การออกกำลังกายแบบแอโรบิคและแบบแอนแอโรบิคต่างกันอย่างไร

เจาะลึกเกี่ยวกับโซนการใช้พลังงานเหล่านี้และผลกระทบต่อการออกกำลังกายของคุณ
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคและแบบแอนแอโรบิคต่างกันอย่างไร

คำศัพท์เหล่านี้ที่มักได้ยินทั่วไปไม่ว่าจะตามคลาสปั่นจักรยานในร่มหรือศูนย์ฟิตเนสอื่น ๆ ซึ่งสร้างความงงงวยให้กับใครหลายคน ไม่น่าแปลกใจเลยว่าศัพท์เฉพาะนี้มักถูกนำไปใช้แบบผิด ๆ (เช่นเวลาให้คำสั่งว่า “go anaerobe!”) 

แอโรบิคและแอนแอโรบิคต่างกันอย่างไร?

ว่าง่าย ๆ ก็คือ แอโรบิค หมายถึง ใช้ออกซิเจน ส่วน “แอนแอโรบิค” หมายถึงไม่ใช้ออกซิเจน นับเป็นข้อแตกต่างที่ค่อนข้างน่าสับสนในเมื่อคุณก็ต้องหายใจตลอดคลาสปั่นจักรยานในร่มของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อาจช่วยไขข้อข้องใจในประเด็นดังกล่าวได้ ระหว่างการออกกำลังกายในช่วงปานกลางถึงหนัก เช่น การปั่นจักรยานอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะต้องทำงานอย่างหนักถึงขั้นที่ว่าระบบหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถขนส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อได้รวดเร็วพอ นั่นหมายถึงว่าคุณกำลังออกกำลังกายในโซนแอนแอโรบิคแล้ว หากคุณออกแรงจนถึงจุดหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอกับความต้องการ แสดงว่าคุณได้ผ่านจุดที่เป็นระดับสูงสุดของการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค จะพบว่าตนเองหอบและสามารถคงระดับความหนักได้เพียงช่วงนั้น ๆ

ในทางตรงกันข้าม ระหว่างช่วงการออกกำลังกายแบบแอโรบิค คุณจะออกกำลังกายด้วยระดับความหนักที่กำลังพอดี นั่นหมายถึงว่าระบบหลอดเลือดหัวใจของคุณจะสามารถส่งออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อและคงระดับการออกกำลังกายขณะนั้นต่อไปได้เรื่อยไป โดยอย่าลืมว่าระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายของคุณจะได้พลังงานจากไขมันสะสม (หรือกรดไขมัน) และคาร์โบไฮเดรตในรูปของน้ำตาลในเลือดและไกลโคเจนสะสม ซึ่งคุณจะเข้าใจความสัมพันธ์ของทั้งสิ่งเหล่านนี้มากขึ้นต่อไป

ต่อไปนี้คือความแตกต่างระหว่างการออกกำลังกายแบบแอโรบิคและแอนแอโรบิค

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค

อัตราการเต้นของหัวใจ: 60-80 เปอร์เซนต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด

ระยะเวลาและช่วงพัก: ปกติรอบละ 15 นาที ตามด้วยการพักช่วงสั้น ๆ

ท่าออกกำลังกาย: ท่านั่งและยืนขณะปั่นอย่างเร็ว ท่านั่งและยืนแบบปีน ท่ากระโดด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แหล่งพลังงานที่ใช้: เมื่อออกกำลังออกกำลังไม่หนักมาก ร่างกายจะใช้พลังงานจากไขมันสะสมและคาร์โบไฮเดรต ในขณะที่เมื่อออกกำลังกายอย่างหนักในระดับแอโรบิค ร่างกายก็จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากไขมันสะสมที่เป็นแหล่งพลังงานในระยะยาวได้ดี

ประโยชน์ที่ได้รับ: พัฒนาสมรรถภาพของหลอดเลือดหัวใจและสร้างความอึด เพิ่มความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และเผาผลาญแคลอรี่จำนวนมาก เป็นการลดน้ำหนักได้อีกด้วย

การออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิค

อัตราการเต้นของหัวใจ: 80-92 เปอร์เซนต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด หรือก็คือออกแรงอย่างเต็มที่นั่นเอง

ระยะเวลาและช่วงพัก: ปกติรอบละ 30 นาที ตามด้วยช่วงพักฟื้น

ท่าออกกำลังกาย: ท่าปั่นอย่างรวดเร็วขึ้นเนินเขาหรือบนทางราบ ปั่นแบบจับเวลา ปั่นแข่งขัน หรือHIIT

แหล่งพลังงานที่ใช้: ใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก สามารถใช้ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ดีแต่ก็หมดเร็ว ทำให้เหนื่อยได้ค่อนข้างไว

ประโยชน์ที่ได้รับ: สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอึด ช่วยให้คุณออกแรงหนัก ๆ ได้นานขึ้น และเผาผลาญแคลอรี่ได้มากจากความหนักที่มากขึ้น

อย่าลืมว่าคลาสปั่นจักรยานในร่มประกอบไปด้วยการผสมผสานระหว่างการออกกำลังกายแบบทั้งแบบแอโรบิคและแอนแอโรบิคสลับช่วงกันไปมา

ดังนั้น มันก็เป็นไปได้ค่อนข้างยากที่คุณจะออกกำลังไปแบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว นั่นก็ถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะคุณจะได้ฝึกทั้งความไว กำลัง และความแข็งแรงในโซนการใช้พลังงานทั้งสองแบบ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jane Chertoff, What’s the Difference Between Aerobic and Anaerobic? (https://www.healthline.com/health/fitness-exercise/difference-between-aerobic-and-anaerobic) 31 August 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม