กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อันตรายจากการติดเชื้อต่างๆ ระหว่างการตั้งครรภ์

ระหว่างตั้งครรภ์มีโอกาสติดเชื้อใดได้บ้าง และมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์อย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อันตรายจากการติดเชื้อต่างๆ ระหว่างการตั้งครรภ์

ถึงแม้ร่างกายของทุกคนจะมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่างๆ แต่บางครั้งที่ร่างกายอ่อนแอก็อาจทำให้ภูมิต้านทานต่ำลง จึงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยและติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะในคนท้อง ที่มีโอกาสจะติดเชื้อง่ายกว่าคนปกติ

ผู้ที่ตั้งครรภ์หลายคนมีร่างกายอ่อนแอจากความอ่อนเพลีย ความวิตกกังวล การพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงมีโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ โดยโรคต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ที่พบได้บ่อยในขณะตั้งครรภ์ มีดังต่อไปนี้

  • โรคอีสุกอีใส : หากคิดว่าตัวเองเป็นโรคอีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์ ในกรณีที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะการเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้ออย่างอีสุกอีใส หากเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์จะมีความรุนแรงมากกว่าเกิดขึ้นกับคนทั่วไป และยังเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์พิการอีกด้วย
  • การติดเชื้อ CMV : เชื้อไวรัสนี้ เป็นไวรัสที่อยู่กลุ่มเดียวกับเริม อีสุกอีใส และงูสวัด เมื่อติดเชื้อที่อวัยวะใดก็จะทำให้อวัยวะนั้นๆ อักเสบ หากทารกในครรภ์ติดเชื้อ อาจทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง น้ำหนักตัวน้อย ศีรษะเล็ก สมองเล็ก จอตาอักเสบ หูหนวก สมองพิการ เป็นต้น
  • Group B Streptococcus (GBS) : การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในผู้ตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพแข็งแรง มักจะไม่ทำให้เกิดปัญหาใดๆ ต่อสุขภาพ แต่ถ้าภูมิต้านทานต่ำ ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ส่วนเด็กทารกที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ อาจเสี่ยงต่อการมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
  • โรคเริม : การติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศ เกิดได้จากการร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้อ การใช้มือช่วยในการมีเพศสัมพันธ์แล้วเผลอมาจับที่อวัยวะเพศ เป็นต้น ทำให้เกิดตุ่มน้ำที่ทำให้รู้สึกเจ็บหรือเป็นแผลเปื่อยบนอวัยวะเพศ หากเกิดขณะตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งบุตร และถ้าหากเกิดในช่วงใกล้คลอด หากทารกได้รับเชื้อที่ดวงตา อาจเสี่ยงต่อตาบอด และถ้าหากได้รับเชื้อเข้ากระแสเลือด อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี : เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Hepatitis B เป็นไวรัสที่ทำให้ตับติดเชื้อ คนท้องบางคนที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการ แต่สามารถเป็นพาหะนำโรคไปสู่ลูกได้ การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ Hepatitis B ถือเป็นส่วนหนึ่งของการฝากครรภ์ เด็กที่อยู่ในความเสี่ยงจะได้รับการฉีดวัคซีน Hepatitis B ตอนเกิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและโรคตับที่ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
  • การติดเชื้อพาร์โวไวรัส B19 : เชื้อไวรัสชนิดนี้จะทำให้เกิดผื่นแดงบนใบหน้า จึงมักถูกเรียกว่า Slapped Cheek Syndrome แม้ผู้หญิงมากกว่า 60% มีภูมิคุ้มกันการติดเชื้อดังกล่าว แต่ก็ยังพบการติดเชื้อได้เรื่อยๆ และผู้ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ 5% จากทั้งหมดมีภาวะแท้งบุตร หรือทารกเสียชีวิตก่อนคลอด
  • โรคหัดเยอรมัน : ไวรัสชนิดนี้ไม่มีผลต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ แต่จะมีผลต่อทารกในครรภ์ ถ้าหากมารดาได้รับเชื้อตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ในการตั้งครรภ์ อาจมีผลให้ทารกพิการ เช่น หูหนวก ตาบอด หัวใจพิการ สมองผิดปกติ เป็นต้น
  • โรค HIV : ปัจจุบันมีการป้องกันการแพร่เชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกได้มากแล้ว หากมีการติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ทานยาต้านไวรัสตามที่แพทย์สั่ง โอกาสที่ลูกจะได้รับเชื้อมีเพียง 8% เท่านั้น
  • การติดเชื้อจากสัตว์ : สัตว์ต่อไปนี้ เป็นพาหะของเชื้อไวรัส และแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตรายต่อคนท้องและทารกในครรภ์
    • แกะ : ลูกแกะและแกะสามารถเป็นตัวนำเชื้อไวรัส Chlamydia psittaci ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้
    • หมู : มีงานวิจัยที่กำลังศึกษาว่าหมูสามารถเป็นต้นตอของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอี (Hepatitis E) แม้โรคนี้จะไม่มีความรุนแรงเท่าไวรัสตับอักเสบบี แต่ถ้าหากได้รับเชื้อปริมาณมาก อาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตร รวมถึงอาจทำให้ผู้ที่ตั้งครรภ์เสียชีวิตจากภาวะตับวายได้
    • แมว : เชื้อท็อกโซพลาสโมซิสสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสอุจจาระแมว หากเกิดการติดเชื้อในเด็กทารก อาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตร หรือทำให้เด็กเสียชีวิตก่อนคลอด แต่ถ้าหากเด็กไม่เสียชีวิต ก็อาจพบความผิดปกติเกี่ยวกับทางประสาท เช่น เป็นโรคลมชัก บกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Infections in pregnancy that may affect your baby. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/pregnancy-infections/)
Infections in pregnancy and how they affect the baby. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322210)
What infections can affect pregnancy?. NICHD - Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. (https://www.nichd.nih.gov/health/topics/pregnancy/conditioninfo/infections)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม