กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

ชื่อสามัญทางยา, ชื่อทางเคมี และ ชื่อการค้าของยา คืออะไร
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

 

rx17

คุณ ‘พะ-ชอน’ รับยาครับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

……………เงียบ………………..

rx17

คุณ ‘พะ-ชอน’ รับยาช่องหมายเลข 1 ครับ

……………ยังคงเงียบ…  ไร้การเคลื่อนไหวใด ๆ………………..

rx17

เอ… ทำไมไม่มีใครมารับยาเนี่ย…

 

ได้ยินเสียงบ่นดังมาแว่ว ๆ เภสัชกรสาวสวยจึงยื่นหน้าไปดู

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

(ด้วย ‘ความปรารถนาดี’ นะจ๊ะ ไม่ใช่ ‘อยากรู้อยากเห็น’ ฮ่า…)

 

rx01

เอ่อ… ชื่อเค้า ‘พชร’ อ่านว่า ‘พะ-ชะ-ระ’ จ้ะคุณน้อง…  ไปเรียก ‘พะ-ชอน’ เค้าก็คงนึกว่าไม่ได้ชื่อเค้าน่ะจ้ะ

 

ผู้ป่วยที่มี ‘รูปงาม นามเพราะ’ นี่… บางครั้งก็ก่อปัญหาให้เภสัชกรได้เหมือนกันนะคะ ถ้าเป็น ‘รูปงาม’ ก็จะทำให้เภสัชกรที่เป็นเพศตรงข้ามกับผู้ป่วยใจสั่นรัว ๆ เวลาจ่ายยา (ฮ่า…)

ส่วนนามเพราะ… ก็อย่างเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น คือ อาจทำให้อ่านผิด ๆ เพี้ยน ๆ ไปได้ (แล้วในหลายโรงพยาบาล ก็จะมีการใช้ไมโครโฟนเป็นตัวช่วยเวลาเรียกรับยาซะด้วย แหม่… เวลาอ่านผิด ๆ เสียงดังออกลำโพงนี่ ขยายความฮาอีกหลายเท่าเลยนะคะ)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

นอกจากอ่านผิดแล้ว บางครั้งก็เป็นแบบนี้…

 

rx04

?????…   อืม…   อ่า…   เอ่อ…  ?????…

 

หลังจากกลอกตามองชื่อผู้ป่วยในใบสั่งยาอยู่นานสองนาน ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะอ่านชื่อ(ที่คาดว่าคงจะไพเราะเพราะพริ้งเป็นอันมาก)นั้นว่าอย่างไรดี

สุดท้าย… ตัดสินใจยื่นหัวเหม่ง ๆ ออกจากช่องจ่ายยาเพื่อสอบถามคุณแม่ที่อุ้มลูกอ่อนนั่งรอรับยาอยู่แถว ๆ นั้น ว่า…

 

rx14

เด็กหญิงนามสกุล…………ใช่ไหมคะ (…คุณแม่พยักหน้า…) เชิญรับยาเลยค่ะ

 

แถมทิ้งท้ายเมื่อจ่ายยาเสร็จด้วยการถามว่า "คุณแม่คะ… ชื่อน้องอ่านยังไงคะ” ไว้ประดับความรู้ซะหน่อย เผื่อมารับยาคราวหน้าจะได้อ่านถูก" (ฮ่า…)

 

 

วันหนึ่ง… ดิฉันร่วมออกหน่วยอำเภอเคลื่อนที่ (‘หน่วยอำเภอเคลื่อนที่’ เป็นการร่วมมือกันระหว่างหลายหน่วยงานในภาครัฐที่ออกไปให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งไม่สะดวกในการเดินทางมารับบริการในตัวอำเภอค่ะ ซึ่งทางโรงพยาบาลก็ไปร่วมบริการตรวจรักษาเบื้องต้นด้วยนั่นเอง) มีผู้ป่วยมารับบริการกันอย่างล้นหลามทีเดียวค่ะ หลังจากจ่ายยาไปจนเสียงแหบเสียงหายก็เหลือผู้ป่วยที่รอรับยาไม่กี่ราย ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะเป็นบุคลากรในหน่วยงานอื่น ๆ ที่มาร่วมกิจกรรมออกหน่วยและบังเอิญเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่พอดี

 

rx14

ด.ญ………. รับยาค่ะ

คุณตำรวจเดินหน้าบึ้ง ๆ มาหา

 

pt08

ผม……….ครับ

เภสัชกรสตั๊นท์ไปราวสามวินาที… ก้มลงมองชื่อในใบสั่งยาอีกที

 

rx06

อุ๊ย! ขอโทษจริง ๆ ค่า… ตาลายจนอ่าน ด.ต. เป็น ด.ญ. ได้ไงเนี่ยยยยยย…

 

…นอกจากชื่อแล้ว สรรพนามหรือยศต่าง ๆ ก็สร้างปัญหาในการอ่านให้กับเภสัชกรบางคนได้เหมือนกันค่ะ (ฮ่า…)

 

rx07

นอกจากเรา ๆ ท่าน ๆ จะมีชื่อเอาไว้เรียกขานกันแล้ว ‘ยา’ ก็มีชื่อให้เรียกเหมือนกันนะคะ

 

 

 

ชื่อยามี 3 ประเภทค่ะ ดังนี้…

 

  1. ชื่อทางเคมี (Chemical name)

เป็นชื่อที่แสดงลักษณะสูตรโครงสร้างทางเคมีของยา ชื่อนี้จะค่อนข้างยาว เรียกยาก จำได้ยาก เช่น N-Acetyl-p-aminophenol คือชื่อทางเคมีของยาพาราเซตามอล

 

  1. ชื่อสามัญทางยา (Generic name)

เป็นชื่อที่ใช้เรียกอย่างเป็นทางการแทนชื่อทางเคมี เป็นชื่อที่สั้น เข้าใจได้ง่าย และใช้เป็นสากล อย่างไรก็ตาม ยาบางตัวอาจมีชื่อสามัญทางยามากกว่า 1 ชื่อ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ที่บางแห่งนิยมเรียกด้วยชื่อ อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen)

 

  1. ชื่อการค้า (Trade name)

เป็นชื่อที่บริษัทผู้ผลิตยาตั้งเอาไว้เรียกผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์และง่ายต่อการจดจำ สะดวกต่อการส่งเสริมการขายให้ผู้บริโภคเกิดความคุ้นเคยและเรียกใช้เฉพาะชื่อการค้านั้น ๆ ตัวอย่างชื่อการค้าของพาราเซตามอล ได้แก่ ไทลินอล, ซาร่า, คาลปอล, โลเทมป์, เทมปร้า, ดาก้า, พาราแคป, พานาดอล, พาราเซต, เอมอล, ซีมอล, ซีบรามอล, พาราจีพีโอ และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

 

การจำชื่อยาได้… จะมีประโยชน์มากเมื่อต้องการระบุตัวยาที่ต้องการใช้หรือต้องการหลีกเลี่ยง ถ้านึกภาพไม่ออก ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ค่ะ…

 

pt03

ไม่เอายาเม็ดสีขาว ๆ นะ ใช้แล้วผื่นขึ้นเต็มตัวเลย …สงสัยแพ้น่ะ

rx08

เอ่อ… ยาส่วนใหญ่ก็ผลิตมาเป็นเม็ดสีขาวอ่ะค่ะ  แล้วจะรู้มั้ยเนี่ยว่าแพ้ยาตัวไหนกัน

 

เทียบกับเหตุการณ์นี้…

 

pt06

ป้าขอเป็น ‘พาราจีพีโอ’ เหมือนเดิมนะจ๊ะ ใช้แล้วไข้ลดดีจังเลย

rx14

คุณได้สิทธิ์นั้นเดี๋ยวนี้ค่ะ!

 

ผู้ป่วยส่วนมากจะจำชื่อยาเป็น ‘ชื่อการค้า’ ค่ะ เนื่องจากในฉลากจากบริษัทยาหรือแผงบรรจุยา มักระบุ ‘ชื่อการค้า’ ไว้เด่นชัด ในขณะที่ ‘ชื่อสามัญทางยา’ มักมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ในบริเวณที่บอกส่วนประกอบของยา

ซึ่งการจำ ‘ชื่อการค้า’ ได้นั้นก็นับว่าดีกว่ากรณีที่จำชื่อยาไม่ได้เลย เพราะอย่างน้อย ก็สามารถนำ ‘ชื่อการค้า’ นั้นไปตรวจสอบหา ‘ชื่อสามัญทางยา’ ต่อได้

rx07

แต่จะให้เหนือกว่า… เก่งกว่า… เยี่ยมยอดกว่า…

ต้องจำ ‘ชื่อสามัญทางยา’ ได้สิคะ

ทำไมน่ะเหรอ…

 

 

pt03

นอกจาก ‘พาราจีพีโอ’ แล้ว โรงพยาบาลมียี่ห้ออื่นอีกมั้ย ครั้งก่อนที่ได้ไป ใช้แล้วไข้ไม่ลงเลย ครึ่งชั่วโมงต่อมาใช้ ‘ซาร่า’ กับ ‘ดีคอลเจน’ ไปอีกอย่างละ 2 เม็ดถึงจะเอาอยู่

rx05

น้ำหนักตัวคุณประมาณ 50 กิโลกรัมเอง ใช้พาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมครั้งละเม็ดก็เพียงพอแล้วค่ะ แล้ว ‘พาราจีพีโอ’ กับ ‘ซาร่า’ ก็คือตัวยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมเหมือนกัน ส่วน ‘ดีคอลเจน’ ก็จะมียาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมผสมกับยาลดน้ำมูกและยาแก้คัดจมูก ได้รับยาซ้ำซ้อนจนเกินขนาดอย่างนี้ตับจะพังก่อนนะคะ ฮึ่ย…

 

จะเห็นได้ว่า หากท่านจำ ‘ชื่อสามัญทางยา’ ได้ เวลาจะใช้ยาใด ๆ ก็จะไม่เสี่ยงต่อการได้รับยาซ้ำซ้อนจนอาจเกินขนาด นอกจากนี้ก็ยังป้องกันการแพ้ยาซ้ำได้อีกด้วยนะคะ (เช่น หากเคยแพ้ยาพาราเซตามอล จะต้องหลีกเลี่ยงยาเดี่ยวหรือยาสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของพาราเซตามอลเช่นกันค่ะ)

 

rx12

เพราะฉะนั้น…

ชื่อ(สามัญทางยา)นั้น…ก็สำคัญฉะนี้

ล่ะค่ะ (ฮ่า…)


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Do generic drugs compromise on quality?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/do-generic-drugs-compromise-on-quality)
Handbook on Access to HIV/AIDS-Related Treatment : a Collection of Information, Tools and Resources for NGOs, CBOs and PLWHA Groups: Chapter 3: Putting treatment into practice: 3.2 Drugs for HIV/AIDS-related treatment: 3.2.E Drug names. World Health Organization (WHO). (https://apps.who.int/medicinedocs/en/d/Js3023e/7.2.5.html)
Generic Drug Facts. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/drugs/generic-drugs/generic-drug-facts)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป