เด็กทารกแรกเกิดต้องกินนมแค่ไหนถึงจะพอ

ดูความถี่ของการให้นม สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมไขข้อสงสัยอื่นๆ เช่น ถ้าถึงเวลาให้นมแล้วลูกหลับ ควรปลุกมากินนมไหม?
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เด็กทารกแรกเกิดต้องกินนมแค่ไหนถึงจะพอ

ตามธรรมชาติแล้ว เด็กทารกแรกเกิดจะมีความต้องการในการกินนมที่คล้ายๆ กัน แต่ก็มีเด็กบางคนเหมือนกันที่เกิดมาแล้วในช่วงแรกกลับเอาแต่นอนหลับ จนบางครั้งเมื่อถึงเวลากินนมก็ยังนอนหลับอยู่ แล้วเราจะต้องปลุกลูกขึ้นมากินนมไหม แล้วลูกของเราจะกินนมมากน้อยแค่ไหน เราจะรู้ได้ยังไงว่าลูกกินนมแค่นี้แล้วจะอิ่มหรือเปล่า ฯลฯ คำถามเหล่านี้เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจจะเคยสงสัย เรามีคำแนะนำมาฝาก

เข้าใจพฤติกรรมของเด็กทารก

ก่อนอื่นต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กทารกแรกเกิดก่อน เด็กแต่ละคนเกิดออกมามีบุคลิกและนิสัยที่แตกต่างกัน แต่จะมีเหมือนกันคือ จะร้องเมื่อหิว และจะกินนมเมื่อหิวเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นสิ่งที่คุณแม่มือใหม่ทั้งหลายกังวลก็คือ ลูกของเราจะกินนมอิ่มไหม กรณีที่เลี้ยงลูกด้วยนมขวด หรือให้ลูกดูดนมจากขวดนมก็อาจจะมีตัวเลขของน้ำนมเป็นเกณฑ์ เช่น ลูกดูดนมครั้งละ 2, 3 หรือ 4 ออนซ์ เป็นต้น

กรณีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ลูกดูดนมจากอกแม่เอง) คุณแม่ก็คงจะวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก แต่ทั้งหมดคุณแม่ทั้งหลายไม่ต้องกังวลมากเกินไป

ปกติแล้วทารกต้องการนมวันละเท่าไร?

โดยเฉลี่ยเด็กทารกแรกเกิดจะต้องการนมต่อวันประมาณ 2.5 - 3.0 ออนซ์ต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ (ประมาณ 0.5 กิโลกรัม)

ดังนั้นหากลูกมีน้ำหนักตัวแรกเกิด 4 กิโลกรัม (เด็กทั่วๆ ไปจะมีน้ำหนักแรกเกิดประมาณ 3.2-3.8 กิโลกรัม แต่ขอยกตัวอย่างเป็น 4 กิโลกรัมเพื่อง่ายในการคำนวณ) ดังนั้นปริมาณน้ำนมที่ลูกต้องการในแต่ละวันจะเท่ากับ ( 4 / 0.5) x 3 = 24 ออนซ์ต่อวัน

นั้นแปลว่า จำนวนน้ำนมที่ลูกของคุณ (ที่น้ำหนัก 4 กิโล) จะต้องการกินในแต่ละวัน (สูงสุด) ประมาณ 24 ออนซ์นั้นเอง

โดยปกติลูกจะกินนมเกือบจะทุกๆ 2 ชั่วโมง (สามารถยืดหยุ่นได้เป็นทุกๆ 1.5-3 ชั่วโมง) ดังนั้นลูกของเราก็จะกินครั้งละประมาณ 2 ออนซ์ (แต่กินบ่อยประมาณ 10-12 ครั้งต่อวัน)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรให้นมอย่างไร?

การให้ลูกดูดนมแม่นั้น ลูกสามารถดูดนมแม่หมดเต้าในแต่ละข้างภายใน 5-7 นาทีแรกเลยทีเดียว แต่บ่อยครั้งลูกจะเริ่มผ่อนจังหวะการดูดนมช้าลง ซึ่งน้ำนมที่ลูกดูดทั้ง 2 เต้านั้น รวมๆ แล้วก็จะมีปริมาณที่พอเพียงสำหรับลูกได้ ดังนั้นอย่าได้กังวลว่าลูกจะดูดนมแม่ได้น้อย หรือลูกจะไม่อิ่ม

บางครอบครัวก็กังวล (คิดไปเอง) ว่าน้ำนมที่มีนั้นน้อย กลัวลูกกินนมแม่อย่างเดียวจะไม่อิ่ม เลยมีนมวัวเสริมในบางมื้อด้วย ยิ่งจะทำให้ลูกอิ่มนานขึ้น ทำให้ลูกหิวและดูดนมแม่ได้ช้าลง กลไกการผลิตน้ำนมแม่ก็จะยิ่งผลิตน้อยลง

เพราะน้ำนมแม่นั้น ยิ่งลูกดูดบ่อยแค่ไหน ระบบธรรมชาติของร่างกายคุณแม่ก็จะยิ่งผลิตน้ำนม (เพื่อให้มีน้ำนมปริมาณมากพอและมีทันลูกกิน) แต่เมื่อลูกไปกินนมวัวเพิ่ม ก็จะทำให้ระบบสร้างน้ำนมช้าลงไปอีก และเมื่อลูกดูดนมแม่ ก็จะมีน้ำนมน้อย แล้วพ่อแม่ก็กลับไปให้ลูกกินนมวัวอีก ก็ยิ่งซ้ำเติมและซ้ำวงจนเหล่านี้ไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายน้ำนมของแม่เองจะผลิตน้อยลงเรื่อยๆ

ดังนั้นหากตัดสินใจว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว ก็ไม่ต้องให้ลูกไปกินนมวัว แต่ให้ลูกดูดนมแม่บ่อยๆ แม้จะมีน้ำนมน้อย แต่ก็เป็นแค่ช่วงวันแรกๆ หลังคลอดเท่านั้น ซึ่งตามธรรมชาติแล้วลูกของเราหลังจากที่เพิ่งออกมาดูโลกนั้น ยังสามารถอดทนได้รับน้ำนมในปริมาณที่น้อยได้

ถ้าถึงเวลากินนมแต่ลูกนอนหลับ ต้องปลุกลูกมากินนมไหม?

เด็กทารกบางคนก็มีนิสัยเงียบๆ ชอบนอนมากๆ จนบางครั้งนอนแต่ละครั้งนานเกินกว่า 4 ชั่วโมง

หากลูกเอาแต่นอนหลับนานจนเลยเวลาที่จะให้นมไปมาก ก็ควรจะปลุกลูกขึ้นมาให้ลูกกินนมบ้าง ยิ่งถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยแล้ว หากลูกนอนหลับในแต่ละครั้งมากกว่า 4 ชั่วโมง ก็ควรจะปลุกลูกขึ้นมาให้เขาได้ดูดกระตุ้นน้ำนมด้วย

เพราะปริมาณน้ำนมจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูดนมของลูกเท่านั้น แต่ถ้าหากลูกหลับยาวในช่วงกลางคืนก็ไม่จำเป็นต้องปลุกลูกน้อยขึ้นมากินนม เพราะเมื่อลูกหลับเต็มที่และหลับยาวในช่วงกลางคืน ร่างกายของลูกจะหลั่งฮอร์โมนช่วยในการเจริญเติบโต ทำให้เจริญเติบโตได้ดี

อย่างไรก็ตาม โดยมากพฤติกรรมเอาแต่นอนนั้นมักจะเป็นในช่วงวันแรกๆ หลังคลอดเขาเท่านั้นและอาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน และลูกก็จะกลับมาเป็นปกติ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก (http://www.thaipediatrics.org/...)
Ari Tulla, How much breastmilk dose a newborn baby need per day? (https://betterdoctor.com/blog/...), 5 January 2015

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
คำแนะนำในการบริหารจัดการเวลาสำหรับเด็กนักเรียนที่ทำงาน
คำแนะนำในการบริหารจัดการเวลาสำหรับเด็กนักเรียนที่ทำงาน

วิธีการและคำแนะนำให้คุณสามารถใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อ่านเพิ่ม
จะฝึกลูกของคุณในการเล่นกีฬาได้อย่างไร
จะฝึกลูกของคุณในการเล่นกีฬาได้อย่างไร

เป็นเรื่องยากที่จะเป็นทั้งผู้ฝึกสอนและพ่อแม่ แต่ก็สามารถทำได้

อ่านเพิ่ม