โรคมะเร็งหลอดอาหาร

เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคมะเร็งหลอดอาหาร

หลอดอาหารเป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร มีลักษณะเป็นท่อ มีความยาวจากลำคอส่วนต่อจากคอหอย ลงไปในด้านหลังของช่องอก จนถึงรูเปิดของ กระเพาะอาหารในช่องท้อง เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่เป็นทางเดินของอาหารจากช่องปาก และช่องคอ เข้าสู่กระเพาะอาหาร โดยมีหลอดลมใหญ่อยู่ติดด้านหน้าของหลอดอาหาร ดังนั้น เมื่อโรคมะเร็งหลอดอาหารลุกลามรุนแรง จึงทะลุเข้าหลอดลมได้ ทำให้เกิดอาการไอ/สำลักเวลากลืน

หลอดอาหารประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด ได้แก่ เซลล์เยื่อเมือกบุภายใน หลอดอาหาร เส้นเลือด กล้ามเนื้อ เซลล์ต่อมน้ำลาย และเซลล์ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเซลล์ทุกชนิดสามารถเกิดเป็นมะเร็งได้ แต่เกือบทั้งหมดของโรคมะเร็งหลอด อาหารจะเกิดจากเซลล์ของเยื่อเมือกบุภายในหลอดอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถาม : โรคมะเร็งหลอดอาหารเกิดได้อย่างไร ?

ตอบ : สาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารยังไม่ทราบแน่ชัดแต่จากการศึกษา เชื่อว่าน่ามาจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่

  • ความผิดปรกติจากพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอดบางชนิด ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัว และการตายของเซลล์ปรกติ
  • เชื้อชาติ เพราะในคนบางเชื้อชาติพบโรคมะเร็งหลอดอาหารได้บ่อยกว่า Ó
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ขาดสารอาหาร เพราะในคนที่ไม่ค่อยบริโภคผักผลไม้ จะมีโอกาสเกิด โรคนี้สูงกว่า
  • บริโภคอาหารซึ่งผ่านกระบวนการถนอมอาหารด้วยสารก่อมะเร็งเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
  • มีโรคเรื้อรังบางโรคเกี่ยวกับหลอดอาหาร
  • เคยกลืนกรดหรือด่าง
  • โรคอ้วน
  • ในคนที่เคยเป็นโรคมะเร็งในระบบศีรษะ/ลำคอ
  • เป็นโรคกรดไหลย้อน
  • กลืนไม่สะดวก กลืนติด กลืนลำบาก กลืนเจ็บ และเมื่อเป็นมากจะ กลืนน้ำลายไม่ลง ต้องบ้วนน้ำลายตลอดเวลา
  • เสลด น้ำลาย/เสมหะมีเลือดปน
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • ไอเรื้อรัง ไอ/สำลักเวลากลืน
  • เสียงแหบ
  • ผอม/น้ำหนักลดลงมาก
  • เมื่อโรคลุกลามมาก อาจมีต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้าโตจนคลำได้

ถาม : โรคมะเร็งหลอดอาหารพบได้บ่อยหรือไม่ ?

ตอบ : โรคมะเร็งหลอดอาหารเป็นโรคที่ติดใน 10 อันดับแรกของโรคมะเร็งชนิดที่พบบ่อยในชายไทย เป็นโรคมะเร็งในผู้ใหญ่ มักพบในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิง

ถาม : โรคมะเร็งหลอดอาหารมีกี่ชนิด ?

ตอบ : โรคมะเร็งหลอดอาหารมีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยมี 2 ชนิด คือชนิดสความสและชนิดอดีโนคาร์ซิโนมา ซึ่งทั้งสองชนิดมีความรุนแรงของ โรคใกล้เคียงกัน กล่าวคือ เป็นเซลล์ที่มีความรุนแรงของโรคในระดับปานกลาง มีระยะโรคและวิธีการรักษาใกล้เคียงกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถาม : โรคมะเร็งหลอดอาหารมีอาการอย่างไร ?

ตอบ : โรคมะเร็งหลอดอาหารไม่มีอาการเฉพาะ แต่จะมีอาการเหมือนการอักเสบของหลอดอาหาร และเมื่อเริ่มเป็นโรคมักไม่ค่อยมีอาการ จะมี อาการต่อเมื่อโรคลุกลามมากแล้ว อาการของโรคมะเร็งหลอดอาหารที่พบได้บ่อย ได้แก่

ถาม : รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร ?

ตอบ : แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้จากการสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจหลอดอาหารด้วยการเอกซเรย์ กลืนแป้ง และ/หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดอาหาร แต่ที่แน่นอน คือการตัด ชิ้นเนื้อจากการส่องกล้องหลอดอาหาร ตรวจทางพยาธิวิทยา

ถาม : โรคมะเร็งหลอดอาหารมีกระยะ ?

ตอบ : โรคมะเร็งหลอดอาหารมี 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งทั่วไป (บางระยะแบ่งเป็นระยะย่อยได้อีก เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้เป็นตัวบ่งชี้ ทางการรักษา) ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ระยะที่ 1 ก้อนเนื้อ/แผลมะเร็งลุกลามอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นตื้นของหลอดอาหาร

ระยะที่ 2 ก้อน/แผลมะเร็งกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ และ/หรือลุกลามเข้า ต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 2 ต่อม

ระยะที่ 3 โรคมะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อรอบ ๆ หลอดอาหาร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 3 ต่อมขึ้นไป

ระยะที่ 4 โรคแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด/โลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป อวัยวะที่พบบ่อยคือ ปอด กระดูก ตับ และผิวหนัง

แต่ในทางปฏิบัติ แพทย์โรคมะเร็งมักแบ่งโรคมะเร็งหลอดอาหาร เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ผ่าตัดได้ ระยะลุกลามรุนแรงเฉพาะที่ กล่าวคือ โรคลุกลาม มากจนผ่าตัดไม่ได้ แต่ยังไม่มีโรคแพร่กระจาย และระยะที่โรคแพร่กระจาย แล้ว

ถาม : รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารระยะที่เท่าไร ?

ตอบ : แพทย์ทราบได้ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารระยะที่เท่าไร จากการตรวจต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวแล้วในเรื่อง มะเร็งคืออะไร ? หัวข้อ รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่เท่าไร ?

ถาม : โรคมะเร็งหลอดอาหารรักษาอย่างไร ?

ตอบ : การรักษาหลักของโรคมะเร็งหลอดอาหารคือ การผ่าตัด เคมีบำบัดและรังสีรักษา ในโรคระยะที่ผ่าตัดได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดก่อน หลังจากนั้นจะประเมินจากผลการลุกลามของโรคที่พบจากการผ่าตัด (การตรวจ หลอดอาหารจากการผ่าตัดทางพยาธิวิทยา) ว่าผู้ป่วยควรได้รับรังสีรักษา และ หรือเคมีบำบัดร่วมด้วยหรือไม่

ในโรคระยะลุกลามรุนแรงเฉพาะที่ ที่ทำการผ่าตัดแต่แรกไม่ได้ การรักษา มักเป็นเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา หลังจากนั้นจึงจะประเมินว่าผ่าตัดได้หรือไม่

โรคในระยะแพร่กระจาย การรักษาเป็นการรักษาบรรเทา/ประทั้งอาการ และ/หรือประคับประคอง/พยุงอาการ

อย่างไรก็ตาม นอกจากระยะโรคแล้ว ในการเลือกวิธีรักษา แพทย์ยังต้องคำนึงถึงว่า เป็นโรคเกิดในตำแหน่งใดของหลอดอาหาร (เพราะบางตำแหน่งผ่าตัดไม่ได้ ได้แก่ ตำแหน่งหลอดอาหารในช่วงลำคอ) อายุและสุขภาพของผู้ป่วย

ถาม : โรคมะเร็งหลอดอาหารรักษาหายได้หรือไม่ ?

ตอบ :รคมะเร็งหลอดอาหาร เป็นโรคที่มีความรุนแรงโรคสูงมาก แต่ยังพอมีโอกาสรักษาหาย ถึงแม้โอกาสรักษาหายจะต่ำกว่าโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะโรค การผ่าตัดได้หรือไม่ ตำแหน่งของการที่เกิดโรค อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย

ถาม : มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหลอดอาหารหรือไม่ ?

ตอบ : ปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองให้พบโรคมะเร็งหลอดอาหารตั้งแต่ - เริ่มเป็น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ ควรรีบไปพบแพทย์เมื่อเกิด อาการผิดปรกติดังที่กล่าวแล้ว

ถาม : มีวิธีป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารหรือไม่ ?

ตอบ : ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ (ที่หลีกเลี่ยงได้) ดังที่ได้กล่าวแล้ว

คุณสามารถอ่านข้อมูลดีๆมีประโยชน์แบบนี้ได้เพิ่มเติมที่หนังสือ "ถาม-ตอบมะเร็งร้าย สารพัดชนิด" โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด เพื่อสนับสนุนผู้แต่ง


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Esophagus Cancer. American Cancer Society. (https://www.cancer.org/cancer/esophagus-cancer.html)
Esophageal Cancer: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/cancer/esophageal-cancer#1)
Esophageal Cancer: Overview, Causes, and Symptoms. Healthline. (https://www.healthline.com/health/esophageal-cancer)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)