กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคเซลิแอค (Celiac disease) กับมะเร็ง

ผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease) มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิดเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงลดลงในมะเร็งอื่น ๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคเซลิแอค (Celiac disease) กับมะเร็ง

โรคเซลิแอค (Celiac disease) เป็นโรคที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โดยคุณอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับมะเร็งบางชนิด และมีความเสี่ยงลดลงในมะเร็งอื่น ๆ

ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้อาจลดลงได้ตามระยะเวลาที่รับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตน ในขณะที่ความเสี่ยงที่ลดลงนี้จะยังคงต่ำกว่าปกติเสมอ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อการอักเสบ, การทำลายผนังลำไส้ และการขาดสารอาหารที่เกิดจากภาวะผนังลำไส้เสื่อมลงในโรคเซลิแอค (Celiac disease)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease)

งานวิจัยทางการแพทย์ได้พบว่าผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease) มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin มากกว่าประชากรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ

แม้ว่างานวิจัยจะแสดงถึงตัวเลขที่ต่างกัน แต่พบว่าผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac disease) ขั้นรุนแรง (อาจนำไปสู่การรักษาตัวในโรงพยาบาล) หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเซลิแอค (Celiac disease) ระยะไม่แสดงอาการ จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด แต่หากคุณไม่ได้มีอาการของโรคเซลิแอค (Celiac disease) กลับเป็นซ้ำ พบว่าความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะไม่ได้สูงกว่าปกติมากนัก

นอกจากนั้นยังมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วย ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

โรคเซลิแอคกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ : ผลที่คาดไม่ถึง

ผู้ป่วยโรคเซลิแอคส่วนมากเชื่อว่าการเป็นโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ เนื่องจากโรคนี้ทำให้เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร โดยในความเป็นจริงแล้วพบว่าผู้ป่วยโรคเซลิแอคมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เท่ากับปกติ และงานวิจัยบางชิ้นยังพบว่าอาจมีความเสี่ยงน้อยกว่าปกติด้วยซ้ำ

ยังไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมโรคนี้จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ แต่นักวิจัยบางคนสงสัยว่าปัญหาด้านการดูดซึมอาหารและท้องเสียที่เกิดในโรคเซลิแอคอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ เพราะสารก่อมะเร็งไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแต่ถูกขับออก

อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกมาก และคุณก็ยังต้องระวังความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ เนื่องจากเป็นมะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตได้มากเป็นลำดับที่ 4 ในประเทศสหรัฐอเมริกา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเซลิแอคกับมะเร็งเต้านม : ความเสี่ยงน้อยกว่าปกติมาก

ผู้หญิงส่วนมากกังวลเรื่องการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่ามะเร็งประเภทอื่น ๆ เนื่องจากพบว่าผู้หญิงมากกว่า 12% เป็นโรคดังกล่าว แต่หากคุณเป็นโรคเซลิแอค พบว่าความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมนั้นน้อยกว่าปกติถึงประมาณ 40%

ถึงแม้ว่ายังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าความเสี่ยงที่ลดลงนี้เกิดจากอะไร แต่คาดว่าอาจเกิดจากการที่ฮอร์โมนเพศหญิงที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม (estrogen และ progesterone) นั้นมีระดับที่ต่ำกว่าปกติ

อย่างไรก็ตามคุณก็ไม่ควรละเลยความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากว่ายังคงมีผู้หญิงที่เป็นโรคเซลิแอคที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ เพียงแต่ว่ามีจำนวนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเท่านั้น

โรคเซลิแอคกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ : ความเสี่ยงลดลงภายหลังจากการวินิจฉัย

มีงานวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นที่แสดงถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดที่เพิ่มขึ้น เช่น มะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งที่เม็ดสีของผิวหนัง และมะเร็งตับอ่อน อย่างไรก็ตามงานวิจัยเหล่านี้ส่วนมากยังไม่ได้มีการศึกษาซ้ำ และงานวิจัยอื่น ๆ ยังสรุปว่ามีเพียงความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin เท่านั้นที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคเซลิแอค

และงานวิจัยล่าสุดได้แสดงว่าโรคมะเร็งที่เม็ดสีในผิวหนัง (melanoma) นั้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเซลิแอค

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอย่างน้อย 1 ชิ้นที่พบว่าความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดน้อยกว่าปกติในผู้ป่วยโรคเซลิแอค แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร อาจเป็นผลจากการที่ประชากรกลุ่มที่ศึกษานั้นมีการสูบบุหรี่ที่น้อยกว่าประชากรทั่วไป ซึ่งก็จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับโรคเซลิแอคแต่อย่างใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

งานวิจัยหลายชิ้นยังพบว่าความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่เพิ่มขึ้นนี้จะเพิ่มขึ้นในช่วงแรกภายหลังจากการเริ่มวินิจฉัย แต่จะลดลงจนเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติในเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งอาจหมายความว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการที่สงสัยว่าเป็นจากโรคเซลิแอค จริง ๆ แล้วอาจเป็นอาการของโรคมะเร็ง

นักวิจัยยังสนับสนุนว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัดนั้นจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin แต่ไม่แน่ชัดว่าทำไมอาหารที่ไม่มีกลูเตน จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดอื่น

ทั้งนี้ มีงานวิจัยอย่างน้อย 1 ชิ้นที่พบว่ามีการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกลุ่มผู้ป่วยโรคเซลิแอคที่รับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 5 ปี และพบว่าความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ยังคงรับประทานอาหารที่มีกลูเตน หรือลดปริมาณกลูเตนเป็นเวลา 5 ปี

นี่อาจหมายความว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตน อาจช่วยหรือไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งก็ได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนอย่างเคร่งครัดนั้น ดูเหมือนจะเป็นวิธีเดียวที่สามารถป้องกันมะเร็งที่พบได้น้อยแต่รุนแรงได้


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Celiac Disease and Cancer Risk. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/celiac-disease-and-cancer-562616)
Gluten may trigger lymphoma in some celiac disease patients. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/316185)
Malignancy in adult celiac disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2669940/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป