กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน

การคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมนั้นหมายความว่าคุณต้องระวังในการรับประทานร่วมกับการใช้ยาเช่นอินซูลินหากจำเป็น แพทย์ยังอาจจะให้คุณนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่คุณรับประทาน แต่ว่าคาร์โบไฮเดรตคืออะไร และมันส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร?

อาหารที่เรากินนั้นมีสารอาหารที่ร่างกายสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานและอื่นๆ ตามที่ต้องการ หนึ่งในนั้นก็คือคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมี 2 รูปแบบคือ

  • น้ำตาล เช่นน้ำตาลฟรุกโคส กลูโคสและแลคโตส
  • แป้ง ซึ่งพบในอาหารเช่นผักที่เป็นหัว (เช่นมันหรือข้าวโพด) ธัญพืช ข้าว แป้ง และซีเรียล

ร่างกายจะทำการสลายและเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่ในกลายเป็นน้ำตาลกลูโคส ก่อนที่จะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และเข้าสู่เซลล์ต่างๆ เพื่อไปเป็นพลังงานเมื่อมีอินซูลิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นมีปัญหาอยู่ที่อินซูลิน และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ตับอ่อนนั้นไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายนั้นไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ

คาร์โบไฮเดรตนั้นสามารถเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้

เนื่องจากร่างกายนั้นมีการย่อยคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส ทำให้การกินคาร์โบไฮเดรตนั้นจะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรเลิกกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหากคุณเป็นโรคเบาหวาน คาร์โบไฮเดรตนั้นดีต่อสุขภาพและจำเป็นต่อภาวะโภชนาการ

คาร์โบไฮเดรตบางชนิดนั้นให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าชนิดอื่น เช่นธัญพืชและผลไม้นั้นเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าลูกอมและน้ำอัดลมเพราะพวกมันมีเส้นใยอาหาร วิตามิน และสารอาหารอื่นๆ ร่วมด้วย

เส้นใยอาหารนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มและทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ตามปกติ ในความจริงแล้ว การกินเส้นใยอาหารจำนวนมากนั้นอาจจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลงเมื่อรับประทานร่วมกับน้ำตาลที่อยู่ในอาหารชนิดเดียวกัน ทุกคนต้องการเส้นใยอาหารและคนส่วนใหญ่นั้นก็รับประทานได้ไม่เพียงพอ ผู้เชี่ยวชาญบางคนคิดว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นควรรับประทานเส้นใยอาหารมากกว่าคนปกติเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

อาหารที่มีน้ำตาลมากเช่นน้ำอัดลมและลูกอมนั้นมักจะไม่มีเส้นใยอาหารและให้เพียงพลังงานโดยไม่มีสารอาหารอื่นๆ การกินอาหารเหล่านี้มากเกินไปจะทำให้เหลือพื้นที่สำหรับอาหารที่มีประโยชน์ลดลง และยังทำให้มีโอกาสที่น้ำหนักจะเกินหรืออ้วนมากขึ้นอีกด้วย และยังทำให้ฟันผุ

การรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้สมดุล

หลังจากที่รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตนั้น ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้น เป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวานก็คือการควบคุมสมดุลระหว่างปริมาณอินซูลินในร่างกายและการออกกำลังกายกับอาหารคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเข้าไป ซึ่งจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม

การรับประทานอาหารตามแผนที่วางไว้จะช่วยให้คุณติดตามปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานได้ คุณและทีมแพทย์และนักโภชนาการจะร่วมกับวางแผนซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดทั่วไปเกี่ยวกับการรับประทานคาร์โบไฮเดรต แผนการรับประทานอาหารนั้นจะขึ้นกับอายุ ขนาดตัว เป้าหมายน้ำหนัก ยา และโรคประจำตัวอื่นๆ และยังต้องคำนึงถึงอาหารที่คุณชอบกินอีกด้วย ดังนั้นอย่าลืมบอกทีมแพทย์ว่าคุณชอบกินอะไร

หากคุณไม่แน่ใจว่าอาหารนั้นมีคาร์โบไฮเดรตเท่าไหร่ ให้อ่านฉลากผลิตภัณฑ์หรือถามแพทย์หรือนักโภชนาการ นอกจากนั้นควรอ่านฉลากของอาหารลดน้ำหนักก่อนรับประทานเพราะบางครั้งผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจมีไขมันต่ำแต่น้ำตาลสูงได้ การควบคุมสมดุลระหว่างคาร์โบไฮเดรตที่รับประทาน การออกกำลังกาย และอินซูลินนั้นจะช่วยให้คุณมีระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมและยังมีความสุขกับการกิน


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Carb counting for diabetes: How to count and use the glycemic index. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317267)
Diabetes and Carbs | Eat Well with Diabetes. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/diabetes/managing/eat-well/diabetes-and-carbohydrates.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โยเกิร์ตชนิดไหนดีที่สุดสำหรับโรคเบาหวาน
โยเกิร์ตชนิดไหนดีที่สุดสำหรับโรคเบาหวาน

โยเกิร์ตแบบกรีก : โภชนาการและประโยชน์ในโรคเบาหวาน

อ่านเพิ่ม
ผลไม้ 5 ชนิดที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผลไม้ 5 ชนิดที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

แนะนำผลไม้ 5 ชนิดที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถรับประทานปริมาณมาก นำไปประยุกต์ทำอาหารได้หลากหลาย

อ่านเพิ่ม