เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทำให้เห็นภาพของร่างกายชัดเจนและช่วยแก้ไขปัญหาทางสุขภาพได้มากมาย
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที สแกน (CT scans) เป็นหัตถการเพื่อการวินิจฉัยโรคชนิดหนึ่ง โดยเป็นการใช้รังสีเอกซ์มาสร้างภาพ 2 มิติเป็นส่วนๆ ของกระดูก เนื้อเยื่อ และเส้นเลือดในร่างกาย ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะนำภาพแต่ละชิ้นมารวมกันเพื่อสร้างภาพ 3 มิติของส่วนต่างๆ ในร่างกาย กล้องที่ใช้ในการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นจะมีการหมุนไปรอบๆ ลำตัว ซึ่งแตกต่างกับการเอกซเรย์ที่ใช้กล้องอยู่กับที่ ทำให้เห็นภาพที่ละเอียดชัดเจนมากขึ้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ประโยชน์ของการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
แพทย์อาจสั่งทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อ...
- ดูอันตรายที่เกิดขึ้นภายในร่างกายและกระดูกในผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนหรืออื่นๆ
- วินิจฉัยภาวะเกี่ยวกับไขสันหลังและอันตรายที่เกิดขึ้นกับโครงกระดูก
- ตรวจหาภาวะกระดูกพรุน
- ตรวจหามะเร็งหลายชนิดและระบุการแพร่กระจายของเนื้องอก
- ระบุตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ
- มองหาอันตราย ลิ่มเลือด เลือดออก และภาวะอื่นๆ ภายในศีรษะ
- สร้างภาพของปอดเพื่อแสดงว่ามีลิ่มเลือดอุดตันในปอด มีน้ำเกิน ปอดบวม หรือเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือไม่
- ระบุสาเหตุของการเกิดอาการเจ็บหน้าอก ปวดท้อง หายใจลำบาก และอาการอื่นๆ
- วินิจฉัยโรคทางหลอดเลือดที่อันตรายที่สามารถทำให้เกิดโรคเส้นเลือดสมอง โรคไตพิการ และเสียชีวิต
นอกจากนั้น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยังใช้ช่วยในการตัดชิ้นเนื้อหรือหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ และช่วยในการวางแผนการรักษาสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ การทำบายพาสของทางเดินอาหาร และโรคมะเร็งและอื่นๆ
การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นเริ่มต้นจากการที่คุณนอนอยู่บนโต๊ะแคบๆ ที่จะเลื่อนเข้าและออกจากจุดศูนย์กลางของเครื่องเอกซเรย์แหล่งกำเนิดรังสีและจุดรับรังสีนั้นจะอยู่คนละฝั่งของวงแหวนของเครื่องเอกซเรย์ ระหว่างการเอกซเรย์วงแหวนนี้จะทำการหมุนไปรอบตัวคุณ บางครั้งก็เกิดขึ้นระหว่างที่คุณมีการเคลื่อนที่เข้าอุโมงค์แหล่งกำเนิดรังสีจะส่งรังสีเอกซ์ให้ผ่านร่างกายก่อนที่ตัวรับจะรับสัญญาณและส่งให้คอมพิวเตอร์เป็นผู้แปลงให้เป็นภาพ เพื่อให้เห็นเนื้อเยื่ออ่อน แพทย์อาจใช้สารทึบรังสีระหว่างการเอกซเรย์เพื่อช่วยให้เห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ชัดเจนขึ้น โดยอาจใช้กิน ให้ทางเส้นเลือด หรือสวนทางทวารหนักได้
ความเสี่ยงของการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
บางคนมีอาการแพ้ต่อส่วนผสมที่อยู่ในสารทึบรังสี โดยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีน้ำมูก หรือคันได้ ซึ่งอาจเกิดภาวะแพ้อย่างรุนแรงที่อาจอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้ไตพิการได้ นอกจากนั้น การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยังทำให้ร่างกายสัมผัสกับรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป ตัวอย่างเช่น ในการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอณ์ช่องท้องจะทำให้ร่างกายได้รับรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ปอดธรรมดาถึง 400 เท่า อ้างอิงจาก National Institute of Biomedical Imaging and Bioengineering
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้จากการได้รับรังสีแต่พบได้น้อย ประกอบด้วย
- เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
- ผิวหนังแดงและมีการทำลายเนื้อเยื่อ
- ผมร่วง
- ต้อกระจก
- มีความพิการแต่กำเนิดหากใช้ระหว่างตั้งครรภ์
การทำเอกซ์เรย์บ่อยๆมีผลต่อสุขภาพไหม