กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

โรคต้อกระจก (Cataract)

โรคต้อกระจก คืออะไร เกิดขึ้นที่บริเวณใดของดวงตา โรคต้อกระจกเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง และมีวิธีการรักษาอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคต้อกระจก (Cataract)

ต้อกระจก หมายถึง บริเวณของเลนส์ตา (Lens) ที่หนาตัวและขุ่นมัวมากกว่าเดิม โรคต้อกระจกเกิดจากโปรตีนในดวงตาเริ่มจับตัวกันเป็นก้อน แล้วไปขัดขวางแสงไม่ให้สามารถผ่านจากเลนส์ตาไปยังจอประสาทตา (Retina) ได้ชัดเจนเช่นเดิม ซึ่งปกติแล้ว จอประสาทตาทำงานโดยการแปลงแสงที่ผ่านเลนส์ตาดังกล่าวเป็นสัญญาณประสาท และทำหน้าที่ส่งสัญญาณดังกล่าวผ่านเส้นประสาทตาไปยังสมองเพื่อแปลผลให้มองเห็นได้

โรคต้อกระจกจะค่อยๆ ลุกลามอย่างช้าๆ และในที่สุดก็จะกระทบต่อการมองเห็น โรคนี้สามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ บางกรณีอาจพบการเกิดต้อกระจกในดวงตาทั้งสองข้าง แต่มักจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประเภทของโรคต้อกระจก

โรคต้อกระจกมีหลายประเภท ซึ่งจำแนกตามตำแหน่ง และสาเหตุของต้อ เช่น

  • ต้อกระจกนิวเคลียส (Nuclear Cataract) :ก่อตัวขึ้นตรงกลางเลนส์ตาและทำให้ส่วนนิวเคลียสหรือจุดศูนย์กลางของตากลายเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล
  • ต้อกระจกรอบนิวเคลียส (Cortical Cataract) : ต้อจะเกิดเป็นรูปลิ่มและอยู่รอบๆ ตามขอบของนิวเคลียส
  • ต้อกระจกแคปซูลส่วนหลัง (Posterior Capsular Cataract) : เป็นรูปแบบของต้อที่พัฒนาไวกว่าสองแบบข้างต้น และส่งผลกระทบต่อด้านหลังของเลนส์ตา
  • ต้อกระจกแต่กำเนิด (Congenital Cataract) : เกิดขึ้นเมื่อทารกคลอดออกมาหรือภายในขวบปีแรกของการเจริญเติบโต
  • ต้อกระจกทุติยภูมิ (Secondary Cataract) หมายถึงต้อเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การใช้ยา หรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของต้อกระจก เช่น โรคต้อหิน (Glaucoma) และโรคเบาหวาน (Diabetes)
  • ต้อกระจกเหตุบาดเจ็บ (Traumatic Cataract) : เกิดขึ้นหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ตา แต่อาจใช้เวลาหลายปีจนกว่าจะมีผลกระทบชัดเจน
  • ต้อกระจกเหตุรังสี (Radiation Cataract) : สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากผู้ป่วยได้รับรังสีรักษาสำหรับโรคมะเร็ง

อาการของโรคต้อกระจก

อาการทั่วไปของต้อกระจก ได้แก่

  • มองเห็นภาพไม่ชัดเจน หรือภาพมัว
  • มีปัญหาการมองในที่มืด
  • ภาพสีจางลง
  • ดวงตาไวต่อแสงจ้า
  • มองเห็นภาพซ้อนในดวงตาข้างที่เป็นโรค
  • ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย

สาเหตุของโรคต้อกระจก

ต้อกระจกเกิดได้หลายสาเหตุ ได้แก่

  • ร่างกายสร้างสารอนุมูลอิสระ (Oxidants) มากเกินไป
  • การสูบบุหรี่
  • รังสีอัลตราไวโอเลต
  • การใช้ยาสเตียรอยด์ และการใช้ยาอื่นเป็นระยะเวลานาน
  • โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน
  • การได้รับบาดเจ็บ
  • การรับรังสีรักษา
  • อายุที่มากขึ้น
  • การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
  • โรคอ้วน
  • ความดันโลหิตสูง
  • การได้รับบาดเจ็บที่ตา
  • ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคต้อกระจก
  • มองแสงจ้าบ่อยครั้ง
  • การสัมผัสกับรังสีเอกซเรย์และการรักษาโรคมะเร็ง

การวินิจฉัยโรคต้อกระจก

แพทย์จะทำการตรวจตาอย่างละเอียด เพื่อตรวจหาต้อกระจกและประเมินการมองเห็น ซึ่งอาจรวมถึงการวัดสายตาเพื่อตรวจสอบการมองเห็นในระยะทางที่แตกต่างกัน และทำการตรวจวัดความดันลูกตา (Tonometry)

การตรวจวัดความดันลูกตานิยมที่สุดจะใช้ยางลมบรรจุอากาศกดเลนส์ตาของคุณให้แบนลง และตรวจความดันตาโดยไม่เจ็บปวด ซึ่งแพทย์จะหยอดยาเพื่อทำให้รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบเส้นประสาทตาและจอประสาทตาที่ด้านหลังของดวงตา เพื่อดูว่ามีความเสียหายใดหรือไม่

การรักษาโรคต้อกระจก

โรคต้อกระจกสามารถรบกวนกิจวัตรประจำวันและทำให้ตาบอดได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และการผ่าตัดรักษาต้อกระจกก็เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไป คิดเป็นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของการรักษาทั้งหมด โดยทั่วไปแล้ว แพทย์มักใช้การผ่าตัดรักษาต้อกระจก 2 วิธี ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การผ่าตัดสลายต้อกระจก (Phacoemulsification) : ใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์เพื่อแยกเลนส์ตาให้แตกออกจากกันและเอาชิ้นส่วนที่มีปัญหาออกไป
  • การผ่าตัดแผลใหญ่ (Extracapsular Surgery) : แพทย์จะทำการกำจัดส่วนของเลนส์ตาที่ขุ่นมัวด้วยการกรีดแผลยาวในเลนส์ตา โดยภายหลังการผ่าตัดจะใส่เลนส์ตาเทียมทดแทนไว้ในตำแหน่งดังกล่าว

การผ่าตัดต้อกระจกโดยทั่วไปนั้น มีความปลอดภัยและมีอัตราความสำเร็จสูงมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกับการผ่าตัด

หากคุณไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ หรือยังไม่พร้อมที่จะผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้คุณตัดแว่นสายตาที่เหมาะกับค่าสายตามากขึ้น รวมถึงใช้เลนส์ขยายหรือใช้แว่นกันแดดที่มีสารเคลือบป้องกันแสงสะท้อน

การป้องกันโรคต้อกระจก

เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก สามารถปฏิบัติได้ตามวิธีดังนี้

  • ปกป้องดวงตาจากรังสียูวีด้วยการสวมแว่นกันแดดเมื่อออกไปกลางแจ้ง
  • เข้ารับการตรวจตาเป็นประจำ
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รับประทานผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
  • รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
  • รักษาโรคเบาหวาน และความผิดปกติทางการแพทย์อื่นๆ ให้อยู่ในภาวะควบคุม


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผ่าตัดต้อกระจก อันตรายไหม พักฟื้นกี่วัน? เช็กเลย, (https://hdmall.co.th/c/cataract-surgery).
American academy of ophthalmology, What Are Cataracts? (https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-are-cataracts)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)