การออกกำลังกายเป็นวิธีการทางธรรมชาติที่จะช่วยต่อสู้กับโรคซึมเศร้า

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การออกกำลังกายเป็นวิธีการทางธรรมชาติที่จะช่วยต่อสู้กับโรคซึมเศร้า

การออกกำลังกายสามารถช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้

การใช้ยาต้านเศร้าถือเป็นวิธีการรักษาที่ใช้กันทั่วไปในการรักษาโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่วิธีเดียวที่สามารถใช้ได้ งานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายถือเป็นวิธีการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพเช่นเดียวกันและในบางคนถือว่ามีประสิทธิภาพพอๆ กับการใช้ยา ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง

ผลของการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้ร่างกายทำปฏิกิริยาหลายอย่างที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่นช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและโรคเบาหวาน, ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น และลดความดันโลหิต การออกกำลังกายหนักๆ นั้นจะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกมีความสุขที่ชื่อว่า endorphin ออกมา แต่การออกกำลังกายแบบเบาๆ แต่เป็นเวลานานๆ นั้นก็จะช่วยให้มีการหลั่งโปรตีนที่ทำให้เซลล์ประสาทนั้นมีการเจริญเติบโตและสร้างเครือข่ายขึ้นมาใหม่ ทำให้การทำงานของสมองดีขึ้นและคุณก็รู้สึกดีขึ้นเช่นกัน ในผู้ป่วยโรควึมเศร้า สมองส่วน hippocampus ที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์นั้นมักจะมีขนาดเล็กกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการที่เซลล์ประสาทในสมองส่วนนี้มีการเจริญเติบโตหรือมีการทำงานที่ดีขึ้นจึงสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเริ่มออกกำลังครั้งแรกมักยากเสมอ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นมักจะมีอาการทางกายเช่นมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน, มีพลังงานน้อยลง เบื่ออาหาร ปวดตามร่างกาย และไวต่อความเจ็บปวดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้พวกเขาอาจไม่อยากออกกำลังกาย ดังนั้นการเริ่มออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่ยาก เราจึงควรค่อยๆ เริ่มจากการออกกำลังกายทีละน้อย เช่นเดินวันละ 5 นาทีหรือทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่พวกเขาชื่นชอบ ก่อนที่จะค่อยๆ เพิ่มให้นานขึ้น

สิ่งที่คุณสามารถทำได้

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าคุณจะต้องออกกำลังกายนานเท่าไหร่หรือหนักขนาดใด เซลล์ประสาทจึงจะเริ่มมีการพัฒนาและลดอาการซึมเศร้าได้ แต่คุณก็ควรจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นหลังจากเริ่มออกกำลังกายไปได้สักระยะ (ประมาณหลายสัปดาห์) การออกกำลังกายถือเป็นการรักษาเพื่อผลในระยะยาวและไม่สามารถแก้ปัญหาให้หมดไปได้ในทันที ดังนั้นเป้าหมายของการออกกำลังกายจึงอยู่ที่การทำให้คุณรู้สึกชอบออกกำลังกายเพื่อที่จะได้ออกกำลังกายต่อไปเรื่อยๆ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 Great Exercises to Ease Depression - Depression Center. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/depression-pictures/great-exercises-to-fight-depression.aspx)
Exercise is an all-natural treatment to fight depression. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/exercise-is-an-all-natural-treatment-to-fight-depression)
Exercise for depression. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/stress-anxiety-depression/exercise-for-depression/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม