เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ภัยร้ายในอนาคต

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ภัยร้ายในอนาคต

พ่อแม่หลายคนมักจะกังวล ห่วงลูก และกลัวว่าลูกของตัวเองจะได้รับอันตรายตลอดเวลา ยิ่งถ้าได้ลูกสาวด้วยแล้วยิ่งทั้งหวงและห่วง ความเป็นห่วงของพ่อแม่ที่มากเกินไปจนบางครั้งถึงขั้นเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน (ห้ามนั้นนี่โน้นมายุ่งเกี่ยวกับลูกของตัวเองเลย) การทำแบบนี้จะส่งผลร้ายอย่างไรบ้างกับลูกในอนาคต HonestDocs มีคำตอบ

เด็กในแต่ละวัยต้องการและมีการเรียนรู้มากน้อยแค่ไหน

  • ช่วงแรกเกิด - 6 เดือน 
    ลูกในวัยแรกเกิดต้องการความเอาใจใส่ ดูแลอย่างใกล้ชิด ความต้องการพื้นฐาน คือ อาหาร (นมแม่), ความรัก ความอบอุ่นและความรู้สึกว่าปลอดภัย (พูดคุยกับลูก เล่นกับลูก กอด และอุ้มลูก)
  • ช่วง 6 เดือน - 1 ขวบ

    ลูกในวัยนี้จะเริ่มสนใจในสิ่งรอบตัวมากขึ้น มือของเขาจะเริ่มหยิบจับสิ่งของต่างๆ พ่อแม่หลายคนมักจะกังวลไม่ยอมให้มือของลูกหยิบจับสิ่งของใดๆ มากมายนั้น แต่ความจริงแล้ว ช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่ลูกจะได้พัฒนาประสาทสัมผัส ยิ่งลูกได้ใช้มือเล็กๆ ของเขาหยิบจับวัตถุ (ผิวเรียบ ผิวขรุขระ ผิวหยาบ ทรงกลม ทรงเหลี่ยม ฯลฯ) ประสาทสัมผัสจะถูกกระตุ้นและพัฒนา ลูกจะสามารถแยกแยะวัตถุต่างๆ ได้ดีขึ้น

  • ช่วง 1 ปี - 3 ปี

    เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ ลูกจะเรียนรู้และพัฒนาสมองจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การมองเห็น เสียง กลิ่น รส และ สัมผัส นอกจากนี้เด็กในช่วงวัยนี้ยังไม่ถูกปลูกฝังเรื่องความกลัว จึงมักแสดงออก กล้าที่จะเล่น และมีความอยากรู้อยากเห็นไปกับสิ่งรอบตัวทั้งหลาย บางครั้งการห้ามปรามของพ่อแม่กลับเป็นการสร้าง "ความกลัว" ในจิตใจให้กับลูกโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเราจึงควรปล่อยให้ลูกได้เล่น ได้เรียนรู้ ลองผิดลองถูก (หากกังวลเรื่องความปลอดภัย เราควรดูแลเขาอย่างใกล้ชิด)

  • หลังจาก 3 ปี

    เด็กในวัยนี้จะยิ่งมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น แต่หากในช่วง 1-3 ปีแรก พ่อแม่ได้ปลูกฝัง "ความกลัว" ให้กับลูก ลูกจะไม่ค่อยกล้าแสดงออก ไม่กล้าที่จะเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ ด้วยตัวเอง เพราะว่าลูกรู้สึก "กลัว" กับสิ่ง ที่ตัวเองไม่คุ้นเคยนั้นเอง (เพราะถ้าช่วง 1-3 ปี พ่อแม่ห้ามตลอด จะหยิบจะทำอะไรก็ห้าม ลูกจะไม่ค่อยกล้าที่จะเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ)

การจะสอนถึงภัยอันตรายต่างๆ รอบตัว เช่น อันตรายจากของมีคม อันตรายจากของร้อน ฯลฯ เราไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเสียงดังตวาดลูก แต่เราควรรีบเข้าไปอยู่ใกล้ๆ และพูดสอนให้ลูกรู้จักกับสิ่งเหล่านั้น แน่นอนว่าเขาย่อมไม่รู้ว่าอันตรายเหล่านั้นคืออะไร แต่เราสามารถสอนลูกด้วยการบอกอย่างอ่อนโยน ให้ลูกลองสัมผัสสิ่งของที่จะทำให้เกิดอันตรายได้บ้าง (ภายใต้ความดูแลอย่างใกล้ชิด)

สิ่งที่เราปลูกฝังให้กับลูกในวัยเด็ก จะส่งผลต่อลูกเมื่อเติบโตขึ้น บางครั้งเราห่วงลูก กลัวลูกจะอันตราย กลัวนั้นกลัวนี่ เราจึงห้ามปรามลูกและส่งต่อความกลัวเหล่านั้นให้กับลูกโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ไม่สามารถประคบประหงม ลูกไปได้ตลอดชีวิต แต่การสอนให้ลูกรู้จักสิ่งต่างๆ และรู้จักปรับตัว ค่อยๆ เรียนรู้กับสิ่งรอบตัว จะทำให้เมื่อลูกมีความกล้าเมื่อโตขึ้น และสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นคนกลัวการเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งที่ไม่คุ้นเคย


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี (http://www.thaichilddevelopmen...)
JR THRPE, The Long-Term Effects Overprotective Parents Have On Us (https://www.bustle.com/p/the-l...), 10 June 2017.
Nathan H. Lents, Ph.D., Yes, Overprotective Parenting Harms Kids, (https://www.psychologytoday.co...), 28 August 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เด็กทารกแรกเกิดต้องกินนมแค่ไหนถึงจะพอ
เด็กทารกแรกเกิดต้องกินนมแค่ไหนถึงจะพอ

ดูความถี่ของการให้นม สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมไขข้อสงสัยอื่นๆ เช่น ถ้าถึงเวลาให้นมแล้วลูกหลับ ควรปลุกมากินนมไหม?

อ่านเพิ่ม