กรดโฟลิก และโฟเลท ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิก

เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กรดโฟลิก และโฟเลท ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิก

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิก

กลไกการทำงานของกรดโฟลิก คือกรดโฟลิกเป็นส่วนประกอบสำคัญต่อกระบวนการสร้างโคเอนไซม์ เช่นในกระบวนการสร้างพิวรีน (purine) และไพริมิดีน (pyrimidine) ซึ่งส่งผลต่อการบวนการสร้าง DNA ยังเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการสร้างและรักษานิวคลีโอโปรตีน (nucleoprotein) ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดในผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจากการพร่องโฟเลต 

กรดโฟลิกมีข้อบ่งใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิก สำหรับโรคโลหิตจางจากภาวะพร่องกรดโฟลิก ขนาดรับประทานคือ 5 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลา 4 เดือน หรือใช้ในขนาดได้ถึง 15 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ป่วยที่มีการดูดซึมผิดปกติ ข้อบ่งใช้สำหรับเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ขนาดรับประทานคือ 0.2 ถึง 0.5 มิลลิกรัมต่อวัน ข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิดในทารก (NTD) ขนาดรับประทานคือ 4 หรือ 5 มิลลิกรัมต่อวัน ข้อบ่งใช้สำหรับเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ขนาดรับประทานคือ 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อควรระวังพิเศษของการใช้ยาคือ อาจเกิดภาวะต้านทานต่อยาในผู้ป่วยที่เป็น depressed haematopoiesis ผู้ป่วยที่ติดแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดวิตามินอื่น ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้แก่ รบกวนระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการแพ้ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category A คือมีความปลอดภัยสำหรับการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ (และอยู่ใน category C หากขนาดรับประทานเกินกว่าที่แนะนำ) ควรเก็บยาไว้ที่อุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส

ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์กรดโฟลิก ได้แก่ Blackmores Folic Acid และ Folivit (ข้อมูลจาก MIMS Thailand)

Blackmores Folic Acid

Blackmores folic acid เป็นยารูปแบบเม็ด ประกอบด้วยกรดโฟลิก 0.5 มิลลิกรัม มีข้อบ่งใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องกรดโฟลิก อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ขนาดที่แนะนำคือรับประทาน 1 เม็ดต่อวัน ควรรับประทานพร้อมกับอาหารมื้อหลัก ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่ม ยาทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ ยาเสพติด ยาควบคุมพิเศษ หรือยาอันตราย (Non-dangerous drug; NDD)

Folivit

Folivit เป็นยารูปแบบเม็ด ประกอบด้วยกรดโฟลิก 5 มิลลิกรัม มีข้อบ่งใช้สำหรับภาวะโลหิตจางเนื่องจากการพร่องกรดโฟลิก หรือภาวะโลหิตจางที่มีสาเหตุจากการขาดสารอาหาร ข้อบ่งใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และในเด็ก ขนาดที่แนะนำคือรับประทาน 1 ถึง 3 เม็ดต่อวัน ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่ม ยาทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ ยาเสพติด ยาควบคุมพิเศษ หรือยาอันตราย (Non-dangerous drug; NDD)

ผลิตภัณฑ์กรดโฟลิกยี่ห้ออื่น ได้แก่ F-Min Folic acid central poly Folimed นอกจากนี้ยังอาจพบกรดโฟลิกในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดวิตามินรวม แต่อาจมีปริมาณของกรดโฟลิกในปริมาณต่ำ (ระดับไมโครกรัม) ซึ่งเพียงพอต่อคนปกติในการรับประทานต่อวัน

การได้รับกรดโฟลิกในปริมาณสูงเกินไปมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง?

แม้ว่าการได้รับกรดโฟลิกจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปริมาณสูงกว่าที่ร่างกายต้องการนั้น จะให้ผลดีต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ แต่ก็ควรคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจได้รับหากได้รับในปริมาณที่สูงเกินไป อย่างแรก การได้รับกรดโฟลิกในปริมาณสูงอาจทำให้ตรวจวินิจฉัยภาวะขาดวิตามินบี 12 ไม่พบ (ซึ่งการขาดวิตามินบี 12 ก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้) ซึ่งถือเป็นอันตรายในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ปัจจุบันมีการคำนึงถึงผลอันไม่พึงประสงค์ของกรดโฟลิกที่หลงเหลือซึ่งไม่ผ่านกระบวนการแมทาบอลิซึมของร่างกายเกี่ยวกับการเกิดมะเร็ง ภาวะซึมเศร้า และภาวะสมองเสื่อม ในปัจจุบันจึงมีข้อมูลสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็น L-methylfolate (โครงสร้างในรูปที่พร้อมทำงานของกรดโฟลิก) แทนเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว

อาหารที่มีโฟเลตสูง

อาหารที่มีโฟเลตสูง ได้แก่ถั่ว เลนทิล ถั่วดำ และถั่วแดง 1 ถ้วยมีปริมาณโฟเลตประมาณ 256 และ 229ไมโครกรัม คิดเป็นร้อยละ 64 และ 57 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวันตามลำดับ ผักรับประทานใบที่มีสีเขียวเข้ม เช่น ผักโขม โดยผักโขม 1 ถ้วยมีปริมาณโฟเลตประมาณ 260 ไมโครกรัม คิดเป็นร้อยละ 65 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ปริมาณใกล้เคียงกันกับในหน่อไม้ฝรั่ง ผักผลไม้ชนิดอื่นเช่น บรอกโคลี ผลไม้ตระกูลส้ม ซีเรียลที่มีการเสริมกรดโฟลิก (fortified cereal) ขนมปัง พาสตา เป็นต้น 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป