ผู้พิการและผู้ที่ใช้รถเข็นสำหรับผู้พิการ (WHEELCHAIR USERS AND DISABLED PEOPLE)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผู้พิการและผู้ที่ใช้รถเข็นสำหรับผู้พิการ (WHEELCHAIR USERS AND DISABLED PEOPLE)

หากคุณมีความบกพร่องทางร่างกาย คุณอาจมองข้ามการบริหารร่างกายและการออกกำลังกายไป แต่ในความเป็นจริง การออกกำลังกายส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก ไม่ว่าจะทางร่างกาย อารมณ์ และการเข้าสังคม ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้พิการจำเป็นต้องมีการบริหารร่างกายหรือทำกิจกรรมที่ได้ใช้แรงและกำลัง ทั้งการออกกำลังกายแบบเผาผลาญไขมันและการออกกำลังกายแบบเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ สิ่งสำคัญคือคุณต้องหากิจกรรมหรือกีฬาที่เหมาะกับสภาพร่างกายของคุณมากที่สุด ซึ่งคุณสามารถฝึกฝนได้เองที่บ้าน แต่แนะนำให้ลองติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์กีฬาในชุมชนก่อนเพื่อสอบถามว่าทางศูนย์มีโปรแกรมหรือเครื่องเล่นที่เอื้อต่อการใช้งานของผู้พิการหรือไม่ 

การออกกำลังกายแบบเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ

เริ่มต้นด้วยการลองพิจารณาดูก่อนว่ากล้ามเนื้อส่วนใดที่คุณใช้มากที่สุดและกล้ามเนื้อส่วนใดที่คุณใช้น้อยที่สุด หากคุณเป็นผู้ที่ใช้รถเข็นสำหรับผู้พิการ นั่นหมายความว่ากล้ามเนื้อที่คุณใช้มากที่สุดคือ แขน น่าอก และหัวไหล่นั่นเอง ดังนั้นอวัยวะส่วนอื่นๆ จึงจำเป็นต้องได้รับการบริหารด้วย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง เพราะการบริหารส่วนนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยไห้อวัยวะแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังเป็นการเลี่ยงอาการเส้นยึด ตึง หรืออาการบาดเจ็บได้ด้วย ลองทำกิจกรรมที่เสริมสร้างการใช้กล้ามเนื้อที่คุณอาจยังไม่เคยลองทำมาก่อน เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ฝึกโยคะ
  • ยกน้ำหนัก
  • ใช้เครื่องเล่นหรืออุปกรณ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อต่างๆ เช่น เครื่องบริหารร่างกายกรรเชียงบก หรือ Rowing Machine
  • ว่ายน้ำ
  • ปั่นจักรยาน

การออกกำลังกายแบบเผาผลาญไขมัน

มีวิธีการออกกำลังกายอย่างหลากหลายที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายของคุณให้ดีขึ้นได้ ซึ่งตัวคุณเองก็ต้องพร้อมที่จะออกกำลังกายอย่างจริงจังด้วยเช่นกัน แนะนำให้ลองทำกิจกรรมเหล่านี้

  • เล่นกีฬาที่ถูกดัดแปลงมาแล้วสำหรับผู้พิการ เช่น wheelchair basketball, wheelchair football หรือ wheelchair netball เป็นต้น
  • เล่นปิงปอง ตีแบต หรือเล่นเทนนิส
  • ฝึกศิลปะป้องกันตัว
  • ว่ายน้ำ

สิ่งสำคัญคือ อย่าลืมให้เวลาร่างกายได้ผ่อนคลายและปรับสภาพระหว่างการทำกิจกรรมแต่ละรอบ ทั้งนี้คุณจำเป็นต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ด้วย เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรงขึ้น

หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ลองปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อขอคำแนะนำต่างๆ หรือติดต่อไปยังมูลนิธิคนพิการไทยเพื่อขอข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมหรือกีฬาที่เหมาะสมสำหรับผู้พิการที่ โทรศัพท์ 0-2582-0897, 0-2582-0898 หรือหาข้อมูลได้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ http://www.tdf.or.th/

 

 


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fitness advice for wheelchair users. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/exercise/wheelchair-users-fitness-advice/)
How You Can Exercise in a Wheelchair. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/no-limits-exercising-with-a-disability-1229597)
Physical Activity for People with Disabilities. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/features/fitness-disabilities/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป