คุณมีความเครียดหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณมีความเครียดหรือไม่

คุณมีความเครียดหรือไม่

ความเครียดเป็นสภาวะที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ต้องเผชิญ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในกิจกรรมประจำวันของคนทุกคน ความมาก-น้อยของความเครียดที่เกิดขึ้นจะถูกแบ่งเป็นระดับ คือปกติ น้อย ปานกลาง และ มาก ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการปรับตัวของแต่ละบุคคลด้วย

หากบุคคลใดสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมภาวะเครียดที่เกิดขึ้นจะอยู่ในระดับที่ปกติหรือเล็กน้อยซึ่งไม่ถือว่าเป็นปัญหา แต่หากบุคคลใดปรับตัวได้ยากหรือไม่สามารถปรับตัวได้เลยนั่นหมายความว่ามีภาวะเครียดสูง ถ้าหากมีภาวะเครียดสูงมากๆ อาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพทั้งกายและจิตใจได้ ความเครียดอาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือรู้ตัวเนื่องจากมีปัญหามากระทบ คนที่รู้ว่าตัวเองมีความเครียดมักจะปรับตัวต่อความเครียดนั้นได้ง่ายกว่าคนที่ไม่รู้ตัว การประเมินความเครียดด้วยตัวเองด้วยแบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิตจะเป็นตัวช่วยนำทางให้เรารับรู้ถึงปัญหาและสถานการณ์ของความเครียดนำไปสู่การจัดการปัญหาและปรับตัวสู่ภาวะปกติได้ ซึ่งมีวิธีการประเมินดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

“ในระยะ 2 เดือนที่ผ่านมานี้

ท่านมีอาการ/พฤติกรรม/ความรู้สึกต่อไปนี้มาก น้อย เพียงใด”

 

 

อาการ/พฤติกรรม/ความรู้สึก

ระดับอาการ

ไม่เคยเลย

บางครั้ง

บ่อยๆ

ประจำ/ทุกวัน

1. นอนไม่หลับ/หลับยากเพราะคิดมากหรือกังวลใจ

 

 

 

 

2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ

 

 

 

 

3. ทำอะไรไม่ได้เพราะประสาทตึงเครียด

 

 

 

 

4. มีความวุ่นวายใจ

 

 

 

 

5. ไม่อยากพบปะผู้คน

 

 

 

 

6. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับทั้งสองข้าง

 

 

 

 

7. รู้สึกไม่มีความสุขและเศร้าหมอง

 

 

 

 

8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต

 

 

 

 

9. รู้สึกว่าชีวิตไม่มีคุณค่า

 

 

 

 

10. กระวนกระวายตลอดเวลา

 

 

 

 

11. ไม่มีสมาธิ

 

 

 

 

12. เพลียจนไม่มีแรงทำอะไร

 

 

 

 

13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร

 

 

 

 

14. มีอาการใจสั่น หรือ ใจเต้นแรง

 

 

 

 

15. เสียง-มือ-ปาก สั่นเวลาไม่พอใจ

 

 

 

 

16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ

 

 

 

 

17. ปวดเกร็งกล้ามเนื้อท้ายทอย/หลัง/ไหล่

 

 

 

 

18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย

 

 

 

 

19. มึนงงเวียนศีรษะ

 

 

 

 

20. ความสุขทางเพศลดลง

 

 

 

 

 

การให้คะแนน ไม่เคยเลย = 0 คะแนน

บ่อยๆ = 2 คะแนน

บางครั้ง = 1 คะแนน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประจำ/ทุกวัน = 3 คะแนน

การแปลผล/วิเคราะห์ภาวะเครียด

ต่ำกว่า 17 คะแนน หมายถึง มีภาวะเครียดในระดับปกติ

18 - 25 คะแนน หมายถึง มีภาวะเครียดสูงเล็กน้อย

สูงกว่า 26 คะแนน หมายถึง มีภาวะเครียดสูง

หากประเมินแล้วระดับคะแนนสูงกว่า 26 คะแนน นั่นหมายถึงคุณกำลังเผชิญกับภาวะเครียดซึ่งต้องได้รับการผ่อนคลายและวิธีการผ่อนคลายความเครียดง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ เช่นการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกกำหนดลมหายใจเข้า-ออกการออกกำลังกายและฝึกความคิดทางบวก หากฝึกแล้วไม่สามารถจัดการกับภาวะเครียดนั้นได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาสุขภาพกายและจิตใจที่รุนแรงมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
11 Signs and Symptoms of Too Much Stress. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/symptoms-of-stress)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก

การคลายความเครียดสำหรับเด็ก : จะทำให้การผ่อนคลายความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเด็กได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม