เริมที่อวัยวะเพศ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถแฝงตัวอยู่ในร่างกายคุณ รอวันที่ร่างกายอ่อนแอก่อนจะเผยตัวอีกครั้ง
เผยแพร่ครั้งแรก 9 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เริมที่อวัยวะเพศ

เริมที่อวัยวะเพศ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า Herpes Simplex virus type 2 ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผลเริม ซึ่งเชื้อดังกล่าวสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสผิวหนังที่เป็นแผลไม่ว่าจะเป็นในช่องคลอด ช่องปาก หรือทวารหนัก และเชื้อไวรัสนี้ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลในช่องปากที่สามารถแพร่เชื้อผ่านน้ำลายได้ด้วย 

อาการของโรค

ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสเริมที่อวัยวะเพศมักจะไม่รู้ตัวว่า ตนเองติดเชื้อแล้วและเชื้อมักจะไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น อย่างไรก็ตาม หากมีอาการแสดงออกมา อาการของโรคจะส่งผลให้มีอาการป่วยให้เห็นได้อย่างชัดเจน ประมาณ 2-14 วันหลังจากติดเชื้อ  ได้แก่ มีไข้ต่ำๆ  ปวดเมื่อยตามร่างกาย  มีอาการคัน หรือเจ็บที่อวัยวะเพศ จากนั้นจะเริ่มมีต่มน้ำใสๆ ปรากฏขึ้น และแตกภายใน 24-48 ชั่วโมง กลายเป็นแผลเล็กๆ คล้ายแผลร้อนในที่เกิดในช่องปาก   ทำให้อาการเจ็บปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น บางรายอาจมีอาการบวมแดงและแสบร้อน  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แผลเริมมักเกิดขึ้นบริเวณช่องคลอด องคชาต อัณฑะ ก้น หรือทวารหนัก  สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศครั้งแรกมักมีแผลจำนวนมากและค่อนข้างหายช้า  สำหรับการติดเชื้อในผุ้หญิงบางรายอาจพบว่า มีการอักเสบของช่องคลอดและท่อปัสสาวะอย่างรุนแรง เมื่อปัสสาวะจะมีอาการแสบอย่างมาก  อาการที่แสดงออกมาจะเกิดขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์ ไปจนถึง 3-4 สัปดาห์จึงจะเริ่มดีขึ้น ซึ่งอาจรู้สึกปวดตึงบริเวณที่เคยมีแผล สำหรับบางรายอาจมีอาการหวัด มีไข้ ปวดศีรษะ หรือต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณขาหนีบร่วมด้วย หากเชื้อแสดงออกมาอีกครั้งอาการที่เกิดขึ้นจะเบาลงกว่าครั้งแรกและแผลจะหายเร็วกว่าเดิม

เริมไม่หายขาด แต่จะเกิดขึ้นได้ซ้ำๆ

หลังจากที่แผลพุพองหายแล้ว ผู้ป่วยอาจคิดว่าเชื้ออาจหายไปด้วยเช่นกัน แต่จริงๆ แล้วเชื้อไวรัสยังคงซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทได้อย่างถาวร และหากมีปัจจัยกระตุ้น เช่น พักผ่อนน้อย  อ่อนเพลีย   เครียด มีความเจ็บป่วยอื่นๆ รบกวน มีประจำเดือน  เชื้อไวรัสจะเริ่มปรากฏอาการอีกครั้งในบริเวณเดิม แต่จำนวนของแผลและความรุนแรงจะลดน้อยลง รวมทั้งหายได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้จำนวนครั้งของการปรากฏอาการเริมที่อวัยวะเพศนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางรายอาจปรากฏอาการได้มากถึง 4-5 ครั้งในหนึ่งปี ในขณะที่บางรายเป็นเพียง 1-2 ครั้งต่อปีเท่านั้น และอาการจะน้อยลงเรื่อยๆ

ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาเริมให้หายขาดได้ และเชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกายที่สามารถแพร่สู่บุคคลอื่นได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และแม้จะไม่ปรากฏแผลให้เห็นก็ยังคงสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้เช่นกัน ผู้ติดเชื้อสามารถลดโอกาสที่จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ด้วยการใช้ยาต้านไวรัสซึ่งเป็นยาที่ต้องได้รับใบสั่งจากแพทย์

นอกจากนี้เริมที่อวัยวะเพศยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีได้ เนื่องจากเชื้อเอชไอวีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ   หรือเมื่อมีการสัมผัสกับบาดแผลในขณะมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน

หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเริม เชื้อสามารถแพร่สู่ทารกได้ในขณะคลอดผ่านทางช่องคลอด  แพทย์จึงเลือกการผ่าคลอดทางหน้าท้องแทนเพื่อความปลอดภัยของทารก เนื่องจากหากเด็กติดเชื้อจะส่งผลให้เด็กมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ชัก และเกิดความเสียหายต่อสมองได้

การรักษาโรค

ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาเริมให้หายขาดได้ แต่สำหรับผู้ติดเชื้อเริมครั้งแรกจำเป้นต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษา  แพทย์จะให้ยาต้านเชื้อไวรัสเริม เช่น  acyclovir มารับประทานเพื่อช่วยควบ คุมการแพร่กระจายของเชื้อ ทั้งยังช่วยรักษาและลดอาการเจ็บปวดจากแผลที่เกิดขึ้นได้  นอกจากนี้แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลและทำความสะอาดแผลที่ถูกต้อง   ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด  ดูแลแผลให้สะอาด จนกว่าแผลจะหายสนิท    

การป้องกันโรค

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันเริมที่อวัยวะเพศ คือ การงดมีเพศสัมพันธ์  ดังนั้นหากต้องการมีเพศสัมพันธ์จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางใด นอกจากนี้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แบบออรัลเซ็กซ์ควรให้คนรักใช้แผ่นยางอนามัยป้องกัน โดยแผ่นยางอนามัยสามารถหาซื้อได้ทางออนไลน์หรือจากร้านขายยาทั่วไป   หากคุณ หรือคนรักของคุณปรากฏอาการของโรค คุณทั้งสองต้องงดการมีเพศสัมพันธ์อย่างเด็ดขาดจนกว่าแผลนั้นจะหายสนิทแล้ว  

ถ้าคุณคิดว่า คุณอาจมีอาการติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศ หรือคู่นอนของคุณมีอาการติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศติดเชื้อ  คุณต้องงดมีเพศสัมพันธ์ทุกช่องทาง อย่าอายที่จะไปพบแพทย์เนื่องจากโรคนี้ควรได้การตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Genital herpes (https://www.mayoclinic.org/dis...)
Genital Herpes (http://kidshealth.org/en/teens/std-herpes.html), October 2018
A. Sauerbrei, Herpes Genitalis: Diagnosis, Treatment and Prevention (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5177552/), 18 October 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)