วิธีเลือกน้ำหนักเวทให้เหมาะสม อันตรายจากการเล่นเวทหนักไป เล่นเบาไปไม่ได้ผล

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีเลือกน้ำหนักเวทให้เหมาะสม อันตรายจากการเล่นเวทหนักไป เล่นเบาไปไม่ได้ผล

การออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดี  จะส่งผลให้เราแลดูมีเสน่ห์ บุคลิกภาพดี และมีกล้ามเนื้อที่สวยงามพอเหมาะ ทำให้ดูไม่หย่อนคล้อยหรือที่เรียกกันว่า “เฟิร์ม” นั่นเอง ซึ่งใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายเพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงที่เห็นผลอย่างชัดเจน จนกลายเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางก็คือ “การเล่นเวท”

การเล่นเวทคืออะไร

เป็นการออกกำลังกายด้วยวิธีการฝึกใช้น้ำหนักรูปแบบหนึ่ง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและพัฒนาขนาดของกล้ามเนื้อและโครงร่าง โดยใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วงของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น บาร์น้ำหนัก, ดัมเบล, หรือกองน้ำหนัก(Weight stack) ให้ต้านแรงกล้ามเนื้อ ด้วยวิธียืดหดผ่านแกนกลางและด้านข้างของอุปกรณ์ หากเพิ่งหัดเล่นเวทควรเริ่มจากการเลือกน้ำหนักเวทที่มีขนาดเบาก่อน เนื่องจากถ้าเริ่มที่น้ำหนักมากๆ อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีเลือกน้ำหนักเวทให้เหมาะสม

การเลือกน้ำหนักเวทหรืออุปกรณ์สำหรับเล่นเวทในแต่ละคน จะใช้น้ำหนักไม่เท่ากันเพราะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและมวลกล้ามเนื้อของร่างกายแต่ละคน หากผู้เล่นมีน้ำหนักตัวมากย่อมยกอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักได้มากกว่ากว่าผู้เล่นที่ตัวเล็กบางหรือมีน้ำหนักตัวน้อยนั่นเอง

  • ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ดัมเบลที่มีน้ำหนักหลายๆ ขนาด เพื่อจะได้สามารถเริ่มต้นใช้อันที่มีน้ำหนักเบา หรือเลือกซื้อชนิดที่สามารถปรับน้ำหนักได้ ให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้เล่นได้อีกเช่นกัน
  • กรณีที่เล่นเวทเพื่อจุดประสงค์ในการรักษามวลกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรง ซึ่งไม่ได้ต้องการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ ควรเลือกน้ำหนักเวทที่มีขนาดพอเหมาะต่อการทำซ้ำท่าออกกำลังกายให้ได้ 12 – 20 ครั้ง โดยต้องไม่หมดแรงไปเสียก่อน
  • กรณีที่เล่นเวทเพื่อจุดประสงค์ในการรักษามวลกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรง ซึ่งไม่ได้ต้องการใช้กล้ามเนื้อจนเหนื่อยหรือหนักมากเกินไป ควรเลือกน้ำหนักเวทที่มีขนาดพอเหมาะต่อการทำซ้ำท่าออกกำลังกายให้ได้ 8 ครั้ง
  • เมื่อใดก็ตามที่เล่นเวทจนจบหนึ่งเซตแล้ว โดยไม่ต้องใช้ความพยายามในการยกจนเกินไป ควรจะต้องเพิ่มน้ำหนักหรือเลือกใช้อุปกรณ์การเล่นที่มีน้ำหนักมากขึ้น

อันตรายจากผลของการเล่นเวทหนักเกินไป

เราควรศึกษาหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพก่อนเริ่มเล่นเวท เพื่อที่เราจะได้ทราบข้อมูลหรือวิธีการอย่างถูกต้อง อีกทั้งจะได้เลือกน้ำหนักเวทที่เหมาะสมแก่ตัวเอง รวมถึงเล่นเวทไม่ผิดท่าหรือผิดวิธี โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มเล่นใหม่ๆ อาจจะมีอาการปวดเมื่อยในระยะแรก 2 – 3 วัน

แต่หากยังพบว่ายังคงมีอาการปวดตามร่างกายเกิน 1 สัปดาห์ นั่นเป็นสัญญาณจากร่างกายที่บอกว่าเราเล่นเวทหนักจนอาจเกิดอันตรายกับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ หรือกระดูก ถ้ายังคงฝืนเล่นต่อไปจะทำให้กล้ามเนื้อตาย ดังนั้นควรหยุดเล่นแล้วรีบไปปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการที่มักพบหลังจากการเล่นเวทหนักเกินไปมีดังต่อไปนี้

  • ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดขา หรือได้รับบาดเจ็บ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นเล่น ซึ่งเป็นเพราะขาดข้อมูลหรือการฝึกที่ถูกต้อง จนกลายเป็นการหักโหมอย่างหนักกับอวัยวะส่วนที่ออกแรงมากจนเกินไป ซึ่งหากเป็นมากๆ อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง บางรายถึงกับต้องเข้าเฝือกหรือหยุดเล่นจึงจะหาย
  • กล้ามเนื้อบาดเจ็บ โดยเฉพาะคนที่ต้องการมัดกล้ามให้ขึ้นอย่างรวดเร็วทันใจ มักจะเลือกน้ำหนักเวทที่มีน้ำหนักมากเกินไป แบบนี้ก็เป็นอันตรายถึงขั้นต้องนอนรักษาตัว เพราะถ้ายังฝืนเล่นต่ออาจส่งผลให้กล้ามเนื้อฝ่อหรือกล้ามเนื้อโตผิดที่ได้อีกด้วย
  • รูปร่างไม่สมส่วน เกิดจากการฝึกอย่างหนักเป็นส่วนๆ ไม่สมดุล อย่างเช่นการฝึกเฉพาะแขนแล้วไม่ได้ฝึกขา ก็จะทำให้ขาดูเล็กเกินไป หรือถ้าฝึกแขนมากแล้วฝึกไหล่น้อย ก็จะทำให้ไหล่ตกดูเสียบุคลิกภาพ
  • รู้สึกเมื่อยล้าและกล้ามเนื้อตึง มักเกิดกับผู้ที่ใช้เวลาในการออกกำลังกายนานกว่า 1 ชั่วโมง

ข้อเสียของการเล่นเวทเบาเกินไป

การเล่นเวทแบบน้อยหรือเบาจนเกินไป จะทำให้เราไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เนื่องจากการออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยจะส่งผลให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วก็ยังได้ความอ้วนมาแทนที่อีกด้วย  

หากอยากเล่นเวทให้ได้ผลจริงๆ ควรตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ โดยเล่นเวทไม่หนักหรือเบาจนเกินไป พร้อมกับเลือกน้ำหนักเวทให้เหมาะสม และศึกษาหาข้อมูลเยอะๆ วางแผนการออกกำลังกายแล้ววัดผลเป็นระยะๆ เราก็จะเห็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่าสมความตั้งใจ


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
3 Fitness Experts Weigh In on Weight Training. Healthline. (https://www.healthline.com/health/beginners-guide-to-weightlifting)
Resistance Training Exercises: Benefits, Definition & Examples. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/strength_training/article_em.htm)
Weight training: Do's and don'ts of proper technique. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/in-depth/weight-training/art-20045842)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป