คนท้องรับประทานอาหารเสริมและวิตามินบำรุงได้หรือไม่?

รวมวิตามินและแร่ธาตุที่คนท้องควรได้รับมากกว่าปกติ และปริมาณที่ควรรับประทานในแต่ละวัน
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คนท้องรับประทานอาหารเสริมและวิตามินบำรุงได้หรือไม่?

การรับประทานอาหารที่ดีและหลากหลายในขณะตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณได้รับสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน แต่ก็มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ร่างกายต้องการมากขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซึ่งสามารถรับประทานในรูปของอาหารเสริมได้ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

วิตามินและอาหารเสริมที่คนท้องควรรับประทาน มีอะไรบ้าง?

กรดโฟลิค: กรดโฟลิคเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับคนท้อง เพราะช่วยป้องกัน ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defects) และป้องกันภาวะบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) ที่อาจทำให้ทารกพิการได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานกรดโฟลิคแบบเม็ด 400 mcg ทุกวัน เมื่อคุณพยายามตั้งครรภ์ จนกระทั่งคุณมีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ นอกจากนี้ควรทานอาหารที่มีโฟเลต (กรดโฟลิคในรูปแบบธรรมชาติ) เช่น ผักใบเขียว ข้าวกล้อง ซีเรียลและสเปรดบางชนิดที่มีการเติมกรดโฟลิค เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิตามินดี : วิตามินดีเป็นสารอาหารที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสเฟตในร่างกาย ซึ่งจำเป็นสำหรับการรักษากระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ผู้ที่ตั้งครรภ์จึงต้องทานวิตามินดีให้ได้อย่างน้อย 10 ไมโครกรัมทุกวัน ซึ่งวิตามินดีพบได้ในอาหารบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ไข่ และเนื้อแดง เป็นต้น

ธาตุเหล็ก : หากร่างกายของคุณไม่ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยและอาจเป็นโรคโลหิตจาง ผู้ที่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องรับธาตุเหล็กมากขึ้น เพื่อให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงสำหรับลำเลียงออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ ธาตุเหล็กพบได้มากในเนื้อแดงไม่ติดมัน ผักใบเขียว ผลไม้แห้ง และถั่ว หากรับประทานอาหารเหล่านี้แล้ว ยังมีปริมาณธาตุเหล็กในเลือดต่ำ แพทย์อาจให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก (Ferrous Sulfate) เพิ่มเติม

แคลเซียม : แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารก เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายจะดึงแคลเซียมอย่างน้อย 2.5% จากร่างกายของแม่ไปยังทารก ถ้าหากได้รับแร่ธาตุชนิดนี้ไม่เพียงพอ ก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกเปาะในอนาคต ซึ่งคนท้องจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 - 1,200 มิลลิกรัม จึงต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงในทุกมื้ออาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาที่รักประทานได้ทั้งตัว เช่น ปลาจิ้งจ้าง ผลไม้แห้งจำพวกมะเดื่อและแอปริคอต อัลมอนด์ เต้าหู้ เป็นต้น ถ้าหากไม่สามารถรับประทานได้ แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานแคลเซียมแบบเม็ดแทน

ตามปกติ แพทย์จะเป็นผู้สั่งจ่ายวิตามินบำรุงและอาหารเสริม ซึ่งแต่ละที่อาจจะจ่ายยาให้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรเน้นไปที่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีความหลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารโดยตรงจะดีที่สุด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamins, minerals and supplements in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/vitamins-minerals-supplements-pregnant/)
Pregnancy and prenatal vitamins. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/guide/prenatal-vitamins#1)
Supplements During Pregnancy: What’s Safe and What’s Not. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/supplements-during-pregnancy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)