Clostridium difficile หรือเรียกกันย่อๆ ว่า C. diff เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ปล่อยสารพิษออกมา ก่อให้เกิดอาการท้องเสียและลำไส้ใหญ่อักเสบที่ร้ายแรงถึงขั้นชีวิต C. diff มักถูกรวมเข้าไปในกลุ่ม superbug เพราะดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายตัว ทำให้ยากต่อการรักษา
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention) จัดให้ C. diff เป็นหนึ่งในเชื้อที่ดื้อยามากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 24479 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การติดเชื้อ C. Diff เกิดขึ้นได้อย่างไร
เชื้อ C. Diff จะพบในอุจจาระ และติดต่อได้ง่ายผ่านอาหาร ผิวสัมผัส และสิ่งของที่ปนเปื้อน นอกจากนี้แบคทีเรียชนิดนี้ยังผลิตสปอร์ที่ทนต่อความร้อนและกรด ทำให้เชื้อสามารถคงอยู่ในสภาพแวดล้อมได้เป็นเวลานาน
การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ปนเปื้อน หรือการนำนิ้วมือที่ไม่ได้ล้างและเอาเข้าปากหลังไปสัมผัสพื้นผิว หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนอาจทำให้ C. diff ไม่ว่าจะเป็นตัวเชื้อ หรือสปอร์เข้าไปในร่างกายได้
ในบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงนั้น หากติดเชื้อ C. Diff ตัวแบคทีเรียจะไปสร้างโคโลนีอยู่ในลำไส้ โดยไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ
อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า การใช้ยาปฏิชีวนะในบางกรณี เช่น การรักษาโรคติดเชื้อเป็นเวลานาน จะสามารถทำลายเชื้อในภาวะปกติของลำไส้ ทำให้ C. diff เจริญเติบโตมากเกินไป ก่อให้เกิดการติดเชื้อตามมา
ยาปฏิชีวนะที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดการติดเชื้อ C. diff ได้แก่
- Clindamycin
- Ampicillin
- Amoxicillin
- Cephalosporin
- Fluoroquinolones
รีวิวเรื่อง C. diff ฉบับเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร NEJM พบว่า ยาปฏิชีวนะทุกตัวล้วนมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ C.difficile ในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับเคมีบำบัด และผู้ที่มีโรคประจำตัวร้ายแรง จะมีความเสี่ยงติดเชื้อ C. diff มากขึ้น
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 24479 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการแสดงของ C. Diff
การติดเชื้อ C. diff มักจะแสดงอาการ ดังนี้
- ท้องเสียแบบถ่ายเหลว (watery diarrhea)
- ไข้สูงกว่า 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส)
- ไม่อยากอาหาร
- คลื่นไส้
- ปวดท้อง และเป็นตะคริวที่ท้อง
ในกรณีรุนแรงอาจพบอาการต่อไปนี้
- ภาวะขาดน้ำ
- ท้องบวม
- ตับวาย
- อุจจาระที่มีเลือดและหนอง
การติดเชื้อนี้อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ โรคลำไส้โป่งพอง(toxic megacolon ทำให้ลำไส้ใหญ่กว้างขึ้น) โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณของการเกิดการติดเชื้อในภาวะพิษเหตุติดเชื้อขั้นรุนแรง
การรักษาโรคติดเชื้อ C. Diff
การรักษาโรคติดเชื้อ C. diff จำเป็นต้องเริ่มด้วยการหยุดยาปฏิชีวนะทุกตัวที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ในกรณีที่พบได้ไม่มากนักสามารถปล่อยให้จุลินทรีย์ในลำไส้รักษาตัวเอง และหยุดภาวะท้องเสียที่ตามมา
- การรักษาด้วยยา อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ 1 ใน 3 ตัวที่ยังคงใช้กับแบคทีเรียชนิดนี้ได้ ได้แก่ Metronidazole ที่สามารถใช้รักษาการติดเชื้อ C. diff ระดับต่ำถึงปานกลาง ในขณะที่ vancomycin หรือ fidaxomicin มักใช้ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้การติดเชื้อซ้ำของ C. diff จะเกิดในประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของผู้ที่รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเหล่านี้
- การปลูกอุจจาระ จะนำอุจจาระของบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงมาปลูกในลำไส้ใหญ่ของผู้ติดเชื้อ C. diff นับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับผู้ติดเชื้อ C. diff ซ้ำๆ จากรีวิว NEJM ในการศึกษาในเดือนพฤษภาคม 2015 ที่รายงานในวารสาร Journal of the American Medical Association (JAMA) ชี้ว่า การสร้างโคโลนีของ C. diff สายพันธุ์ที่ไม่สร้างพิษอาจช่วยป้องกันการเกิดการติดเชื้อซ้ำของเชื้อ C. diff สายพันธ์ที่สร้างพิษได้
อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคยังถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะง่ายและสามารถเริ่มต้นได้ด้วยตนเอง ได้แก่ การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี หมั่นล้างมืออย่างถูกวิธีบ่อยๆ ทั้งก่อน หลังรับประทานอาหาร รวมทั้งหลังการสัมผัสสิ่งของสาธารณะ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ อาหารไม่ค้างคืน และดื่มน้ำที่สะอาด
นอกจากนี้ภาชนะที่ใช้ในการรับประทานอาหาร จาน ชาม ช้อน หรือแก้วสำหรับดื่มน้ำก็ต้องสะอาดปราศจากการปนเปื้อนเชื้อด้วยเช่นกัน
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
หากคุณยังมีคำถาม ส่งคำถามให้คุณหมอตอบได้ที่นี่
เราจะไม่เปิดเผยชื่อและข้อมูลส่วนตัวของคุณ