การรักษาโรคมะเร็ง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
การรักษาโรคมะเร็ง

โดยทั่วไปการรักษาโรคมะเร็งจะขึ้นกับชนิดของมะเร็งที่เป็น และมักจะใช้หลายการรักษาร่วมกันเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งออกจากร่างกายได้เกลี้ยงที่สุด

การรักษาโรคมะเร็งมีหลายประเภท ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งการรักษาที่คุณได้รับนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยทางคลินิกไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาสำหรับมะเร็งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่:

  • การผ่าตัด (Surgery) - การผ่าตัดเพื่อกำจัดมะเร็งเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งหลายชนิด
  • รังสีรักษา (Radiotherapy) - ซึ่งมักคุ้นหูกับคำว่า การฉายแสง วิธีนี้จะใช้รังสีเอกซ์พลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy) - โดยการใช้ยาต้านมะเร็ง (anticancer/ cytotoxic drug) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
  • วิธีฮอร์โมนบำบัด (Hormonal therapy) - ช่วยลดระดับฮอร์โมนในร่างกายหรือปิดกั้นฮอร์โมนจากร่างกายไม่ให้เข้าถึงเซลล์มะเร็งและทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตช้าลง
  • การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy)  - ทำการทำลายเซลล์มะเร็งโดยการใช้ยาแทรกแซงความสามารถในการเติบโตของมะเร็ง
  • การรักษาด้วยสเต็มเซลล์หรือไขกระดูก (stem cell or bone marrow treatment) - ซึ่งทำให้สามารถใช้ยาต้านมะเร็งในปริมาณสูง หรือทำให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายระบบใหม่เพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็ง

นอกจากนี้ คุณยังอาจได้รับการรักษาแบบประคับประคองในการรักษาผลข้างเคียงของการรักษาหลัก การรักษาประคับประคองดังกล่าว เช่น:

ผู้ป่วยบางคนยังใช้การแพทย์ทางเลือกหรือการบำบัดเสริมอื่น ๆ เช่น การนวดหรือการบำบัดผ่อนคลายนอกเหนือจากการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์ทางเลือกนั้นไม่ได้มีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งโดยตรง แต่ผู้ป่วยบางคนอาจใช้การแพทย์ทางเลือกดังกล่าวเพื่อพัฒนาสุขภาพทางกายหรือสุขภาพจิตใจของตนเองหรือเพื่อบรรเทาอาการหรือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการแพทย์แผนปัจจุบัน โปรดแจ้งแพทย์ประจำตัวของคุณเสมอหากคุณกำลังคิดเกี่ยวกับการใช้วิธีการบำบัดอื่น ๆ หรือการแพทย์ทางเลือก แม้ว่าการบำบัดหลายอย่างจะปลอดภัยในการใช้ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน แต่บางการบำบัดอาจจะไม่เหมาะและทำให้ผลการรักษาแย่ลง

งานวิจัยทางคลินิกหลายชิ้นกำลังค้นหาวิธีการรักษาแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการรักษามาตรฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นการทดสอบยาตัวใหม่ การค้นคว้าวิธีต่าง ๆ ในการดำเนินหัตถการหรือค้นหาวิธีใหม่ในการให้การรักษา นักวิจัยต่างมุ่งมั่นที่จะหาวิธีการรักษาที่ทำงานได้ดีที่สุดและก่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

การผ่าตัด (Surgery)

การผ่าตัดเป็นหนึ่งในวิธีหลักของการรักษาโรคมะเร็ง และสามารถถูกนำมาใช้ด้วยเหตุผลหลายประการ การผ่าตัดสามารถใช้เพื่อเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้:

  • เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • เพื่อกำจัดรอยโรคมะเร็ง
  • เพื่อหาว่าขนาดมะเร็งใหญ่แค่ไหนและหาว่ามะเร็งดังกล่าวได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้วหรือไม่
  • เพื่อควบคุมอาการของโรคมะเร็ง
  • เพื่อฟื้นฟูหรือทดแทนส่วนต่างๆของร่างกาย (เช่น การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม)

การผ่าตัดสามารถรักษามะเร็งได้หลายชนิด

ซึ่งประเภทของการผ่าตัดที่คุณจะได้รับนั้นขึ้นกับมะเร็งที่ต้องได้รับการรักษา แพทย์หรือพยาบาลของคุณสามารถแจ้งข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับการผ่าตัดของคุณได้ละเอียดมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รังสีรักษา (Radiotherapy)

รังสีรักษาหมายถึงการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อรักษาโรค สามารถให้ทั้งจากทางภายนอกร่างกาย และฝังอยู่ภายในร่างกาย โดยมักคุ้นหูคนไทยในคำว่า การฉายแสง

  • รังสีรักษาจากภายนอกร่างกาย (External radiotherapy) มีจุดมุ่งหมายจะให้รังสีเอกซ์พลังงานสูงยิงไปยังพื้นที่ที่ต้องการโดยใช้เครื่องขนาดใหญ่เป็นจุดกำเนิดรังสี
  • รังสีรักษาฝังภายในร่างกาย (Internal radiotherapy) คือ การนำสารกัมมันตภาพรังสีเข้าไปอยู่ภายในร่างกาย โดยคุณสามารถได้รับรังสีรักษาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน แพทย์สามารถให้การรักษาด้วยรังสีรักษาเพื่อพยายามทำลายเนื้องอกและรักษามะเร็ง นี้เรียกว่าการรักษาขจัดโรค (Curative treatment) ซึ่งอาจใช้รังสีรักษานี้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดหรือเคมีบำบัดได้
  • หากมะเร็งนั้นไม่สามารถรักษาได้หายขาด แพทย์อาจให้รังสีรักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการที่คุณมี ซึ่งเรียกว่าการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative treatment)
  • รังสีรักษาออกฤทธิ์โดยการทำลายเซลล์มะเร็งในพื้นที่ที่ได้รับรังสี เซลล์ปกติในบริเวณนั้นอาจได้รับความเสียหายจากรังสีรักษาไปด้วยซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ตามมา เซลล์มะเร็งจะไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้หลังจากได้รับรังสี ซึ่งต่างจากเซลล์ปกติที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้

ประเภทของรังสีรักษาที่คุณจะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งที่คุณเป็นและระยะของโรคมะเร็งในแต่ละบุคคล

เคมีบำบัด (Chemotherapy)

เคมีบำบัดนั้นใช้ยาต้านมะเร็งเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ยาดังกล่าวยังมีผลต่อเซลล์ปกติที่มีสุขภาพดีทำให้เกิดผลข้างเคียงร่วมด้วย เช่น รู้สึกคลื่นไส้ หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

แตกต่างจากเซลล์มะเร็ง เซลล์ปกติเหล่านี้มักสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ซึ่งทำให้ผลข้างเคียงส่วนใหญ่จะดีขึ้นเมื่อการรักษาเสร็จสิ้น

การรักษาด้วยเคมีบำบัดสามารถถือเป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็ง หรือใช้หลังจากการรักษาอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ หรืออาจจะช่วยลดขนาดของก้อนมะเร็งได้ก่อนการผ่าตัด หรือการฉายรังสีรักษา ซึ่งบางครั้งก็ใช้พร้อมกับการรักษาด้วยรังสีควบคู่กันไป (chemoradiation)

เคมีบำบัดยังช่วยควบคุมโรคมะเร็งไม่ให้เกิดการแพร่กระจายและช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ลงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษาด้วยเคมีบำบัดที่คุณจะได้รับขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น โรคมะเร็งมีความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่ หรือมะเร็งนั้นมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นหรือไม่ บางคนจะต้องทำการตรวจพิเศษในช่วงระหว่างการรักษาเสมอเพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งที่พวกเขาเป็นอยู่นั้นตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือไม่

คุณมักจะได้รับยาเคมีบำบัดโดยการฉีดหรือถูกหยดเข้าหลอดเลือดดำ หรืออาจทานในรูปแบบยาเม็ด ในบางครั้งก็สามารถให้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การฉีดเข้าไขสันหลัง หรือฉีดเข้ากระเพาะปัสสาวะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งที่เป็นอยู่

การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy)

การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็งหรือการบำบัดทางชีวภาพ (Biological therapy) สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง หรือเพื่อเอาชนะผลข้างเคียงของการรักษาอื่น

การให้ยาเจาะจงดังกล่าวมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่:

  • โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal antibodies)
  • สารยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง (Cancer growth inhibitors)
  • สารยับยั้งการเกิดเส้นเลือดใหม่ (Angiogenesis inhibitors)
  • การให้วัคซีน

วิธีฮอร์โมนบำบัด (Hormonal therapy)

ฮอร์โมนเป็นสารเคมีธรรมชาติที่ผลิตในร่างกาย โดยทำหน้าที่เป็นสารส่งสัญญาณต่าง ๆ และมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและกิจกรรมของเซลล์หลายอย่าง ฮอร์โมนผลิตโดยอวัยวะและต่อมต่าง ๆ ซึ่งรวมกันเรียกว่าระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine)

การรักษาด้วยฮอร์โมนนั้นก็เพื่อเปลี่ยนแปลงการผลิตฮอร์โมน หรือการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย โดยมักใช้วิธีนี้ในการรักษามะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก ประเภทของการรักษาด้วยฮอร์โมนจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งที่กำลังได้รับการรักษา

มีการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดหลายประเภท โดยทั่วไปมักใช้เป็นยาเม็ดสำหรับทานหรือยาฉีดเข้าสู่ร่างกาย โดยผลข้างเคียงจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับยาแต่ละชนิด ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยนั้น ได้แก่ ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และปวดเมื่อยตามข้อต่อและกล้ามเนื้อ

การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ (Stem cells)

สเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิด หมายถึง เซลล์เม็ดเลือดในระยะแรกสุดของการพัฒนา เซลล์เม็ดเลือดในร่างกายทั้งหมดพัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิดดังกล่าว โดยผลิตจากไขกระดูกซึ่งเป็นส่วนที่คล้ายฟองน้ำเป็นตาข่ายอยู่ภายในกระดูกของคุณ

มีการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์สองชนิด:

  • การรักษาด้วยยาปริมาณสูงร่วมกับการเสริมสเต็มเซลล์ (high-dose treatment with stem cell support)
  • การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากบุคคลอื่น (allogenic stem cell transplants)

การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาคคนอื่นนั้นมีศัพท์ทางการแพทย์สำหรับกระบวนการนี้เรียกว่า allogenic transplant บางครั้งก็เรียกว่า allograft หรือมักเรียกกันในภาษาทั่วไปว่า การปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplant)

การปลูกถ่ายไขกระดูกดังกล่าวสามารถนำมาใช้เพื่อรักษามะเร็งหลายชนิด เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มัยอีโลมา (Myeloma) และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และบางครั้งก็ใช้เพื่อรักษาโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูกหรือระบบภูมิคุ้มกัน

จุดมุ่งหมายของการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากผู้บริจาค คือ การแทนที่ไขกระดูกและระบบภูมิคุ้มกันของคุณทั้งหมดให้เหมือนกับของผู้บริจาค ซึ่งจะเป็นไขกระดูกใหม่ที่มีสุขภาพดีและระบบภูมิคุ้มกันใหม่ที่สามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งที่คงเหลืออยู่ได้

การรักษาด้วยยาปริมาณสูง

การรักษาด้วยยาในปริมาณสูงร่วมกับการเสริมสเต็มเซลล์นั้นมักจะเป็นทางเลือกการรักษาต่อจากการให้เคมีบำบัด วิธีการนี้เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่ และสามารถเพิ่มอัตราการกำจัดโรคให้หายขาดของมะเร็งและมะเร็งเม็ดเลือดขาวจำนวนหนึ่ง

การรักษาด้วยยาปริมาณสูงร่วมกับการเสริมสเต็มเซลล์จะเกี่ยวข้องกับการเก็บสเต็มเซลล์ของคุณและปลูกถ่ายคืนให้กับคุณหลังจากได้รับการรักษา กระบวนการนี้จะทำให้ร่างกายคุณสามารถรับปริมาณเคมีบำบัดได้มากกว่าปกติ

การรักษานี้เกี่ยวข้องกับการปลูกถ่ายเซลล์ของตนเอง ซึ่งมีศัพท์ทางการแพทย์ว่า autologous transplant วิธีนี้ถูกใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งที่แตกต่างกันหลายชนิด รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อรักษาความผิดปกติทางการแพทย์ที่ไม่ใช่มะเร็งและพบได้ยากได้อีกด้วย

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/how-is-cancer-treated

 


34 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cancer. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/cancer/)
Stage 3 lung cancer: Symptoms, treatment, and outlook. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/316450)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่
เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่

ปรึกษาปัญหาเรื่องเหงื่อออกตอนกลางคืนกับแพทย์ของคุณ

อ่านเพิ่ม
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

คำตอบต่อคำถามทางสุขภาพที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม