โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียน มักจะเกิดมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่เข้าไปรบกวนกระเพาะ ภาวะนี้เกิดขึ้นกับใครก็ได้ แต่มักจะพบบ่อยในเด็กเล็ก
เด็กเล็กส่วนมากจะติดเชื้อจากไวรัสที่เรียกว่าโนตาไวรัส (rotavirus) แต่สำหรับผู้ใหญ่มักจะเกิดมาจากโนโรไวรัส (norovirus) หรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ (food poisoning)
โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเป็นภาวะที่สร้างความไม่สบายเนื้อสบายตัวที่สามารถหายไปเองภายในหนึ่งสัปดาห์ คุณควรดูแลตนเองหรือลูกของคุณให้ดีที่บ้านไปจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น
พยายามเลี่ยงการเข้าพบแพทย์ เพราะโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบนั้นแพร่กระจายให้ผู้อื่นได้ง่ายมาก ๆ หากคุณต้องการคำแนะนำควรทำการโทรศัพท์ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแทนจะดีที่สุด
อาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
อาการทั่วไปของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบคือ: ท้องร่วงเป็นน้ำกะทันหัน รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน อาจจะพุ่งออกมาก็ได้ มีไข้อ่อน ๆ
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นไม่อยากอาหาร ปวดท้อง ปวดแขนขา และปวดศีรษะ
อาการต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นภายในวันแรกที่ติดเชื้อ และมักจะคงอยู่ยาวนานน้อยกว่าหนึ่งอาทิตย์ แต่บางกรณีก็สามารถเกิดขึ้นยาวนานกว่านั้นก็ได้
ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อคุณเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ?
หากคุณประสบกับอาการท้องร่วงและอาเจียนกะทันหัน สิ่งที่ควรทำที่สุดคือการพักผ่อนอยู่บ้านจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น เนื่องจากยังไม่มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นคุณควรรอให้อาการเจ็บป่วยหายไปเอง
คุณไม่จำเป็นต้องเข้าพบแพทย์นอกจากว่าอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้น หรือคุณมีความเสี่ยงต่อปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ
เพื่อช่วยบรรเทาอาการของคุณ:
- ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ (dehydration) คุณจำต้องดื่มน้ำมากกว่าปกติเพื่อชดเชยของเหลวที่เสียไปจากอาการอาเจียนและท้องร่วง โดยน้ำเปล่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่คุณก็สามารถดื่มน้ำผลไม้และซุปได้
- ทานยาพาราเซตตามอลสำหรับลดไข้และอาการปวดต่าง ๆ
- พักผ่อนให้มาก ๆ
- หากคุณต้องการรับประทานอาหาร พยายามทานอาหารรสจืดในปริมาณเล็กน้อยก่อน เช่นน้ำซุป ข้าว เส้นพาสต้า และขนมปัง
- ทานเครื่องดื่มชดเชยน้ำที่หาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปหากคุณมีสัญญาณของภาวะขาดน้ำ เช่นปากแห้ง หรือมีปัสสาวะสีเข้ม
- ทานยาต้านอาเจียน (เช่น metoclopramide) หรือ/และยาต้านท้องร่วง (เช่น loperamide) เมื่อมีอาการ
- โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเป็นโรคที่แพร่กระจายได้ง่ายมาก ดังนั้นคุณควรทำการล้างมอเป็นประจำขณะที่คุณป่วยอยู่ และควรหยุดงานหรือไม่ไปโรงเรียนจนกว่าอาการต่าง ๆ จะหายไปเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์หากว่าคุณเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ เพราะโรคนี้ควรจะหายไปเอง
การเข้าพบแพทย์จะทำให้ผู้อื่นเสี่ยงต่อภาวะนี้ ดังนั้นควรทำการโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ตามความจำเป็นแทน
ควรไปพบแพทย์หากว่า: คุณมีอาการของภาวะขาดน้ำรุนแรง เช่นมีอาการวิงเวียนเรื้อรัง ขับถ่ายปัสสาวะน้อยมากหรือไม่มีเลย หรือเริ่มหมดสติ คุณถ่ายหนักแบบเหลวปนเลือด คุณมีอาการอาเจียนต่อเนื่องและไม่สามารถดื่มน้ำได้เลย คุณมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส อาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไปสองถึงสามวัน คุณเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ (ที่มีมาตรฐานสุขอนามัยต่ำ) ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณมีภาวะสุขภาพร้ายแรงอยู่ เช่นโรคไต โรคลำไส้อักเสบ หรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และมีอาการอาเจียนหรือท้องร่วง
แพทย์จะแนะนำให้คุณทำการตรวจอุจจาระเพื่อหาสาเหตุของอาการของคุณ ก่อนมีการจ่ายยาปฏิชีวนะให้หากเป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย
การดูแลเด็กที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
คุณสามารถดูแลลูกของคุณที่บ้านเมื่อพวกเขามีอาการท้องร่วงและอาเจียน แม้จะยังไม่มีวิธีรักษา ลูกของคุณควรจะรู้สึกดีขึ้นเองภายในเวลาไม่กี่วันให้หลัง
ในการบรรเทาอาการของลูกคุณนั้น:
- ดูแลให้เด็กดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อชดเชยของเหลวที่เสียไปจากการอาเจียนและท้องร่วง น้ำเปล่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด และควรเลี่ยงน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้เพราะจะทำให้อาการท้องร่วงทรุดลงได้ สำหรับเด็กทารกสามารถดื่มนมได้ตามปรกติ (ทั้งจากมารดาและนมชง)
- จัดให้เด็กพักผ่อนให้มากที่สุด
- ดูแลให้เด็กทานอาหารแข็งเมื่อพวกเขารู้สึกหิวด้วยการให้ทานในปริมาณเล็กน้อยและจืดก่อน เช่นซุป ข้าว พาสต้า และขนมปัง
- ให้ยาพาราเซตตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดและไข้ของพวกเขา เด็กเล็กสามารถทานยาพาราเซตตามอลชนิดน้ำได้ดีกว่ายาเม็ด
- ทานเครื่องดื่มชดเชยน้ำที่หาซื้อจากร้านขายยาหากพวกเขาขาดน้ำ แพทย์และเภสัชกรจะสามารถแนะนำปริมาณที่เด็กสามารถรับได้ ห้ามใช้ยาต้านท้องร่วงหรือยาต้านอาเจียนกับเด็กนอกจากแพทย์จะแนะนำให้ใช้
- พยายามดูแลให้เด็กล้างมือบ่อย ๆ ในขณะที่ป่วยอยู่ และให้พวกเขาหยุดเรียนจนกว่าจะปลอดอาการเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมงหลังจากอาการหายไป
การเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับอาการของลูกคุณ
คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เมื่อลูกของคุณประสบกับโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ เพราะโรคนี้ควรจะดีขึ้นเอง และการพาพวกเขาไปสถานพยาบาลจะทำให้ผู้ป่วยอื่นมีความเสี่ยงไปด้วย ควรเป็นการโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์แทนในกรณีที่ลูกของคุณ: มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่นปัสสาวะน้อยหรือไม่มีเลย รู้สึกฉุนเฉียวผิดปรกติ ผิวซีด หรือมือเท้าเย็น มีเลือดปนอุจจาระหรืออาเจียนสีเขียว อาเจียนต่อเนื่องจนไม่สามารถดื่มน้ำหรือทานอาหารได้ ประสบกับท้องร่วงนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ อาเจียนต่อกันสามวันขึ้นไป มีสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะเจ็บป่วยที่ร้ายแรงกว่า เช่นมีไข้สูงมาก หายใจติดขัด เจ็บคอ ผื่นขึ้น เป็นภาวะร้ายแรงอยู่ก่อน เช่นโรคลำไส้อักเสบ หรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและประสบกับอาการอาเจียนและท้องร่วง
แพทย์แนะนำให้คุณส่งตัวอย่างอุจจาระของลูกคุณไปทำการตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการณ์เพื่อยืนยันสาเหตุของอาการของเด็ก โดยจะมีการใช้ยาปฏิชีวนะหากว่าผลแสดงให้เห็นการติดเชื้อแบคทีเรีย
โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบแพร่กระจายได้อย่างไร?
เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ง่ายมาก ๆ คุณสามารถติดเชื้อนี้ได้จากละอองอุจจาระหรืออาเจียนที่มาจากผู้ติดเชื้อเข้าไปทางปากของคุณ เช่น: การสัมผัสผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ: พวกเขาสามารถหายใจนำละอองเชื้อจากอาเจียนให้คุณได้ การสัมผัสสิ่งของปนเปื้อนเชื้อ การทานอาหารปนเปื้อนเชื้อ: สามารถเกิดขึ้นได้หากผู้ป่วยไม่ล้างมือก่อนหยิบจับอาหาร หรือคุณทานอาหารที่สัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ
ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการครั้งแรก จนถึง 48 ชั่วโมงหลังอาการต่าง ๆ หายไป กระนั้นพวกเขาก็อาจสามารถแพร่เชื้อได้ทั้งก่อนและหลังช่วงเวลาที่กล่าวไปเล็กน้อย
การป้องกันโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
การป้องกันโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่หากปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ก็สามารถหยุดการแพร่เชื้อได้:
- หยุด/ลางานหรือโรงเรียนจนกว่าอาการต่าง ๆ จะหายไปเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง โดยทั้งคุณและลูกคุณควรเลี่ยงไปพบผู้ป่วยตามโรงพยาบาลระหว่างนี้ไปก่อน
- ดูแลให้ตนเองและลูกของคุณล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะหลังการทำธุระ และก่อนเตรียมอาหาร ห้ามใช้เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์เพราะอาจไม่ได้ผลทุกครั้ง
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวและสิ่งของที่อาจปนเปื้อนเชื้อให้หมดจด
- ล้างสิ่งของ เสื้อผ้า หรือผ้าปูที่นอนที่ปนเปื้อนเชื้อด้วยการซักแยก
- ไม่ใช้ผ้าเช็ดมือ ผ้าขนหนู ถ้วยชาม หรือช้อนส้อมร่วมกับเด็กหรือผู้ป่วย
- กดชักโครงกำจัดอุจจาระหรืออาเจียนให้หมดและทำความสะอาดบริเวณโดยรอบ
- ฝึกการดูแลความสะอาดของอาหาร จัดเก็บอาหารในตู้เย็นอย่างเหมาะสม ปรุงอาหารให้สุกทุกครั้ง และห้ามทานอาหารที่เลยวันหมดอายุ
- ระมัดระวังตนเองขณะเดินทางไปยังประเทศที่มีสุขอนามัยย่ำแย่เป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่นทำการต้มน้ำก๊อกก่อนนำมาดื่ม
- สำหรับเด็กเล็กสามารถรับวัคซีนป้องกันโรตาไวรัสเมื่อพวกเขามีอายุ 2 หรือ 3 เดือนได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้