โรคเซลิแอค (Celiac Disease) มีผลอย่างไรต่อความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคเซลิแอค (Celiac Disease) มีผลอย่างไรต่อความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคเซลิแอค (Celiac Disease) มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้หรือไม่?

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 4 ในสหรัฐอเมริกา คุณอาจรู้สึกกังวลว่าการเป็น โรคเซลิแอค (Celiac Disease) ที่มีผลต่อทางเดินอาหาร จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนักหรือไม่ ในความเป็นจริงแล้วมีหลักฐานรับรองว่าคุณคิดผิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคเซลิแอค (Celiac Disease) และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายประการซึ่งรวมถึงภาวะการอักเสบของลำไส้  (Inflammatory bowel disease - IBD), การมีประวัติส่วนตัวหรือประวัติครอบครัวที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก หรือการมีติ่งเนื้อในทางเดินอาหาร, การสูบบุหรี่ หรือการรับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้น้อย

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในปัจจุบันยังไม่พบว่าโรคเซลิแอค (Celiac Disease) จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักแต่อย่างใด

อ้างอิงจากบทความในวารสาร World Journal of Gastroenterology ปี 2009 ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาต่าง ๆ พบว่าส่วนมากระบุว่าผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac Disease) มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเท่ากับประชากรทั่วไป มีเพียง 1 การศึกษาเท่านั้นที่แสดงว่ามีปัจจัยสูงกว่าทั่วไปเล็กน้อย นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac Disease) ไม่ได้ทำให้เกิดติ่งเนื้อในทางเดินอาหาร (ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งลำไส้ได้) เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้เป็นโรค

การศึกษาในปี 2010 ของศูนย์โรคเซลิแอค มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University’s Celiac Disease Center) ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าวที่เข้ารับการส่องกล้องทางทวารหนักในช่วง 4 ปีเปรียบเทียบกับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรค พบว่าตรวจพบติ่งเนื้ออย่างน้อย 1 ติ่งในผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac Disease) 13% (ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากกำลังรับประทานอาหารที่หลีกเลี่ยงสารกลูเตนอยู่) และพบในผู้ที่ไม่เป็นโรค 17% มีโอกาสพบติ่งเนื้อได้มากกว่าในผู้ป่วยที่มีอายุมากและมีเพศชาย ไม่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นโรคเซลิแอค (Celiac disease) ก็ตาม

การเป็นโรคเซลิแอค (Celiac Disease) อาจเป็นปัจจัยป้องกันต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

นักวิจัยบางส่วนกำลังทำการศึกษาว่าการเป็นโรคเซลิแอค (Celiac disease) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือไม่รับประทานอาหารที่หลีกเลี่ยงสารกลูเตน อาจเป็นปัจจัยป้องกันต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้

เนื่องจากมีงานวิจัยที่แสดงว่าการรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารต่ำ และมีไขมันสูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ดังนั้น การที่ลำไส้บางส่วนถูกทำลายในโรคเซลิแอค (Celiac Disease) อาจช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าว เนื่องจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมไขมันได้ หรือการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกันที่ลำไส้เล็กอาจยับยั้งการเจริญของมะเร็งในลำไส้ใหญ่ซึ่งอยู่ใต้ต่อลำไส้เล็ก

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าผลของโรคเซลิแอค (Celiac Disease) และอาหารที่ไม่มีสารกลูเตนนั้นมีผลอย่างไรต่อปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แต่ถึงแม้ว่าโรคเซลิแอคจะไม่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งก็ตาม มะเร็งชนิดนี้ก็ยังคงเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย

คุณสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งดังกล่าวได้โดยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกาย และไปตรวจคัดกรองโรค

แล้วโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งอื่น ๆ อย่างไร?

โดยรวมแล้วไม่พบว่าการเป็นโรคเซลิแอคจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดใดเป็นพิเศษ ยกเว้นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Coeliac disease. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/coeliac-disease/)
Celiac disease: Symptoms, diagnosis, diet, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/38085)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคเซลิแอค (Celiac disease) กับมะเร็ง
โรคเซลิแอค (Celiac disease) กับมะเร็ง

ผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease) มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิดเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงลดลงในมะเร็งอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม