กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการที่แสดงว่าระบบทางเดินอาหารของคุณนั้นไม่ปกติ

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการที่แสดงว่าระบบทางเดินอาหารของคุณนั้นไม่ปกติ

ระบบทางเดินอาหารของคุณนั้นมีจุลินทรีย์หลายชนิดอยู่ภายในทั้งแบคทีเรีย รา หรือแม้กระทั่งไวรัส ถึงแม้ว่ามันจะฟังดูประหลาดแต่จุลินทรีย์เหล่านี้ต่างช่วยทำหน้าที่สำคัญในร่างกายเช่นการช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย, การสร้างสาร serotonin, ผลิตพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และกำจัดสิ่งแปลกปลอมและสารพิษ อย่างไรก็ตามในบางครั้งแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีนั้นก็อาจจะมีการเพิ่มจำนวนมากกว่าชนิดที่ดีและทำให้เกิดการเสียสมดุลซึ่งส่งผลต่อสุขภาพได้ ต่อไปนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารของคุณอาจอยู่ในภาวะไม่สมดุลและอาจทำให้คุณป่วย

คุณรู้สึกท้องไส้ปั่นป่วน

ปัญหาทางระบบทางเดินอาหารทั้งท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียนหรือแสบร้อนกลางหน้าอกนั้นเป็นอาการที่พบได้บ่อยเวลามีความปกติในทางเดินอาหาร หากคุณมีอาการเหล่านี้โดยเฉพาะหลังจากรับประทานมื้ออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก อาจจะแสดงว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของคุณนั้นอยู่ในภาวะไม่สมดุล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณอยากกินอาหารบางอย่างเป็นพิเศษ

อาการอยากอาหารบางชนิดเป็นพิเศษโดยเฉพาะขนมและน้ำตาลนั้นอาจจะหมายความว่าสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายของคุณกำลังมีปัญหาได้ เพราะอาจแสดงว่ามียีสต์เจริญเติบโตมากผิดปกติซึ่งมักเกิดหลังจากที่คุณรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน

น้ำหนักแกว่ง

แบคทีเรียบางชนิดอาจทำให้น้ำหนักลดได้โดยเฉพาะเวลาที่พวกมันมีการเจริญมากกว่าปกติ แบคทีเรียที่มากกว่าปกตินี้จะไปขัดขวางการดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุ และไขมัน ซึ่งหากคุณไม่สามารถย่อยและดูดซึมไขมันได้นั้น ก็อาจจะทำให้น้ำหนักตัวของคุณลดลงได้ ในขณะเดียวกันก็มีแบคทีเรียชนิดอื่นที่อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มได้เช่นแบคทีเรียที่สามารถผลิตพลังงานจากอาหารได้มากกว่าแบคทีเรียชนิดอื่น

คุณรู้สึกกังวลหรือเศร้า

ประมาณ 80-90% ของสาร serotonin ที่มีผลต่ออารมณ์ การเข้าสังคม การนอนหลับ ความอยากอาหาร ความจำ หรือแม้แต่อารมณ์ทางเพศนั้นถูกสร้างขึ้นในทางเดินอาหาร เมื่อมีการสร้าง serotonin ลดลง ก็อาจจะส่งผลต่ออารมณ์ของคุณได้

คุณนอนหลับไม่สนิท

การมีระดับ serotonin ที่ต่ำนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับได้ยากขึ้นได้ นอกจากนั้นอาการอ่อนเพลียเรื้อรังก็อาจจะเป็นผลมาจากการมีระดับจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ไม่สมดุลได้เช่นกัน

คุณเริ่มมีผื่นที่ผิวหนัง

การที่จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารนั้นอยู่ในระดับไม่สมดุลอาจทำให้คุณเกิดผื่น หรือมีอาการคันและแดงที่ผิวหนังได้

คุณเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

การที่มีระดับจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารไม่สมดุลนั้นมีผลมากกว่าการเกิดอาการทางระบบทางเดินอาหาร แต่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันด้วย เช่นการเกิดโรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์ หรือโรค multiple sclerosis

วิธีดูแลให้จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารอยู่ในระดับที่สมดุล

การรับประทานอาหารที่เหมาะสมนั้นเป็นวิธีแรกในการดูแลจุลินทรีย์เหล่านี้ เนื่องจากอาหารที่เรารับประทานนั้นสามารถเปลี่ยนจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารได้ภายใน 24 ชั่วโมง คุณควรเลือกรับประทานอาหารที่ทำจากพืช เน้นผัก ผลไม้ และถั่วแทนการรับประทานอาหารแปรรูป ขนมปัง และพาสต้า และเพิ่มอาหารในกลุ่มโยเกิร์ต หรือกิมจิซึ่งมี probiotic หรือจุลินทรีย์ชนิดที่ดีอยู่ภายใน เราแนะนำให้ทานถั่วพิสตาชิโอ้, กล้วย, กระเทียม, หัวหอม, ธัญพืชและข้าวโอ๊ต รวมไปถึงควินัวและอื่นๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เพราะทุกครั้งที่คุณรับประทานยาปฏิชีวนะนั้นคุณก็ได้ทำลายแบคทีเรียชนิดที่ดีไปด้วยพร้อมๆ กัน


29 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Leaky gut syndrome. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/leaky-gut-syndrome/)
Gut microbiota’s effect on mental health: The gut-brain axis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5641835/)
Leaky gut: What is it, and what does it mean for you?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/leaky-gut-what-is-it-and-what-does-it-mean-for-you-2017092212451)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)