โรคที่รักษาด้วยการออกกำลังกาย โดยไม่ต้องทานยาให้เสียเงิน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคที่รักษาด้วยการออกกำลังกาย โดยไม่ต้องทานยาให้เสียเงิน

การออกกำลังกายนั้นถือเป็นยาวิเศษอย่างแท้จริง โรคหลายๆชนิดที่ไม่ว่าจะทานยาเข้าไปมากเพียงใดก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เมื่อออกกำลังกายโรคเหล่านั้นก็หายไปเฉยๆ โดยไม่มีท่าทีว่าจะกลับมาเป็นอีกเลย แล้วโรคใดบ้างที่สามารถป้องกัน และบรรเทาด้วยการออกกำลังกาย (ต้องออกกำลังกายแบบไหนถึงจะดี)

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (ชาย)

สำหรับผู้ชายที่มีอาการนกเขาไม่ขัน การออกกำลังกายด้วยการเดิน จะช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ช่วงให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนนั้นของร่างกายมาขึ้น ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้กับผู้ชายได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคหลอดเลือดและหัวใจ

การออกกำลังนอกจากจะช่วยลดไขมันในสะสมร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคชนิดนี้ ยังช่วยให้หัวใจแข็งแรง นักวิ่งมาราธอนบางท่านมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำมาก จนบางครั้งหมอหรือพยาบาลนั้นตกใจ(น้อยกว่าห้าสิบ) เพราะหัวใจของพวกเขาสามารถสิบฉีดเลือดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าคนทั่วไป หัวใจบีบตัวเพียงหนึ่งครั้งก็สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงได้ทั้งร่างกายเลย ส่งผลให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนัก การออกกำลังกายยังช่วยลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดอีกด้วย

โรคกระดูกพรุน

หลายคนคิดว่าผู้เป็นโรคกระดูกพรุนไม่ควรออกกำลังกายที่ก็ให้เกิดแรงกระแทก ความคิดนี้ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะจริงๆแล้วการออกกำลังกายแบบที่ได้รับแรงกระแทกจะช่วยให้กระดูกของเราแข็งแรงมากขึ้น แต่ควรออกกำลังกายแบบที่ได้รับแรงกระแทกน้อยๆ เช่นการเดินเร็ว เป็นต้น การวิ่งหรือกระโดดควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจกระดูกหักได้ การยกน้ำหนักเบาๆก็ช่วยให้กระดูกเราแข็งแรงขึ้นเช่นกัน แต่ทำสำคัญควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะตัดสินใจ

โรคสมองเสื่อม

โรคนี้มักไม่เกิดกับวัยรุ่นหรือวัยทำงาน มักจะเกิดกับผู้สูงอายุเสียมากกว่า แต่การจะป้องกันโรคนี้นั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น การออกกำลังกายที่ช่วยป้องกันโรคนี้ได้คิดการเดินเร็ว 20-25นาทีต่อวัน สามถึงสี่วันต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้ โดยมีงานวิจัยแล้วว่าการเดินเร็ว หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อย75นาทีต่อสัปดาห์ช่วยยืดอายุของสมองเราออกไปได้เป็นอย่างดี

โรคภูมิแพ้

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะช่วยให้เรามีอาการแพ้ที่ลดลง บางคนหายขาดก็มีโดยเฉพาะการแพ้อากาศ จนเกิดกระแสการวิ่งเพื่อเอาชนะโรคนี้ นอกจากนี้การเล่นโยคะก็สามารถช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายช่วยลดโอกาสการเกิดโรคชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี มีงานวิจัยแล้วว่าผู้ที่เล่นโยคะมีระดับอนุมูลอิสระในร่างกายลดลงกว่าตอนที่ยังไม่เริ่มเล่น

การออกกำลังกายแม้ว่าจะส่งผลดีต่อร่างกายมากเพียงไร แต่ถ้าหากเรามีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงก็ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจก่อน เพื่อสุขภาพที่ดีของเราเอง


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The many ways exercise helps your heart. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/the-many-ways-exercise-helps-your-heart)
Being active when you have heart disease. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000094.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม