อาการโคม่า (Comatose/Coma)

อาการโคม่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้ป่วยโคม่าจะมีอาการอะไรบ้าง สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการโคม่า (Comatose/Coma)

อาการโคม่า จะเกิดขึ้นเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของสมองได้รับความเสียหายทั้งแบบชั่วคราวหรือแบบถาวร ส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติ ไม่สามารถตื่นได้ และไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ

สาเหตุของอาการโคม่ามีได้หลากหลาย ตั้งแต่การเจ็บป่วย การได้รับบาดเจ็บ ไปจนถึงการติดสุราเรื้อรังและการได้รับยาเกินขนาด ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่ายังมีชีวิตอยู่ เพราะการหายใจและการไหลเวียนโลหิตยังคงทำงานเหมือนเดิม แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการโคม่าถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ แพทย์และทีมบุคลากรสุขภาพจำเป็นต้องทำงานอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาชีวิตและการทำงานของสมองผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด โดยปกติแล้วผู้ป่วยจะโคม่าไม่เกิน 4 สัปดาห์และจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่อาการรุนแรงจนสามารถอยู่ในอาการโคม่าเป็นเวลานานหลายปี

อาการของผู้ป่วยโคม่า

สัญญาณของอาการโคม่า ได้แก่

  • เปลือกตาปิด
  • ไม่ตอบสนองต่อการเรียก
  • หายใจผิดปกติ
  • ไม่มีการตอบสนองของแขนขา ยกเว้น รีเฟล็กซ์ของกล้ามเนื้อ
  • ไม่มีการตอบสนองต่อความเจ็บปวด ยกเว้น รีเฟล็กซ์ของกล้ามเนื้อ
  • รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง

สาเหตุของอาการโคม่า

อาการโคม่าเป็นผลจากความเสียหายต่อสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ควบคุมความตื่นตัว สติ และการรับรู้ ได้แก่

  • สมองส่วน Diffuse Bilateral Cerebral Hemisphere Cortex ในสมองส่วนหน้า
  • สมองส่วน Reticular Activating System ในก้านสมอง

ความเสียหายในบริเวณดังอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ได้ดังนี้

  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือสมอง เช่น บาดแผลจากอุบัติเหตุจราจร หรือการต่อสู้
  • อาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับสมอง เช่น โรคเส้นเลือดสมอง (Stroke) โรคเนื้องอกในสมองหรือก้านสมอง
  • การขาดออกซิเจน หลังจากการจมน้ำหรือหัวใจวาย
  • ภาวะเลือดออก
  • มีแรงดันในสมอง
  • การติดเชื้อ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือโรคไข้สมองอักเสบ
  • โรคเกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงาน
  • การได้รับสารพิษ เช่น แอมโมเนีย ยูเรีย คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น

การวินิจฉัยอาการโคม่า

ผู้ที่อยู่ในอาการโคม่าจะไม่สามารถพูดหรือแสดงความคิดเห็นด้วยวิธีใดๆ ได้เลย แพทย์จึงจำเป็นจะต้องขอข้อมูลจากคนใกล้ตัว โดยการซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดในชีวิตของผู้ป่วย เช่น ประวัติทางการแพทย์ และ

ประวัติการใช้ยารักษาโรค หลังจากนั้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกายให้กับผู้ป่วยโดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ตรวจรีเฟล็กซ์ของกล้ามเนื้อ
  • ตรวจรูปแบบการหายใจ
  • ตรวจหารอยช้ำบนผิวหนังที่อาจเกิดจากการบาดเจ็บ
  • พิจารณาการตอบสนองของผู้ป่วยต่อสิ่งเร้า
  • สังเกตขนาดรูม่านตา และตรวจการตอบสนอง

ในบางกรณี แพทย์อาจพิจารณาให้มีการตรวจเลือดและการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่

  • การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด (Blood count)
  • การตรวจเลือดวัดการทำงานของต่อมไทรอยด์และตับ
  • การตรวจวัดระดับอิเล็กโทรไลต์
  • การวัดพิษคาร์บอนมอนอกไซด์
  • การได้รับยาเกินขนาด
  • การได้รับแอลกอฮอล์เกินขนาด
  • การติดเชื้อของระบบประสาท

ในระหว่างการวินิจฉัย หากแพทย์สงสัยว่าสมองของผู้ป่วยอาจได้รับบาดเจ็บจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการโคม่า ก็อาจใช้วิธีการตรวจดังต่อไปนี้ เพื่อค้นหาสัญญาณของเลือดออกในสมอง เนื้องอก โรคหลอดเลือดสมอง หรือการชัก ได้แก่

  • การถ่ายภาพรังสีเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) : ใช้รังสีเอกซ์เพื่อสร้างภาพสมองที่มีรายละเอียดสูง
  • การถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) : ใช้คลื่นวิทยุและแม่เหล็กเพื่อสร้างภาพสมอง
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) : ทำหน้าที่วัดระดับกระแสไฟฟ้าภายในสมอง

การรักษาอาการโคม่า

ความสำคัญอันดับแรกของการรักษาอาการโคม่า คือ การรักษาชีวิตของผู้ป่วยและการทำงานของสมองให้ได้มากที่สุด ซึ่งแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะทันทีในกรณีที่มีการติดเชื้อในสมอง หรืออาจมีการรักษาเฉพาะสาเหตุทันทีหากแพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการโคม่า เช่น กรณีได้รับยาเกินขนาด แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อลดอาการบวมในสมอง

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดูแลผู้ป่วยที่โคม่าต่อเนื่องไปจนกว่าร่างกายจะแข็งแรง โดยมุ่งเป้าไปที่การป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการเกิดแผลกดทับ และป้องกันการฝ่อลีบของกล้าเนื้อ

ผู้ป่วยบางคนหายขาดจากอาการโคม่าทั้งปัญหาทางร่างกาย จิตใจ หรือสติความนึกคิด แต่ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่านานกว่าหนึ่งปี มักจะไม่หายขาดจากภาวะโคม่าถาวร

ที่มาของข้อมูล

Jacquelyn Cafasso, What causes coma?(https://www.healthline.com/symptom/coma), November 7, 2016.


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What It Means to Be in a Coma. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-is-a-coma-2488720)
Coma | Definition and Patient Education. Healthline. (https://www.healthline.com/health/coma#1)
Coma: Causes, diagnosis, treatment, and outlook. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/173655)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)