กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทำอย่างไรเมื่อมีตกขาวสีเขียว?

สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ และแนวทางปฏิบัติตัว เมื่อพบตกขาวสีเขียว
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำอย่างไรเมื่อมีตกขาวสีเขียว?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตกขาวมีสีเขียว เป็นหนึ่งในชนิดของตกขาวที่ผิดปกติ มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อหนองใน เชื้อพยาธิในช่องคลอด
  • หากมีอาการคันร่วมกับตกขาวสีเขียว อาจเกิดขึ้นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ เพิ่ม หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบสืบพันธุ์ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ โรคมะเร็งปากมดลูก
  • วิธีรักษาอาการตกขาวสีเขียวส่วนมากจะเป็นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ปริมาณที่ต้องรับประทาน และกลุ่มยานั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการติดเชื้อ
  • หากตกขาวเกิดผิดปกติไปจากเดิม ควรไปปรึกษาแพทย์ว่า เกิดความผิดปกติอะไรขึ้น จะได้หาทางรักษาได้อย่างทันท่วงที 
  • ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ได้ที่นี่

อาการตกขาวเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าตกขาวมีสีและกลิ่นผิดปกติ ร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย แสดงว่าคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพและตกขาวผิดปกติ โดยเฉพาะอาการตกขาวสีเขียวนั้น เป็นอาการที่ส่อว่าอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อหนองใน หรือติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด

ตกขาวสีเขียวเกิดจากอะไร?

ตกขาวสีเขียว เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ ที่พบบ่อยที่สุด คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด อาการส่วนใหญ่คือมีตกขาวสีเขียว แต่ก็อาจมีตกขาวสีเหลืองปนได้เช่นกัน เกิดการอักเสบในช่องคลอด แสบ คัน และเจ็บที่อวัยวะเพศ รวมถึงอาจมีอาการปัสสาวะแสบขัดร่วมด้วย

    เชื้อพยาธิที่พบว่าเป็นสาเหตุของอาการตกขาวสีเขียว คือ เชื้อทริโคโมแนส วาจินาลิส (Trichomonas vaginalis) ซึ่งเป็นเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่ง ติดต่อกันได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้มีอาการตกขาวผิดปกติ เป็นสีเหลือง หรือ สีเขียว
  2. การติดเชื้อหนองใน ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ไนซีเรีย โกโนเรียอี ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการตกขาวสีเหลือง หรือ สีเขียว และอาจมีเลือดปนได้

อาการคัน หรือไม่คัน ร่วมกับตกขาวสีเขียว จะเป็นการบ่งชี้ว่าเป็นโรคอะไรหรือเปล่า?

การมีตกขาวสีเขียว อาจไม่มีอาการคันร่วมด้วย หรือเกิดร่วมกับอาการคันช่องคลอดก็ได้ โดยส่วนใหญ่อาการตกขาวสีเขียวที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิจะมีอาการคัน แต่ถ้ามีเพียงตกขาวสีเขียว ไม่มีกลิ่น และไม่มีอาการคัน อาจเป็นได้ว่าเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ 

ทั้งนี้ อาการตกขาวสีเขียวยังอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ เป็นต้น

มีตกขาวสีเขียวหลังจากมีประจำเดือน เป็นอันตรายหรือไม่?

โดยปกติแล้ว หลังมีประจำเดือน ผู้หญิงสามารถมีอาการตกขาวได้ ตกขาวที่ปกติจะเป็นมูกขาว หรือมูกสีขาวใส ไม่มีกลิ่น 

แต่ถ้าหากหลังมีประจำเดือนมีตกขาวปริมาณมากและมีสีเขียว อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา

ถ้าตกขาวสีเขียวออกมาเยอะมาก ต้องรักษาอย่างไร? กินยาอะไรดี?

การรักษาอาการตกขาวผิดปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์หรือสูตินรีแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาและยืนยันสาเหตุของการติดเชื้อก่อน จากนั้นแพทย์จะทำการสั่งยาฆ่าเชื้อที่เป็นต้นเหตุ เช่น

  1. หากเกิดจากการติดเชื้อพยาธิ สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ คือ เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) แต่จะให้ขนาดสูงกว่ากรณีติดเชื้อแบคทีเรีย คือ 2,000 มิลลิกรัม รับประทานครั้งเดียว  หรือ Tinidazole 2 กรัม รับประทานครั้งเดียว และควรรักษาคู่นอนด้วย

    แต่ก็สามารถให้ยา (Metronidazole) 500 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น เป็นเวลาติดต่อกัน 7 วัน เป็นการรักษาทางเลือกได้เช่นกัน
  2. หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) 500 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น เป็นเวลาติดต่อกัน 7 วัน

    หรือยาปฏิชีวนะในกลุ่มใกล้เคียง เช่น คลินดามัยซิน (Clindamycin) 300 mg รับประทาน วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน หรือใช้เป็นแบบสอดเข้าทางช่องคลอดก็ได้     

นอกจากอาการตกขาวสีเขียวที่พบบ่อย ทั้ง 2 ชนิดแล้ว ถ้ามีอาการตกขาวเป็นสีเขียวแต่ไม่มีอาการคัน ไม่มีกลิ่น ให้คุณลองสังเกตดูว่า ตกขาวที่ออกมาใหม่ๆ เป็นอย่างไร 

ถ้าตอนแรกตกขาวเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่น แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียวเมื่อสัมผัสอากาศภายนอก อาจจะเป็นตกขาวปกติที่ไม่จำเป็นต้องรักษาก็ได้ ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัย ควรจะสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยจะเป็นการดีที่สุด

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ตกขาวรักษาอย่างไร (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/312/ตกขาว)
ผศ.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, ตกขาวคราวตั้งครรภ์ (http://www.si.mahidol.ac.th), 13 ตุลาคม 2553
2015 STD Treatment Guidelines, Trichomoniasis (https://www.cdc.gov/std/tg2015/trichomoniasis.htm), 4 June 2015

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประเภทของยารักษาตกขาว ข้อดีข้อเสีย และวิธีการใช้
ประเภทของยารักษาตกขาว ข้อดีข้อเสีย และวิธีการใช้

รู้จักยารักษาตกขาวแบบเจาะลึกเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและได้ผลดีที่สุด

อ่านเพิ่ม
5 วิธีรักษาตกขาวด้วยตนเองแบบไม่ต้องพึ่งยา
5 วิธีรักษาตกขาวด้วยตนเองแบบไม่ต้องพึ่งยา

หากอาการตกขาวที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส หรือมีความรุนแรงมาก สามารถรักษาได้ด้วย 5 วิธีนี้

อ่านเพิ่ม