กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 9

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 9

ในเดือนนี้ถือได้ว่าเป็นเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ พัฒนาการต่างๆ ของทารกในครรภ์ ความยาวจะประมาณ 20 นิ้ว น้ำหนักตัวประมาณ 3,000-3,400 กรัม อวัยวะทุกส่วนรวมทั้งปอดสมบูรณ์ พร้อมที่จะคลอด ส่วนนำหรือศีรษะจะเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน และทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวน้อยลง

ในเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คุณแม่สามารถรู้สึกได้ดังนี้

  • เด็กดิ้นน้อยลง
  • ตกขาวมากขึ้น และเป็นมูกข้น บางครั้งมีเลือดจางๆ หลังการตรวจภายในหรือการมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะบ่อยจากการที่ทารกเคลื่อนตัวลงอุ้งเชิงกราน
  • ท้องผูกมากขึ้น
  • ปวดแสบกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องอืด
  • ปวดศีรษะเป็นครั้งคราว ตาพร่า และ เป็นลมบ่อย
  • คัดจมูก อาจมีเลือดกำเดาไหล และหูอื้อบ้าง
  • เลือดออกตามไรฟันเวลาแปรงฟัน
  • เป็นตะคริวที่ขา
  • บวมที่ข้อเท้า และหลังเท้า อาจบวมที่หน้าและมือด้วย
  • คันผิวหนังหน้าท้อง
  • ปวดหลังเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้น
  • หลอดเลือดขอดที่ขา
  • เป็นริดสีดวงทวาร
  • หายใจดีขึ้น
  • นอนไม่หลับ หรือหลับได้ไม่นาน
  • มดลูกจะหดตัวถี่ขึ้น รุนแรงมากขึ้น บางครั้งมีอาการเจ็บด้วย
  • มีอาการเจ็บครรภ์หลอกหรือการเจ็บครรภ์เตือน (Braxon hicks contraction)
  • อุ้ยอ้ายเคลื่อนไหวตัวลำบาก และเสี่ยงต่อการหกล้ม
  • มีน้ำนมเหลืองไหลออกททางหัวนมมากขึ้น
  • เหนื่อยง่ายหรือรู้สึกมีพลังงานมากขึ้น หรือมีทั้ง 2 อย่างสลับกัน
  • หิวบ่อย กินจุ หรือเบื่ออาหาร กินได้น้อยลง
  • ตื่นเต้น วิตกกังวล กลัวมากขึ้น
  • ผ่อนคลายมากขึ้นเพราะใกล้คลอดแล้ว
  • หงุดหงิด อ่อนไหวง่าย กับคำพูดโดยเฉพาะเกี่ยวกับการคลอด
  • โกรธง่าย สับสน

สิ่งที่แพทย์ผู้ดูแลครรภ์จะให้คุณทำในช่วงเดือนนี้ได้แก่

  1. ชั่งน้ำหนักตัวและวัดความดันเลือด
  2. ตรวจน้ำตาลและสารไข่ขาวในปัสสาวะ
  3. ฟังเสียงเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์
  4. ตรวจขนาดและรูปร่างของมดลูก ท่าของทารกในครรภ์
  5. ความสูงของระดับยอดของมดลูก
  6. อาการบวมที่มือและเท้า และหลอดเลือดที่ขา
  7. ประเมินสภาพมดลูกด้วยการตรวจภายใน
  8. ความถี่ห่างและความรุนแรงในการหดเกร็งของมดลูก
  9. อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษในเดือนนี้

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษในเดือนนี้คือการเตรียมตัวสำหรับการคลอด ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การเลือกวิธีการคลอดลูก ว่าต้องการคลอดลูกแบบธรรมชาติ หรือการผ่าตัดคลอด
  • ทำความคุ้นเคยกับโรงพยาบาลและห้องคลอด อาจเดินไปดูเด็กแรกเกิด ห้องพักหลังคลอด หรือขอดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับห้องคลอด เพื่อทำความคุ้นเคยกับมันมากขึ้น
  • ทารกเกินกำหนดคลอด คือตั้งครรภ์นานเกิน 42 สัปดาห์ การตั้งครรภ์ที่นานเกินกว่าปกติคือนานเกิน 39 สัปดาห์ คุณหมอที่ดูแลครรภ์จะพิจารณาตรวจครรภ์เป็นพิเศษว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป หากครบ 42 สัปดาห์แพทย์จะกระตุ้นให้เกิดการคลอดโดยธรรมชาติ หรืออาจจะต้องผ่าตัดคลอดแล้วแต่กรณี
  • การแตกของถุงน้ำคร่ำ โดยทั่วไปมักจะมีการแตกเตือนก่อนล่วงหน้า คือจะมีการซึมออกมาเล็กน้อยก่อน โดยเฉพาะตอนลุกนั่ง หรือในขณะเคลื่อนไหว ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัว มีเพียงบางรายเท่านั้นที่แตกออกมาเยอะ

เวลาที่เหมาะสมที่ควรไปโรงพยาบาลเพื่อคลอด สามารถพิจารณาได้ดังนี้

  1. เมื่อเริ่มมีการเจ็บครรภ์จริง มดลูกจะแข็งตัวบ่อยครั้งเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ประมาณ 10 นาที จะเจ็บอย่างน้อย 1 ครั้ง และจะเจ็บมากขึ้นบ่อยขึ้นทุก 3-5 นาที เจ็บแต่ละครั้งนาน 35-45 วินาที คุณแม่บางท่านอาจมีอาการร้าวไปถึงขาหลัง นั่งหรือนอนพักแล้วอาการเจ็บไม่หายไป และมีมูกเลือดหรือน้ำใสๆ คล้ายปัสสาวะออกจากช่องคลอด เรียกว่า น้ำเดิน
  2. การเจ็บครรภ์ไม่สามารถเลือกเวลาหรือรู้ล่วงหน้าได้ ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไรอยู่ ควรรีบไปโรงพยาบาลไม่ต้องรอให้เป็นเวลาราชการ
  3. หากเจ็บครรภ์น้อยๆ ควรพักอยู่บ้าน 4-8 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่าเจ็บครรภ์จริง หรืออาจโทรขอคำปรึกษากับคุณหมอหรือพยาบาลได้

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, เมื่อคุณแม่... มาคลอด (http://rhold.anamai.moph.go.th...)
P&G, 20 weeks pregnant: Your Baby's Development (https://www.pampers.com/en-us/...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม