กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

อวัยวะเพศไม่แข็ง อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกิดได้กับผู้ชายทุกคน

รวมสาเหตุ วิธีรักษาเมื่อสมรรถภาพทางเพศของคุณหย่อนยาน
เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อวัยวะเพศไม่แข็ง อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกิดได้กับผู้ชายทุกคน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปัญหาสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศชาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ และชีวิตคู่
  • อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว มักเป็นปัญหามาจากการไหลเวียนของเลือดที่ไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะเพศให้แข็งตัวได้เพียงพอ
  • ความเครียด ความวิตกกังวล โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ผลกระทบจากการผ่าตัด การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมได้
  • คุณควรเปิดใจพูดคุยกับคนรักหากเกิดปัญหานี้ หรืออาจไปตรวจสุขภาพกับแพทย์เพื่อหาสาขาเหตุของภาวะนี้ต่อไป 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้ชาย  

นกเขาไม่ขัน นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ เรือล่มปากอ่าว และอีกหลากหลายคำที่สื่อถึง “อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ” คำเหล่านี้อาจฟังดูเป็นคำล้อเลียนสนุกสนาน แต่คงไม่ตลกสำหรับผู้ชายทุกคนที่เกิดอาการนี้ขึ้น 

อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกคน เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นกับตัวคุณ คุณก็ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ และวิธีแก้ปัญหาอาการนี้เอาไว้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

8 สาเหตุของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่ควรรู้

การแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย เกิดจากร่างกายถูกกระตุ้นทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ จากนั้นระบบไหลเวียนของเลือดจะถูกสั่งการให้ไหลไปรวมตัวกันที่อวัยวะเพศชายมากขึ้น จนทำให้เกิดการแข็งตัว 

ผู้ชายที่อวัยวะเพศแข็งตัวได้ดี สามารถมีเพศสัมพันธ์ และทำให้คู่นอนถึงจุดสุดยอดได้ จึงถือเป็นผู้ที่มีสมรรถภาพทางเพศที่ดี ทำให้เมื่อมองกลับกัน ความเสื่อมของสมรรถภาพทางเพศ ก็คือ การไหลเวียนของเลือดไปที่อวัยวะเพศซึ่งน้อย หรือช้าเกินไป หรืออาจไม่ไหลไปเลย ซึ่งได้จากปัจจัยดังนี้

  1. ความเครียด ความเครียดทำให้ฮอร์โมน ระบบการไหลเวียนของเลือด ระบบประสาท และอารมณ์ไม่ปกติ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเพศชายทั้งนั้น 
  2. ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ยาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า มีผลในการควบคุมการทำงานของระบบประสาท หลอดเลือด ฮอร์โมน และอารมณ์ ซึ่งอาจไปกดความรู้สึกความต้องการทางเพศ ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวยากขึ้น และยังถึงจุดสุดยอดช้าลงด้วย
  3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นการรบกวนการแข็งตัวของอวัยวะเพศชั่วคราว
  4. ความโกรธ ในทางกายภาพเมื่อคนเราโกรธจะทำให้เลือดไหลไปที่ใบหน้ามากกว่าไหลไปยังอวัยวะเพศ ซึ่งสาเหตุนี้นอกจากจะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวแล้ว ยังทำให้หมดอารมณ์ทางเพศและอาจทะเลาะกับคู่นอนเกี่ยวกับปัญหาเรื่องบนเตียงได้
  5. ความวิตกกังวล ความกังวลเป็นบ่อเกิดของความประหม่า ไม่มั่นใจในตนเอง ซึ่งผลของภาวะอารมณ์นี้จะทำให้ใจของคุณไปจดจ่ออยู่กับเรื่องอื่นที่กังวลจนทำให้มีอารมณ์ร่วมกับกิจกรรมบนเตียงได้ไม่ดีพอ
  6. น้ำหนักตัวที่มากเกินไป น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ไม่เพียงแต่ทำให้ขยับตัวยากเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไหลไปยังอวัยวะเพศได้ช้าลง อีกทั้งคนอ้วนมักมีโรคความดันโลหิตสูงซึ่งกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดโดยตรง
  7. โรคประจำตัว คนที่มีโรคประจำตัวนอกจากสุขภาพจะไม่แข็งแรงแล้ว ยาที่ต้องกินประจำนั้นยังอาจส่งผลต่อการไหลเวียนของโลหิต เส้นประสาท และกล้ามเนื้อได้ เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ
  8. ผลจากการผ่าตัด คนที่ผ่านการผ่าตัดบางประเภทจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง หรืออาจส่งผลต่อเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้ เช่น การผ่าตัดเพื่อรักษาปัญหาต่อมลูกหมาก การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

วิธีรักษาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

จะเห็นได้ว่า สาเหตุของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศข้างต้นนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 หลักใหญ่ๆ ก็คือ ปัญหาทางด้านร่างกาย และปัญหาทางด้านจิตใจ การที่จะรักษาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้อย่างถาวร จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์ และแก้ไขให้ตรงจุด

1. หากพบว่า สมรรถภาพทางเพศเกิดจากปัญหาทางจิตใจ

  • ปรึกษาแพทย์ หรือจิตแพทย์ หากคุณมีปัญหาความเครียด เป็นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า รู้สึกไม่มั่นใจตนเอง หรือกลัว เพื่อให้แพทย์เป็นผู้แนะนำการจัดระบบความคิด และจัดการภาวะทางจิตใจของคุณใหม่ได้ หรือหากปัญหาสมรรถภาพเกิดจากยาที่รับประทาน แพทย์ก็อาจเปลี่ยนยาตัวอื่นให้
  • พูดคุยกับคู่นอน หรือคนรัก นอกจากแพทย์แล้ว ผู้ที่อยู่เคียงข้างคุณและเป็นผู้เห็นปัญหาสมรรถภาพทางเพศของคุณด้วยตนเอง อาจเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีที่สุดได้เช่นกัน คุณอาจลองปรึกษาและกระชับความสัมพันธ์กับคนรัก เพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขสมรรถภาพทางเพศไปด้วยกัน
  • ออกกำลังกาย เมื่อได้ออกกำลัง ร่างกายจะมีการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins) ทำให้รู้สึกมีความสุข สดชื่น ระบบของร่างกายก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย นอกจากนี้คุณอาจรู้สึกสนุก มีอารมณ์ทางเพศระหว่างมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น และถึงจุดสุดยอดได้ดีกว่าเดิมด้วย
  • หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด อาจหางานอดิเรก หรือออกไปทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ภาวะความเครียดเข้ามาเล่นงานสุขภาพจิตจนส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศแย่ไปด้วย

2. หากพบว่า สมรรถภาพทางเพศเกิดจากปัญหาทางร่างกาย

  • เลี่ยงการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดทุกชนิด เพราะสิ่งเหล่านี้มีสารนิโคติน ซึ่งเป็นตัวทำลายประสิทธิภาพการแข็งตัวของผู้ชาย
  • ปรับฮอร์โมนเพศชายให้ดีขึ้น หากพบว่า ปัญหาสรรถภาพมีต้นตอมาจากระบบฮอร์โมนเพศชาย โดยถ้าระดับเทสโทสเทอโรนในเลือดต่ำ ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้แพทย์ฉีดเทสโทสเทอโรนเข้าร่างกาย หรือแปะที่ผิวหนัง รวมถึงภาวะไทรอยด์
    ฮอร์โมน หรือการรักษาระดับของโปรแลคติน ก็จะต้องอาศัยกระบวนการทางการแพทย์เช่นกัน
  • การใช้ยากลุ่มไวอากร้า ซึ่งเป็นยารักษาปัญหาสมรรถภาพทางเพศโดยตรง โดยยาจะทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้เร็วและนานขึ้น แต่ควรระมัดระวังปริมาณในการใช้ให้เหมาะสม
  • การใช้วิธีอื่นๆ ช่วย ให้อวัยวะเพศแข็งตัว เช่น การใช้เครื่องปั๊มสูญญากาศเพื่อช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว การฉีดยาเพื่อทำให้หลอดเลือดขยายตัว รวมถึงการรักษาด้วยการผ่าตัดสอดใส่วัสดุเข้าไปในอวัยวะเพศชาย แต่วิธีเหล่านี้ควรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์เพื่อความปลอดภัย
  • ควบคุม/รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคเบาหวาน

ปัญหาสมรรถภาพทางเพศเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคู่ และสุขภาพจิตของคู่รักทั้งสองฝ่าย หากเกิดปัญหานี้ขึ้น แนะนำให้ลองหันหน้ามาปรึกษากันอย่างตรงไปตรงมา เรียนรู้ที่จะเปิดใจ และอย่าอายที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้อาการนี้หายดี 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้ชาย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Montague DK, Jarow JP, Broderick GA, Dmochowski RR, Heaton JP, Lue TF, Milbank AJ, Nehra A, Sharlip ID (July 2005). "Chapter 1: The management of erectile dysfunction: an AUA update". J. Urol. 174 (1): 230–39. doi:10.1097/01.ju.0000164463.19239.19. PMID 15947645.
Chowdhury SH, Cozma AI, Chowdhury JH. Erectile Dysfunction. Essentials for the Canadian Medical Licensing Exam: Review and Prep for MCCQE Part I. 2nd edition. Wolters Kluwer. Hong Kong. 2017.
Patient, Erectile Dysfunction (ED) | Impotence | Causes, Treatment & Medication (https://patient.info/mens-health/erectile-dysfunction-impotence), 15 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป