การกินน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้เป็นเบาหวานไหม ?

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การกินน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้เป็นเบาหวานไหม ?

สมัยผมทำงานที่ศูนย์ควบคุมป้องกันโรค CDC และแม้กระทั่งทุกวันนี้ ที่ ABC News มักจะมีคนถามผมว่า มีปัญหาสุขภาพเรื่องไหนบ้างที่ทำให้ผมกังวลจนนอนไม่หลับ ผมขอบอกว่า เรื่องเดียวที่สร้างความกังวลให้ผมก็คือ โรคเบาหวานครับ

ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยโรคเบาหวานราว ๆ 26 ล้านคน โรคเรื้อรังชนิดนี้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะแทบทั้งหมดในร่างกายเรา การดำเนินของโรคทำให้ไตวาย หลอดเลือดชำรุด เส้นประสาทเสื่อม โรคหัวใจ ตาบอด สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาให้ตัวเลขว่า เบาหวานเป็นสาเหตุของการถึงแก่กรรม 71,000 รายในปี 2550 ศูนย์ควบคุมป้องกันโรคทำนายว่า เมื่อถึงปีค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) คนอเมริกัน 1 ใน 3 คนจะเป็นเบาหวาน หากสถานการณ์ความอ้วนและขาดการออกกำลังในปัจจุบันยังไม่ได้รับการแก้ไข

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับหลาย ๆ คน เวลาได้ยินว่าเบาหวานก็นึกถึงแค่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เข้าใจว่าการกินน้ำตาลไปมาก ๆ เป็นสาเหตุให้เป็นเบาหวาน ฟังดูก็เข้าเค้า คนที่เป็นเบาหวานต้องจำกัดการกินขนมหวานและต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเสมอ

จริงหรือเปล่าที่ว่า การกินน้ำตาลมากเกินไปจะทำให้เป็นเบาหวาน ? อันดับแรก เรามาดูเกี่ยวกับโรคนี้กัน ที่จริงแล้ว เบาหวานแยกย่อยได้เป็นประเภทต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแบบมีสาเหตุและความเสี่ยงที่ต่างกันไป

  • เบาหวานประเภทที่ 1 หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เบาหวานในวัยเด็ก” เพราะเกิดกับเด็กและวัยรุ่น จากการที่ระบบภูมิต้านทานของผู้ป่วยเองไปทำลายเซลล์ของตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ผลิตอินซูลิน เรายังไม่เข้าใจแน่ชัดว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร อาจจะมีการติดเชื่อบางอย่างเป็นจุดตั้งต้น หรืออาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม อินซูลินเป็นฮอร์โมนซึ่งมีการทำงานหลายอย่าง ที่สำคัญคือควบคุมการนำน้ำตาลไปใช้ในร่างกาย ถ้าปราศจากอินซูลิน เซลล์ต่าง ๆ ก็ไม่อาจนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานสำหรับการดำเนินชีวิตได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มสูง ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 การรักษาต้องใช้วิธีฉีดอินซูลิน
  • เบาหวานประเภทที่ 2 หรือรู้จักกันด้วยชื่อ “เบาหวานไม่พึ่งอินซูลิน” (non-insulin-dependent diabetes mellitus) เบาหวานแบบนี้ ตับอ่อนยังคงผลิตอินซูลิน แต่ปัญหาอยู่ที่เซลล์ไม่ค่อยตอบสนองต่ออินซูลิน ผลก็คือระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูง เคยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เบาหวานในผู้ใหญ่” เพราะผู้ป่วยส่วนมากจะเป็นวัยกลางคน แต่ไม่ใช้ชื่อนี้แล้ว เนื่องจากปัจจุบันพบเด็กที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างมากระหว่างความอ้วน การขาดการออกกำลัง และโรคเบาหวานประเภทที่ 2 สองประการแรกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะดำเนินไปช้า ๆ อาจกินเวลาหลายปีจนตรวจพบเบาหวานในที่สุด ข่าวดีก็คือ หากเรามองเห็นว่าเป็นปัญหาแต่แรก เปลี่ยนแปลงนิสัยการกิน และการออกกำลัง เราก็อาจควบคุมไม่ให้เป็นเบาหวานได้ ตามสถิติผู้ป่วยเบาหวาน 95% จะเป็นเบาหวานประเภทที่ 2
  • เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ คล้ายกับเบาหวายประเภทที่ 2 ตรงที่ โรคนี้สัมพันธ์กับความอ้วน เชื้อชาติ และประวัติครอบครัว ส่วนมากแล้วระดับน้ำตาลของผู้ป่วย จะกลับคืนสู่ปกติหลังการคลอดบุตร แต่เมื่อติดตามต่อไปอีก 5-10 ปี ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะกลายเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรตรวจติดตามเสมอ สำหรับวิธีการรักษา ใช้แนวทางเดียวกับเบาหวานประเภทที่ 2

เบาหวานประเภทที่ 1 นั้นไม่สัมพันธ์กับอาหารและน้ำหนักตัว แต่สำหรับเบาหวานประเภทที่ 2 ความอ้วน ประกอบกับนิสัยไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย และพันธุกรรม มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับการเกิดโรค แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการกินน้ำตาลมากเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เป็นเบาหวาน สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาได้จัดคำกล่าวนี้ไว้ในกลุ่ม “ความเชื่อลวง” ซึ่งผมก็เห็นด้วย สมาคมเบาหวานมีความเห็นว่า แคลอรีส่วนเกินที่ร่างกายรับเข้าไป ไม่ว่าจะมาจากน้ำตาล ไขมัน หรือการกินที่เกินพอดี ล้วนแต่เป็นตัวการก่อเรื่องได้เท่า ๆ กัน

แต่นักวิจัยไม่น้อยยังไม่ปักใจ มีผลการศึกษาจำนวนหนึ่งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเครื่องดื่มน้ำตาลสูงที่บริโภคเข้าไป กับความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่กินน้ำตาลมากก็มักจะเป็นคนกลุ่มที่กินอาหารเกินอยู่แล้ว

บทสรุปของหมอเบซเซอร์

หากคุณกังวลไม่อยากเป็นเบาหวาน ควรลดความวิตกเรื่องกินน้ำตาลมาก แล้วตั้งใจมุ่งมั่นสู่เป้าหมายคือ ทำน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมด้วยการกินอาหารอย่างสมดุล และออกกำลังกายสม่ำเสมอดีกว่า

หวานแบบไหนดี

รอบคอบอีกนิด เมื่อเลือกขนมที่ทดแทนน้ำตาลด้วยสิ่งอื่น เช่น อะกา (agar) หรือน้ำผึ้ง เพราะคิดว่าจะได้ลดแคลอรีและต่อสุขภาพ แต่บ่อยครั้งที่ไม่เป็นอย่างที่คุณคิด ทางที่ดี ต้องอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม