ดูวิธีเพิ่มพลังให้กล้ามเนื้อขา ของนักวิ่งเก่งๆ เขาทำได้อย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ดูวิธีเพิ่มพลังให้กล้ามเนื้อขา ของนักวิ่งเก่งๆ เขาทำได้อย่างไร

การเบิร์นสลายไขมันนั้นเป็นสิ่งที่คนทั่วไปให้ความสนใจกันอย่างมากกันทั้งนั้นทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายแบบไหนก็ตาม คนส่วนใหญ่ก็จะพยายามคัดสรรเอามาใช้กันเต็มไปหมดเพื่อที่จะได้ลดปริมาณไขมันส่วนเกินในร่างกายให้ออกไปให้หมด แต่กระนั้นแล้ว การออกกำลังกายในลักษณะไหนนั้นที่คนเรามักจะหยิบเอามาเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆในการใช้สลายไขมันก็หนีไม่พ้นการวิ่งอย่างแน่นอน แต่กระนั้นแล้ว การวิ่งนั้นก็ไม่ใช่เพียงแต่ว่า วิ่งไปแล้วจะทำให้ตัวคุณสลายไขมันได้ในทันที

ปัจจัยในการวิ่งแล้วสลายไขมันได้ จะอยู่ที่ “ความอึด” และ “ความทน” ในการวิ่งนั่นเอง การออกกำลังกายด้วยการวิ่งนั้น ใช้พลังงานอย่างมหาศาลที่จะทำให้คุณต้องเจอ การวิ่ง จะเป็นการรีดเอาไขมันส่วนเกินไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานและถูกขับออกมาทางเหงื่อไคลที่ไหลออกมา ยิ่งคุณวิ่งทุกวัน ต่อเนื่องสักวันละ 45 นาที จะช่วยให้คุณสลายไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งยวดเลยทีเดียว แต่ก่อนอื่น เราจะต้องมาทำให้ตัวของเรานั้นวิ่งได้ทนกันก่อน เราสามารถทำได้ด้วยวิธีการแบบไหนกันบ้าง หลากหลายคนนั้นบอกว่าการวิ่งนั้น ถ้าหากว่าวิ่งได้อึด ฝึกวิ่งทุกวัน เดี๋ยวก็ทนทานไปเอง วิ่งอึดเอง ซึ่งนั่นเป็นเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การฝึกฝนกล้ามเนื้อเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สำหรับแนวทางในการออกกำลังกายเพื่อทำให้กล้ามเนื้อพร้อมสำหรับการวิ่งระยะไกลให้อึดนั้น ในช่วงแรกให้เล่นท่าละ 1 เซท เซทละ 30 วินาที แต่สำหรับคนที่ออกกำลังหรือวิ่งจนชินแล้วนั้น ให้เพิ่มเป็น 3 เซทแทน

:: ดูวิธีทำให้ต้นขาเล็กลง คลิกเลย http://www.thailovehealth.com/care/health-16217.html

ท่าบอดี้เวทควอท

เป็นท่าบริหารสำหรับผู้เริ่มต้น เริ่มแรกนั้นให้เรายืนกางขาออกในระดับกว้างเท่าหัวไหล่ของเรา และนำมือมาประสานที่หน้าอก แล้วค่อยๆย่อตัวลงไปให้สุดเท่าที่เราจะทำได้ เป็นการทำให้กล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อน่องของเรามีความแข็งแรงมากขึ้นนั่นเอง ค้างไว้ 30 วินาที จากนั้นจึงกลับมาอยู่ที่ท่าเดิม

เอคเซนทริค คาล์ฟ ไรส์

เป็นการสร้างความทนทานให้กับกล้ามเนื้อน่องนั่นเอง เริ่มต้นจากการให้เรายืนเขย่งบนพื้นต่างระดับ จากนั้นให้เราค่อยๆ เขย่งเท้าขึ้นทั้งสองข้าง และยกเท้าขวาขึ้นไปค้างไว้ประมาณ 30 วินาทีโดยประมาณ จากนั้นก็ค่อยๆปล่อยเท้าขวาลงมาอยู่ในท่าเดิมคือท่ายืนเขย่งทั้งสองเท้าอีกครั้งหนึ่ง และนอกจากนี้แล้ว เรายังสามารถที่จะทำสลับกันทั้งสองเท้า เท้าซ้ายและเท้าขวาได้อีกด้วยเพื่อทำให้ขาทั้งสองข้างมีพละกำลังในระดับที่เท่าเทียมกัน

ดับเบิ้ลเลก ฮอบ

เป็นการฝึกกล้ามเนื้อน่องของเขาทั้งสองข้าง และรวมถึง ข้อเท้าอีกด้วย เริ่มต้นด้วยการ ยืนให้ขาสองข้างห่างกันพอสมควร จากนั้นจึงย่อตัวและค่อยๆ อาศัยแรงส่ง สปริงตัวให้ตัวคุณกระโดดไปข้างหน้าให้เท้าถึงพื้นสนิท เต็มฝ่าเท้า แล้วให้ทำลักษณะนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งครบ 30 วินาทีจึงจะถือว่าทำเสร็จในท่าดับเบิ้ลเล็ก ฮอบ

จัมป์ สควอท

เป็นการออกกำลังที่ใช้พละกำลังสูงอีกท่าเช่นกัน โดยเราจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยอีกอย่างหนึ่งคือดัมเบลคู่หนึ่ง ให้เราถือดับเบลไว้ข้างกายและกางขาให้อยู่ในระดับที่เท่ากับหัวไหล่ จากนั้น ก็ให้เราย่อตัวลงไปในท่าสควอท จากนั้นก็สปริงตัวเองขึ้นเป็นท่ากระโดดโดยที่เราถือดัมเบลแนบไว้ข้างตัวด้วยเพื่อเป็นการเสริมสร้างพละกำลังกล้ามเนื้อให้แข็งแรงมากกว่าเดิมมากขึ้นนั่นเอง

รีเวิร์สแพรงค์

เป็นท่าที่จะฝึกความแข็งแกร่งของแขนทั้งสองข้างและกล้ามเนื้อส่วนท้องอย่างชัดเจน เริ่มจากให้เราปล่อยให้ท่อนล่างเหยียดตรงไป และให้แขนทั้งสองข้าง ยันพื้นไว้จากทางด้านหลังจากนั้นก็ยกท่อนล่างของเราขึ้นโดยที่แขนสองข้างยังยันพื้นอยู่ ทำเช่นนี้แล้วค้างไว้ 30 วินาทีจึงลงมาสู่ท่าเดิม


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 tips for a safe and successful strength-training program. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/exercise-and-fitness/7-tips-for-a-safe-and-successful-strength-training-program)
How to improve your strength and flexibility. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/exercise/how-to-improve-strength-flexibility/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป