ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

โรคตับ และระบบทางเดินน้ำดี

เผยแพร่ครั้งแรก 4 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 22 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ตับ เป็นอวัยวะภายในร่งกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีสีน้ำตาลแดงเข้ม อยู่ภายในช่องท้องส่วนบนด้านขวาใต้กระดูกซี่โครง อาหารที่ถูกดูดซึมจากลำไส้จะถูกส่งไปที่ตับ เพื่อเก็บสะสมหรือแปรรูป ตับมีหน้าที่หลายอย่าง ได้แก่ ควบคุมสารประกอบเคมีในเลือด ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว สร้างและเก็บสะสมโปรตีน เป็นแหล่งเก็บสะสมน้ำตาลและไขมัน ทำลายสารพิษต่างๆ ในเลือด รวมทั้งยา เป็นแหล่งสร้างน้ำดี ซึ่งจะถูกส่งไปที่ดูโอดีนัมเพื่อช่วยย่อยไขมัน และสร้างส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง

อาการ

อาการของโรคตับที่เสื่อมหน้าที่ ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด ซีด เพลีย และอาจมีอาการแน่นน้อง อาหารไม่ย่อย ในกรณีที่เป็นมากอาจมีอาการบวมที่ขาและท้องตาเหลือง ตัวเหลือง อาจซึมลง ไม่รู้สึกตัวหรือสับสน อาการอื่นๆ เช่น รู้สึกไม่สบาย เหนื่อยหน่าย น้ำหนักลด หลงลืมและสับสน อาเจียนเรื้อรัง ปวดท้องเรื้อรัง เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำดี (Bile)

น้ำดีสร้างจากตับ (Liver) แล้วนำไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี (Gallbladder) มีส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี้

1) เกลือน้ำดี (Bile Salt) มีหน้าที่ทำให้ไขมัน (Fat) แตกตัวเป็นหยดเล็กๆ ซึ่งเรียกว่าอีมัลชั่น (Emulsion) จากนั้นจึงถูกไลเปส (Lipase) ย่อยต่อให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล

2) รงควัตถุน้ำ (Bile Pigment) เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โรคตับเป็นแหล่งทำลาย และกำจัดฮีโมโกลบินออกจากเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ โดยเก็บรวบรวมเข้าไว้เป็นบิลิรูบิน (Bilirubin) มีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน และจะถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้ำตามโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่

3) คอเรสเตอรอล (Cholesterol) หากมีมากๆ จะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี เกิดโรคดีซ่าน (Jaundice) มีอาการตัวเหลือง มีผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมันบกพร่อง

น้ำดีจากตับมีหน้าที่ทำลายสภาพความเป็นกรดในลำไส้ และช่วยย่อยอาหารจำพวกไขมันถุงน้ำดีอาจจะอักเสบหรืออุดตันเนื่องจากเป็นนิ่วในถุงน้ำดีหรือที่ท่อน้ำดี ทำให้เจ็บบริเวณใต้ชายโครงข้างขวา

ถุงน้ำดี (Gallbladder)

เป็นอวัยวะในช่องท้องมีหน้าที่เก็บสะสมน้ำดี ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ถุงน้ำดีอยู่ติดต่อกับตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้นซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถุงน้ำดีจะวางตัวอยู่ทางพื้นผิวด้านหน้าของตับ โดยทั่วไปจะมีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร และมีสีเขียวคล้ำซึ่งเป็นสีของน้ำดีที่เก็บสะสมอยู่ภายใน ถุงน้ำดีจะมีทางติดต่อกับตับและลำไส้เล็กตอนต้นโดยระบบท่อน้ำดี (Biliary tract) โดยจะมีท่อถุงน้ำดี (Cystic duct) เป็นท่อที่ต่อออกมาโดยตรงจากถุงน้ำดี ซึ่งจะไปเชื่อมต่อกับท่อน้ำใหญ่ในตับ (Common hepatic duct) เพื่อรวมเป็นท่อน้ำดีใหญ่ (Common bile duct) ซึ่งท่อน้ำดีใหญ่นี้จะไปเชื่อรวมกับท่อตับอ่อน (Pancreatic duct) แล้วเปิดออกสู่รูเปิดขนาดใหญ่ในลำไส้เล็กต้อนต้น ซึ่งเรียกว่าเมเจอร์ ดูโอดีนัล แอมพูลา (Major duodenal ampulla)

ระบบไหวเวียนเลือดของถุงน้ำดี

หลอดเลือดแดงที่นำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงถุงน้ำดี คือ หลอดเลือดแดงถุงน้ำดี (Cystic artery) ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของหลอดเลือดแดงตับ ส่วนหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากถุงน้ำดี คือ หลอดเลือดดำถุงน้ำดี (Cystic vein) ซึ่งจะเทเข้าสู่หลอดเลือดดำพอร์ทัลต่อไป นอกจากนี้ทั้งหลอดเลือดแดงและหลอดดำของถุงน้ำดีจะวางตัวขนานไปกับท่อถุงน้ำดีอีกด้วย

เส้นประสาทของถุงน้ำดี

ถุงน้ำดีจะถูบควบคุมโดยการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ โดยมีเส้นประสาทเวกัส (Vagus nerve) และปมประสาทซิลิแอค (Celiac ganglion) ที่อยู่ในช่องท้อง เป็นโครงสร้างจากระบบประสาทที่มาเลี้ยง

หน้าที่การทำงานของถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี มีหน้าที่เก็บสะสมน้ำดีได้ประมาณ 1.5 ออนซ์ น้ำดีหลั่งออกมาโดยการกระตุ้นของอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบและอาหารดังกล่าวจะถูกลำเลียงเข้ามาในลำไส้เล็ก ทำให้มี

การหลั่งฮอร์โมนคอลิซินสโตไคนิน (Cholecystokinin) และก่อให้เกิดการหลั่งน้ำดีออกมา นอกจากนี้ถุงน้ำดี มีหน้าที่ทำให้น้ำดีที่ผลิตจากดับมีความเข้มข้นมากขึ้น โดยมีเซลล์เยื่อบุผิวของถุงน้ำดีทำหน้าที่ดูดซึมน้ำ

โรคของถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone หรือ Cholelithiasis) เป็นโรคของถุงน้ำดีที่พบได้บ่อยโดยที่นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากการตกผลึกของคอเลสเตอรอล เลซิทิน และกรดน้ำดี ซึ่งเป็นองค์ประกอลหลักของน้ำดี เมื่อนิ่วผ่านลงมาในท่อน้ำดีก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง โดยเฉพาะในช่วงระหว่างมื้ออาหาร ในกรณีที่ก้อนนิ่วไปอุดตันส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบท่อน้ดี จะทำให้เกิดอาการปวดบิดรุนแรง ที่เรียกว่า บิลิอารี โคลิค (Biliary colic) ซึ่งต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที ผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีจะมีอาการดีซ่าน และอาจเกิดความผิดปกติของตับอีกด้วย

ถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis) เป็นอาการอักเสบที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดีและทำให้มีอาการปวดท้อง ส่วนใหญ่จะเกิดจากการมีนิ่วในถุงน้ำดีและมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณนั้น

มะเร็งถุงน้ำดี (Cancer of gallbladder) เป็นโรคที่พบได้ไม่มาก แต่มีอันตรายถึงชีวิต มักมีสาเหตุจากมีนิ่วในถุงน้ำดี บริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากๆ หรือเป็นโรคอ้วยผู้ป่วยจะมีอาการดีซ่านคือตัวเหลือง น้ำหนักลด มีน้ำคั่งในช่องท้อง และมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก แม้ว่ามีการรักษาโดยการผ่าตัด

 

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
Hepatitis D - สาเหตุ อาการ การรักษา ป้องกัน
Hepatitis D - สาเหตุ อาการ การรักษา ป้องกัน