โรคหลงผิด (Delusions)

หลงผิดเป็นอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังป่วย สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคหลงผิด (Delusions)

หลงผิดเป็นอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังป่วย สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความนี้

โรคหลงผิด (Delusions) คืออาการที่ผู้ป่วยมีความเชื่อหรือความคิดอย่างแรงกล้าว่าสิ่งๆ หนึ่งนั้นเป็นจริง และไม่สามารถลบความเชื่อนั้นออกไปจากความทรงจำ แม้จะพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริงก็ตาม โดยปกติผู้ป่วยโรคหลงผิดจะยังคงใช้ชีวิตได้ตามปกติ ยกเว้นบางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลงผิด อาการหลงผิดนี้อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์มากระตุ้นให้เกิด แต่ส่วนใหญ่แล้วมักมีเหตุนำ โดยมีความเครียดและวิตกกังวลเป็นตัวเร้า ญาติหรือผู้ใกล้ชิดควรสังเกตอาการและแนะนำให้ไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บางครั้งผู้ป่วยโรคหลงผิดมักมีอาการผิดปกติทางจิต เช่น มีอาการของโรคจิตเภท (Schizophrenia) และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) อยู่ด้วย ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลงผิดจะไม่มีใครสามารถชักนำให้พวกเขาตระหนักว่าสิ่งที่ตนเองเชื่ออยู่นั้นผิดได้

โรคหลงผิดนั้นอาจมีอาการเหมือนกับโรคจิตหลายๆ ชนิด เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคจิตอารมณ์ (Schizoaffective disorder) โรคจิตหลงผิดหรือหวาดระแวง (Delusional disorder) โรคจิตแบบ Shared psychotic disorder และ Brief psychotic disorder โรคจิตจากสารเสพติด (Substance-induced psychotic disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) และโรคซึมเศร้าที่มีอาการทางจิต

โรคหลงผิดอาจพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมด้วย และอาการของโรคหลงผิดอาจยิ่งแย่ลงได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน (แม้จะพบได้ค่อนข้างน้อยก็ตาม)

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลงผิด

สาเหตุที่แท้จริงของโรคหลงผิดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่าปัจจัยดังต่อไปนี้อาจทำให้ความเสี่ยงต่อโรคเพิ่มขึ้นได้

  • พันธุกรรม จากข้อเท็จจริงพบว่าโรคหลงผิดมักพบบ่อยกว่าในคนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ หรือเป็นโรคทางจิตเภทอยู่แล้ว นักวิจัยจึงเชื่อว่าโรคหลงผิด รวมถึงโรคทางจิตประสาทอื่นๆ มีแนวโน้มจะถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้
  • ความผิดปกติในสมอง จากการศึกษาพบว่าโรคหลงผิดมักเกิดขึ้นเมื่อสมองส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดความผิดปกติ ดังนั้น ความผิดปกติของสมองโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิดและการควบคุมการรับรู้ จึงอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหลงผิดได้
  • สภาพแวดล้อมและสภาพจิตใจ จากหลักฐานต่างๆ พบว่า ความเครียดอาจเหนี่ยวนำให้เกิดโรคหลงผิดได้ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติดก็น่าจะเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่นกัน นอกจากนี้ คนที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวแปลกแยก หรือคนที่มีความผิดปกติในการมองเห็นและการได้ยินก็มีแนวโน้มจะเกิดโรคหลงผิดได้สูงกว่าคนอื่นๆ

กลุ่มอาการของโรคหลงผิด

  • อาการหลงผิดว่าถูกปองร้าย (Persecutory Type)
  • อาการหลงผิดว่าตนมีความสามารถเกินความเป็นจริง (Grandiose Type)
  • อาการหลงผิดคิดว่าตนเองป่วย (Somatic Type)
  • อาการหลงผิดว่าคู่ของตนนอกใจ (Jealous Type)
  • อาการหลงผิดว่าบุคคลอื่นหลงรักตน หรือเป็นคู่รักของตน (Erotomanic Type)

ความแตกต่างของโรคหลงผิดกับประสาทหลอน

  • อาการหลงผิด เป็นความผิดปกติในเนื้อหาของความคิด
  • อาการประสาทหลอน เป็นการรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่ผิดปกติ โดยไม่ได้มีสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่น หูแว่ว ได้ยินเสียงพูดคุยเป็นเรื่องราว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครพูด

การรักษาโรคหลงผิด

การรักษามักทำโดยการใช้ยาร่วมกับการบำบัดทางจิต (เช่น การให้คำปรึกษา) โดยทั่วไปอาการของโรคหลงผิดนั้นรักษาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตนเองมีความผิดปกติ และมีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการดีขึ้นเพียงเล็กน้อยหลังการรักษา หรืออาการหายไปเป็นบางช่วง แต่ไม่สามารถหายขาดจากโรคได้

แนวทางการรักษาโรคหลงผิดโดยทั่วไป มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้ยา

ส่วนใหญ่แพทย์มักใช้ยารักษาโรคจิตเภท (Antipsychotics) ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งโดพามีน (Dopamine) และ/หรือยับยั้งเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอาการ ยาที่แพทย์มักใช้ ได้แก่

นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจให้ยาชนิดอื่นๆ เช่น ยาระงับประสาทและยาต้านเศร้า เพื่อบรรเทาอาการวิตกกังวล หรือภาวะอารมณ์ผิดปกติในผู้ป่วยบางคนด้วย

การบำบัดทางจิต

มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถตระหนักถึงความเป็นจริงและกลับมามีความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมที่ถูกต้องได้ ซึ่งการเยียวยาต้องทำร่วมกันทั้งโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ครอบครัว และคนรอบข้างของผู้ป่วย

ที่มาของข้อมูล

Joe Bowman, Delusions (https://www.healthline.com/health/delusions), January 2014.

Joseph Goldberg, Delusions and Delusional Disorder (https://www.webmd.com/schizophrenia/guide/delusional-disorder#4), December 2018.

ผศ. พญ.ดาวชมพู นาคะวิโร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ ตำราจิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4, ข้อมูลจากรายการพบหมอรามา ช่วง Big Story โรคหลงผิด อาการทางจิตที่ปักใจเชื่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A/), พฤษภาคม 2560.


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Delusions of grandeur: Types and symptoms. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321649)
What Is the Definition of Delusion? Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/definition-of-delusion-4580458)
Delusions: Symptoms, Signs, Causes & Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/delusions/symptoms.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)