื้ออสุจิกลับมามากเท่าปกติ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานพบว่า การสัมผัสกับความร้อนอาจทำลาย DNA ของเชื้ออสุจิด้วย ที่มาข้อมูล


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Trying to Get Pregnant: Follow These Tips. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/fertility-no-nos#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)