การทำเล็บเจล

รู้จักศิลปะบนปลายนิ้วมือและปลายนิ้วเท้ายอดนิยม แม้จะมีอายุการใช้นานยาวนานแต่ก็มีอันตรายแอบแฝง
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การทำเล็บเจล

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ "การทำเล็บเจล" เป็นที่นิยมมากกว่าการทำเล็บประเภทอื่นๆ คือ สามารถติดอยู่ได้นาน ส่วนประสิทธิภาพของเจลนั้นจะขึ้นกับความสามารถในการยึดติดกับสิ่งที่ใช้ ระยะเวลาที่ติดและความยากง่ายเวลาล้างออก ร้านทำเล็บส่วนใหญ่มักจะรับรองว่า เล็บเจลสามารถอยู่ได้นานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และถ้าหากทาอย่างเหมาะสมเล็บเจลอาจมีอายุได้นานถึง 3 สัปดาห์ ซึ่งแตกต่างจากการทาเล็บทั่วไปที่อยู่ได้เพียง 2-3 วัน ก็หลุดร่อน ด้วยเหตุนี้การทำเล็บเจลจึงเหมาะสำหรับงานแต่งงาน โอกาสพิเศษ หรือการพักผ่อน 

คำถามก็คือการทำเล็บเจลส่งผลต่อสุขภาพหรือไม่?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำเล็บวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 19 บาท ลดสูงสุด 71%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อควรรู้ก่อนทำเล็บ

1. ระมัดระวังรังสีอัลตราไวโอเลต

การทาเจลนั้นไม่ได้แตกต่างจากการทาสีเล็บทั่วไป ยกเว้นในขั้นตอนที่ทำใต้รังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสีเหนือม่วง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แม้คุณจะสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลตเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็อย่ามองข้ามอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ รังสีเหล่านี้นั้นมีพลังงานมากและปล่อยรังสี UVA ที่มีพลังงานมากกว่าที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ รวมทั้งแนะนำให้ซื้ออุปกรณ์กันรังสี UVA และสวมใส่ก่อนที่จะทำเล็บเพื่อป้องกันรังสี

การใช้ไฟ LED นั้นก็ไม่ได้ปลอดภัยกว่าหลอดไฟ UV เช่นกัน ในความจริงแล้ว หลอดไฟ LED มีการปล่อยรังสี UVA ที่มีพลังงานมากกว่าด้วยซ้ำ ดังนั้นแม้ว่าการใช้ไฟ LED จะประหยัดเวลาในการทำเล็บมากขึ้น แต่ก็อย่าลืมทาครีมกันแดดที่มือเด็ดขาด

2. รู้ว่าเล็บของคุณจะถูกทำลายอย่างไร

ไม่ใช่เพียงแค่รังสีอัลตราไวโอเลตเท่านั้นที่จะทำให้เล็บถูกทำลาย ถึงแม้ว่าช่างที่เชี่ยวชาญจะรู้ว่า ต้องใช้หลอดไฟขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับเจลที่ใช้ รวมถึงต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ แต่ก็อาจมีบางครั้งที่ช่างทำสลับขั้นตอนได้ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดแต่งเล็บที่มากเกินไปและส่งผลให้ล้างออกได้ยาก 

การทำเล็บเจลที่ดีนั้นควรจะล้างออกทันทีเมื่อใช้อะซีโตนล้าง แต่ถ้าหากทำไม่ดีเจลนั้นจะล้างไม่ออกและจะต้องรอตัดออกเท่านั้นซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเล็บได้

3. การทำเล็บนั้นอาจทำให้เล็บอ่อนแอ 

มีงานวิจัยหนึ่งที่ทำการวัดความหนาของแผ่นเล็บก่อนและหลังจากทำเล็บพบว่า หลังจากการทำเล็บ เล็บจะมีความหนาลดลง สิ่งที่สำคัญที่ต้องรู้เวลาทำเล็บเจลก็คือ การล้างเล็บเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการทำลายเล็บมากที่สุด

4. มีวิธีการล้างเล็บที่ไม่รุนแรง

การล้างเล็บไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เล็บนั้นถูกทำลายเสมอไป ส่วนมากเจลแบบนิ่มนั้นสามารถล้างออกได้ด้วยอะซีโตนที่ใช้ล้างเล็บ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำเล็บวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 19 บาท ลดสูงสุด 71%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ดี เพื่อให้ล้างเจลออกได้สะอาด แนะนำให้ขูดเจลบริเวณด้านบนก่อนเล็กน้อยเพื่อให้อะซีโตนสามารถเข้าไปล้างสีเล็บได้ หลังจากนั้นให้วางสำลีชุบอะซีโตนไว้บนเล็บก่อนพันด้วยฟอยด์ (หากวางเล็บไว้ในถุงมือยาง nitrile จะช่วยให้สามารถล้างสีออกได้เร็วขึ้น) หลังจากนั้น 7-10 นาทีเจลควรหลุดออก

5. สีทาเล็บบางสูตรนั้นก็ปลอดภัยมากกว่าสีอื่น

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เจลที่ใช้ทาเล็บนั้นไม่ควรมีสารโทลูอีน (toluene) ไดบูทิล เพซิลพทาเลท (dibutyl phthalate: DBP) ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ฟอร์มาลดีไฮด์ เรซิน ( formaldehyde resin) และ การบูร (camphor) แต่สามารถเลือกทาสีอะไรก็ได้ที่มีอยู่ในโลกนี้

6. คุณอาจทำเล็บบ่อยเกินไป

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า คุณสามารถไปทำเล็บนานๆ ครั้งได้ โดยแนะนำให้มีการเว้นช่วงระหว่างการทำแต่ละครั้งเพื่อให้เล็บได้เพิ่มความชุ่มชื้นและซ่อมแซมตัวเอง

7. คุณจะต้องฟื้นฟูเล็บหลังจากทำเล็บเจล

เมื่อล้างสีเจลออกแล้ว อย่าลืมเพิ่มความชุ่มชื้นให้เล็บด้วยน้ำมันและขี้ผึ้ง ซึ่งจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลายและเพิ่มความแข็งแรงให้กับเล็บ

บทความที่เกี่ยวข้อง
การทำเล็บ...ตัวช่วยเรื่องความงามที่ใครก็ทำได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป