วิธีการตรวจเชื้อ HIV Testing Resources

ตรวจเชื้อ HIV เพื่อความปลอดภัย ชะลอโรคแทรกซ้อน และการเข้าสู่โรคเอดส์ที่น่ากลัว
เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
วิธีการตรวจเชื้อ HIV Testing Resources

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจหาเชื้อไวรัส HIV จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อชนิดนี้โดยเฉพาะเท่านั้น เพราะผู้ป่วยส่วนมากมักไม่รู้มาก่อนว่า ตนเองมีเชื้อ กว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อเชื้อลุกลามทำให้ร่างกายอ่อนแอจนป่วยเป็นโรคร้ายอื่นๆ เช่น โรคเอดส์
  • ผู้ใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับผู้อื่น ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เด็กทารกที่แม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ตั้งแต่ตั้งครรภ์ คือ กลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัส HIV
  • การตรวจหาเชื้อไวรัส HIV สามารถตรวจได้ด้วยตนเองผ่านชุดตรวจที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาด้วยวิธีเจาะเลือด หรือเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม แต่การตรวจที่แม่นยำที่สุด คือ การตรวจหาเชื้อกับแพทย์โดยตรง
  • มีคลินิกนิรนามหลายแห่งที่คุณสามารถไปตรวจหาเชื้อไวรัส HIV ได้ โดยข้อมูลการตรวจทั้งหมดจะเป็นความลับ หรืออาจไม่ถูกไว้ที่คลินิกด้วย
  • หากคุณพบว่า ตนเองติดเชื้อไวรัส HIV ให้รับไปปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อขอรับการรักษา และขอคำแนะนำการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง รวมถึงแจ้งคู่นอนทั้งในอดีต และปัจจุบันให้มาตรวจหาเชื้อด้วยเช่นเดียวกัน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เชื้อไวรัส HIV เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (Acquired Immunol Deficiency Syndrome: AIDS) ที่ตามมาในภายหลัง โดยเชื้อเอชไอวีจะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางกระแสเลือด และทำลายภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ ทำให้ร่างกายค่อยๆ อ่อนแอลง 

วิธีที่จะทำให้รู้ว่า ใครติดเชื้อเอชไอวี จำเป็นต้องได้รับการตรวจเชื้อ HIV โดยเฉพาะเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจไม่ทราบว่า ตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกายมาก่อน เนื่องจาก กว่าสัญญาณของการติดเชื้อจะปรากฏออกมาให้สังเกตให้เห็น ถึงตอนนั้นเชื้อเอชไอวีก็พัฒนาเป็นโรคเอดส์แล้ว และภูมิคุ้มกันโรคของผู้ติดเชื้อก็ลดลงอย่างมากจนยากจะรักษา 

ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

เป็นที่ทราบกันดีว่า เชื้อไวรัสเอชไอวีสามารถแพร่จากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งได้ผ่านสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อ สาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวีมีดังนี้

  • การใช้เข็มฉีดยาเสพติด หรือยารักษาโรคร่วมกัน รวมถึงการเจาะร่างกาย การสักร่างกาย  หากผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาติดเชื้อเอชไอวี เลือดที่อยู่บนเข็มจะแพร่เชื้อไปยังผู้ที่ใช้เข็มเดียวกันได้
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นทางทวารหนัก ช่องคลอด หรือทางปาก เพราะสามารถติดเชื้อได้จากการรับสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อ เช่น อสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือเลือด
    ดังนั้นผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีทุกคน ส่วนผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ก่อนแล้ว จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีเพิ่มขึ้นอีก
  • เด็กทารกสามารถติดเชื้อได้จากแม่ตั้งครรภ์ที่มีเชื้อไวรัสเอชไอวี การรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อไวรัสเอชไอวีอยู่แล้ว การผ่าคลอดทางหน้าท้อง รวมถึงการงดเว้นการป้อนนมจากเต้า จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจากแม่สู่ลูกของทารกได้

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัส HIV 

ทุกคนที่มีอายุระหว่าง 13 – 64 ปี ควรได้รับการตรวจเชื้อ HIV อย่างน้อย 1 ครั้ง ส่วนผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ เช่น ผู้คู่รักเพศเดียวกันที่เป็นผู้ชาย หรือผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ชอบมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน กลุ่มคนเหล่านี้จำเป็นต้องรับการตรวจเชื้อ HIV เป็นประจำทุกปี

เหตุผลที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเชื้อ HIV

การตรวจพบเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ และการได้รับการรักษาโดยเร็วจะช่วยต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีและป้องกันการเป็นโรคเอดส์ได้ นั่นเพราะ

  • เพราะปัจจุบันยังไม่มียารักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ ดังนั้นการตรวจพบเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยรักษาผู้ติดเชื้อโดยการรับยาต้านเชื้อ เพื่อไม่ให้เชื้อพัฒนา และยับยั้งอาการของโรคไม่ให้ร้ายแรงขึ้น
  • ผู้ที่ทราบว่า ตนเองติดเชื้อจะสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม และหามาตรการป้องกันไม่ให้ตนเองแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้
  • คู่รักที่ติดเชื้อ หากต้องการมีบุตรจะได้สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีการป้องกันไม่ให้ทารกเกิดมาพร้อมกับติดเชื้อไวรัสเอชไอวีไปด้วยได้
  • เพื่อความรู้สึกสบายใจ และรู้สึกปลอดภัย เพราะผลตรวจที่ออกมาเป็นลบ (ไม่ได้ติดเชื้อ) ทำให้หลายคนที่กำลังเป็นกังวลเรื่องการติดเชื้อ รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นได้

ลักษณะของการตรวจเชื้อ HIV

ส่วนมาก วิธีการตรวจเชื้อเอชไอวี จะไม่ได้เป็นการตรวจหาเชื้อโดยตรง แต่จะเป็นการตรวจวัดระดับสารต่อต้านโรค (antibodies) ที่บ่งบอกได้ว่า มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายหรือไม่ 

หากมีการติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตสารต่อต้านโรคให้ต่อสู้กับเชื้อไวรัส หากเป็นการติดเชื้อทั่วไป สารต่อต้านโรคจะสามารถระงับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายไว้ได้ แต่หากเป็นการติดเชื้อเอชไอวี สารต่อต้านโรคจะไม่สามารถระงับเชื้อไว้ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับผมตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี หากผลออกมาเป็นลบ (HIV Negative) แสดงว่า คุณไม่ได้ติดเชื้อ แต่หากผลออกมาเป็นบวก (HIV Positive) แสดงว่า คุณติดเชื้อเอชไอวี

ทั้งนี้การตรวจเชื้อเอชไอวีจะแสดงให้เห็นว่า ร่างกายของคุณผลิตสารต่อต้านโรคออกมาจำนวนมากน้อยเพียงใด โดยสารต่อต้านโรคจะยังถูกผลิตออกมาเพื่อต่อสู้เชื้อเอชไอวีได้อย่างดีในช่วง 2 สัปดาห์ถึง 6 เดือนแรกที่มีการติดเชื้อ 

ดังนั้นการตรวจเชื้อเอชไอวี อาจจะไม่แสดงผลของการติดเชื้อในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จึงต้องตรวจเชื้อเอชไอวีซ้ำอีกครั้งหลังจากเวลาผ่านไป 3-6 เดือน

ประเภทของการตรวจเชื้อ HIV

1. การตรวจเชื้อ HIV โดยแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ

  • การตรวจ EIA หรือ ELISA
    เป็นวิธีการตรวจเชื้อเอชไอวี ที่นิยมกันมากที่สุด โดยปกติจะใช้เวลา 1-2 วัน จนถึง 2 สัปดาห์ จึงจะทราบผลตรวจ
    วิธีนี้เป็นการตรวจคัดกรองตัวอย่างเลือดเพื่อวัดระดับสารต่อต้านโรค หากผลการตรวจคัดกรองให้ผลเป็นบวก และแสดงจำนวนของสารต่อต้านโรคต่อเชื้อเอชไอวี จำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยวิธีการ western blot ต่อไป เพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง
  • วิธีการตรวจ Western Blot
    หากผลการตรวจ EIA หรือ ELISA ให้ผลเป็นบวก การตรวจ Western blot จะยืนยันผลการตรวจอีกครั้ง หากการทดสอบทั้ง 2 วิธีให้ผลเป็นบวกจะถือว่า บุคคลนั้นติดเชื้อเอชไอวีเกือบ 100%
    อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าการตรวจ EIA อาจให้ผลบวกที่ไม่ถูกต้องได้หากสารต่อต้านเชื้อชนิดอื่นมีปริมาณมากกว่า และส่งผลต่อการตรวจ 
  • การตรวจเชื้อ HIV แบบรวดเร็ว
    เป็นทางเลือกหนึ่งของการตรวจเชื้อเอชไอวี แทนการตรวจ EIA และ ELISA ซึ่งให้ผลที่แม่นยำ เนื่องจากการตรวจโดยปกติจะใช้เวลารอผลตรวจนาน 1 – 2 สัปดาห์
    แต่การตรวจแบบนี้ คุณจะสามารถทราบผลได้ภายใน 20 นาที เช่นเดียวกันกับการตรวจ EIA และ ELISA ที่จะต้องได้รับการยืนยันอีกครั้งโดยการตรวจ Western blot

หลังสงสัยว่าได้รับเชื้อ HIV สามารถตรวจได้ทันทีหรือไม่?

ยังไม่สามารถตรวจได้ทันที หากได้รับเชื้อจะตรวจพบหลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน หรือนานกว่านั้น ขึ้นกับแต่ละคน และวิธีที่ใช้ในการตรวจ ดังนั้นผลที่ได้อาจเป็นผลบวก หรือลบลวง จึงต้องมีการตรวจซ้ำทุก 3 เดือน เพื่อผลการตรวจที่แน่นอนยิ่งขึ้น

2. การตรวจเชื้อ HIV ด้วยตนเอง

คุณสามารถหาซื้อชุดตรวจเชื้อเอชไอวี ได้จากร้านขายยาทั่วไปได้ ชุดตรวจชนิดแรก ผู้ตรวจจะต้องเจาะนิ้วเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดซึ่งให้ผลการตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำ ส่วนชุดตรวจชนิดที่สอง ผู้ตรวจจะต้องเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากกระพุ้งแก้ม หรือบริเวณเหงือก 

อย่างไรก็ตาม หลังจากการตรวจเชื้อเอชไอวี ด้วยตนเองแล้ว ผู้ตรวจยังจำเป็นต้องได้รับการตรวจอีกครั้งโดยแพทย์ หรือจากแล็ปเพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การทดสอบด้วยการเจาะเลือดนิ้วมือ
    มีลักษณะคล้ายกับการตรวจน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ตรวจโดยการเจาะปลายนื้วมือแล้วนำตัวอย่างเลือดหยดลงบนแผ่นตรวจ จากนั้นจึงส่งแผ่นตรวจไปยังแล็ป หรือคลินิกนิรนาม จะสามารถทราบผลได้ประมาณ 7 วัน และผลมีความแม่นยำมากถึง 99.9%

  • การตรวจโดยการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม หรือบริเวณเหงือก
    จากนั้น ให้คุณเก็บก้านสำลีที่เช็ดบริเวณเหงือก หรือกระพุ้งแก้มแล้วลงในหลอดที่มากับชุดตรวจ โดยผลจะแสดงให้ทราบภายใน 20 นาที การตรวจเชื้อเอชไอวี รูปแบบนี้ให้ความแม่นยำที่ 92%

สถานที่ที่สามารถขอรับการตรวจเชื้อ HIV

คุณสามารถขอรับการตรวจเชื้อเอชไอวีได้จากสถานพยาบาลหลายแห่ง เช่น คลินิก ศูนย์สุขภาพ โรงพยาบาล หรือแล็ปตรวจโรค 

  • สถานที่ตรวจเชื้อเอชไอวี โดยไม่จำเป็นต้องระบุตัวตน การตรวจกับสถานที่นี้จะไม่มีการสอบถามข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ตรวจ ผู้ตรวจจะได้รับเพียงเลขประจำตัวเท่านั้นอีก ทั้งยังเป็นผู้ทราบผลตรวจแต่เพียงผู้เดียว
    ปัจจุบันมีหลายคลินิกที่มีบริการให้คำปรึกษากับผู้รับการตรวจด้วยทั้งก่อน และหลังการตรวจ และผลตรวจจะไม่ถูกเก็บไว้ที่คลินิกแต่อย่างใด
  • คลินิกนิรนาม การตรวจเชื้อเอชไอวี จากคลินิกนิรนามคือ การขอรับการตรวจเชื้อเอชไอวี โดยผู้รับการตรวจต้องระบุตัวตน และจะมีการเก็บข้อมูลรวมทั้งผลตรวจไว้อย่างเป็นความลับ

แต่ละประเทศต่างมีข้อกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจเชื้อเอชไอวี ดังนั้นคุณสามารถหาสถานพยาบาล คลินิก หรือแล็ปในพื้นที่ได้ 

อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศ รัฐจะขอความร่วมมือจากผู้รับการตรวจที่ได้ผลเป็นบวกจำเป็นต้องแจ้งให้ทางหน่วยงานสาธารณสุขทราบ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ

วิธีปฏิบัติตนเมื่อรู้ว่าติดเชื้อ HIV

  • ให้คุณไปพบแพทย์ทันทีเพื่อขอรับการรักษา และหาวิธีการชะลอการติดเชื้อ โดยปกติแล้วแพทย์จะทำการตรวจซ้ำอีกหลายครั้งเพื่อประเมินสถานภาพของเชื้อไวรัส ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องขอรับการตรวจ และรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเอชไอวี
  • หยุดกิจกรรม  หรือพฤติกรรมใดๆ ที่ส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น การสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติด การดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรือไม่ถูกสุขลักษณะ 
  • ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคอื่นๆ ด้วย เพราะหากมีการติดเชื้อเอชไอวี ก็ย่อมมีโอกาสที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ด้วย เนื่องจากเชื้อเอชไอวีจะส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
  • คุณจำเป็นต้องแจ้งให้คู่นอนไม่ว่าจะเป็นในอดีต ปัจจุบัน หรือคนที่กำลังจะคบหาทราบเกี่ยวกับการติดเชื้อ เพราะพวกเขาจะต้องได้รับการตรวจหาเชื้อ และรับการรักษาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ คุณจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยด้วยทุกครั้ง หากมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

ผู้ที่พบว่า ตนเองติดเชื้ออาจรู้สึกแปลกแยก หวาดกลัว และไม่กล้าที่จะบอกเรื่องนี้กับใครไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อน หรืออาจเป็นกังวลว่า พวกเขาเหล่านั้นจะรังเกียจ และไม่เข้าใจ 

หากคุณมีอาการวิตกกังวลอย่างหนัก แนะนำให้ลองปรึกษา และขอรับคำแนะนำจากจิตแพทย์ หรือผู้ให้คำปรึกษาด้านการติดเชื้อเอชไอวีโดยเฉพาะ บางทีคุณอาจได้พบปะกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเหมือนกัน เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้ชีวิตร่วมกับกาติดเชื้ออย่างเหมาะสม

แม้ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาด แต่การติดเชื้อไม่ได้ทำให้คุณเสียชีวิตในทันที และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกกำลังทุ่มเทเพื่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะคิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี 

อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าในวิวัฒนาการทางการแพทย์ปัจจุบันทำให้ผู้ป่วยเอชไอวีสามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติได้หลายสิบปีทีเดียว

ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รายชื่อโรคติดต่อ
รายชื่อโรคติดต่อ

ค้นหารายชื่อโรคติดต่อได้ง่ายๆ ในลิ้งค์เดียว ไม่ต้องนั่งหาทีละโรค พร้อมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคติดต่อ รวมมาตอบไว้แล้วที่นี่

อ่านเพิ่ม
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

ตอบชัดเจน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเอดส์ เชื้อ HIV ติดได้อย่างไร ทำแบบไหนติดบ้าง และจะป้องกันอย่างไร?

อ่านเพิ่ม