สาเหตุของโรคลมชัก

เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สาเหตุของโรคลมชัก

กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคลมชักจะไม่สามารถหาสาเหตุได้ ถ้าหากสามารถระบุสาเหตุได้มักเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับสมองที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะต่างๆ เช่น เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น

สมองจะประกอบไปด้วยเซลล์ประสาท, กระแสไฟฟ้าและสารเคมี หรือที่เรียกว่าสารสื่อประสาท (neurotransmitters) ความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจะมีผลขัดขวางการทำงานของสมองและทำให้เกิดอาการชักได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สามารถแบ่งกลุ่มของโรคลมชักออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่:

  • ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน (idiopathic or primary epilepsy) คือโรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่อาจมีประวัติครอบครัวที่สนับสนุนว่าเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • ทราบสาเหตุ (symptomatic or secondary epilepsy) คือโรคลมชักที่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค สามารถระบุสาเหตุได้

โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic epilepsy)

ในผู้ป่วยหลายๆ รายจะไม่สามารถหาสาเหตุของโรคลมชักได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะเครื่องมือทางการแพทย์ยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะตรวจพบความเสียหายบางประเภทที่เกิดขึ้น หรือเป็นเพราะโรคลมชักมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม

นักวิจัยหลายคนสนับสนุนข้อมูลว่าการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในสมองเพียงเล็กน้อยอาจเป็นสาเหตุของโรคลมชัก งานวิจัยในปัจจุบันจึงกำลังค้นหาข้อบกพร่องในยีนบางชนิดที่อาจมีผลต่อการส่งสัญญาณไฟฟ้าภายในสมอง

มีการศึกษาเกิดขึ้นหลายการศึกษา แต่อย่างไรก็ตามยังไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างยีนใดๆ กับการเกิดโรคลมชัก

โรคลมชักแบบทราบสาเหตุ (Symptomatic epilepsy)

สาเหตุของโรคลมชักแบบทราบสาเหตุ ได้แก่:

  • โรคหลอดเลือดสมอง (ปัญหาที่เกี่ยวกับหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง)
  • เนื้องอกในสมอง
  • การบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่ศีรษะ
  • การใช้ยาในทางที่ผิดหรือการดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
  • การติดเชื้อที่สร้างความเสียหายให้กับสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis)
  • ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการคลอดซึ่งทำให้ทารกขาดออกซิเจน เช่น สายสะดือมีการบิดหรือถูกกดระหว่างการคลอด
  • บางส่วนของสมองไม่มีการพัฒนาการอย่างเหมาะสม

แม้ว่าปัญหาบางประการที่กล่าวข้างต้นนี้จะทำให้เกิดโรคลมชักในวัยเด็ก แต่อาการชักที่ทราบสาเหตุโดยทั่วไปจะพบได้มากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการชัก (Seizure triggers)

สำหรับคนจำนวนมากที่เป็นโรคลมชัก อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่มีปัจจัยกระตุ้นที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามในสถานการณ์บางอย่าง หรือการใช้สารบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการชักได้ ได้แก่:

  • ความเครียด
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ยาบางชนิด และยาเสพติด
  • ในผู้หญิง คือ ช่วงเวลาของการมีประจำเดือน
  • ไฟกระพริบ (ไม่ใช่ปัจจัยกระตุ้นที่พบได้บ่อย โดยพบได้เพียง 5% ของผู้ป่วยโรคลมชักทั้งหมด และเราเรียกว่า photosensitive epilepsy

การจดบันทึกไดอารี่เกี่ยวกับการชักถือเป็นความคิดที่ดี ซึ่งจะช่วยหาสาเหตุของปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการชักได้ ทุกครั้งที่คุณมีอาการชัก ให้จดบันทึกและจดบันทึกสิ่งที่คุณทำ เมื่อเวลาผ่านไป คุณอาจสังเกตเห็นบางสิ่งบางอย่างที่ต้องหลีกเลี่ยงเนื่องจากเป็นปัจจัยกระตุ้นให้คุณเกิดอาการชัก 

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/epilepsy#causes


42 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Epilepsy: Definition, symptoms, treatment, causes, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/8947)
Common Epilepsy Causes and Seizure Triggers. WebMD. (https://www.webmd.com/epilepsy/guide/epilepsy-causes)
Epilepsy: Causes, Symptoms, Treatment, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/epilepsy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก

คำอธิบายของอาหารคีโตเจนิกและตัวอย่างรายการอาหาร

อ่านเพิ่ม