แสบช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์และหลังใช้ยาเหน็บ

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แสบช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์และหลังใช้ยาเหน็บ

มีผู้หญิงหลายคนที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการแสบช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์หรือหลังใช้ยาเหน็บอีกด้วย อาการเหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาการดังกล่าวมักเป็นอาการที่แสดงออกของโรค “เชื้อราในช่องคลอด” โดยพบว่าผู้หญิงจำนวน 3 ใน 4 คน เคยเป็นโรคนี้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตกันเลยทีเดียว

สาเหตุของโรคเชื้อราในช่องคลอด

โรคเชื้อราในช่องคลอดเป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้หญิง และเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่ทำให้มีอาการแสบช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์เลยทีเดียว  โดยเกิดจากเชื้อราในช่องคลอดที่มีจำนวนเพิ่มมากอย่างผิดปกติ ทำให้สภาพภายในช่องคลอดเสียสมดุลจนทำให้เกิดการติดเชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เชื้อราที่ทำให้ติดเชื้อมีหลายสายพันธุ์ แต่พบมากที่สุดคือ “แคนดิดา อัลบิแคนส์” (Candida Albicans) ส่วนสายพันธุ์อื่นพบไม่บ่อยนัก โดยปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคนี้คือมีการใช้ยาปฏิชีวนะนานเกินไป ทำให้จำนวนแบคทีเรียที่ชื่อแลกโตบาซิลลัสในช่องคลอดลดลง หรืออาจเกิดจากการตั้งครรภ์รวมถึงโรคบางชนิด และยังมีบางรายที่รับประทานยาคุมกำเนิดในปริมาณสูง กับบางรายที่ล้างช่องคลอดอย่างผิดวิธี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เป็นโรคเชื้อราในช่องคลอดขึ้นมาบ่อยๆได้

อาการของโรคเชื้อราในช่องคลอด

โรคเชื้อราในช่องคลอดจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง รู้สึกแสบช่องคลอดหลังเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะแสบขัด มีอาการคัน ร่วมกับการมีตกขาวมากผิดปกติ และมีลักษณะคล้ายนมบูด เป็นน้ำใส หรือขาวข้นจับตัวเป็นก้อน ช่องคลอดมีอาการบวมแดง เกิดผื่นทั้งภายในและภายนอกของอวัยวะเพศ

ผู้ป่วยบางรายอาจพบการเป็นซ้ำในช่วงก่อนมีประจำเดือน และจะรู้สึกแสบช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์มากขึ้นอีกด้วย มักจะมีอาการรุนแรงมากหรือเรื้อรัง หากไม่รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด

  1. แพทย์สอบถามข้อมูลของผู้ป่วย ลักษณะของอาการที่เป็น ลักษณะของตกขาว ประวัติการติดเชื้อราหรือประวัติการติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  2. ตรวจภายใน ผู้หญิงบางรายอาจมีอาการผิดปกติจนสามารถตรวจพบได้จากด้านนอกของอวัยวะเพศทันที หรืออาจจะต้องตรวจภายใน เพื่อหาความผิดปกติจากภายในช่องคลอดอีกครั้ง โดยเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งหรือตกขาว ส่งให้ทางห้องตรวจปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อโรคที่เป็น
  3. การให้ยา เมื่อตรวจวิเคราะห์แล้วแพทย์มักจะให้ยาต้านเชื้อราเป็นหลัก ซึ่งมีทั้งรูปแบบการรับประทาน ครีมขี้ผึ้ง หรือยาเหน็บ โดยแพทย์จะพิจารณาความรุนแรงของโรคและให้ชนิดของยาตามชนิดของเชื้อราที่เป็น

การดูแลตนเองขณะเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด

  1. ถ้าเป็นประจำเดือนขณะอยู่ระหว่างการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด ควรใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นแทนแบบสอด
  2. ควรใช้น้ำเปล่าล้างทำความสะอาด โดยไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือสบู่ เพราะจะทำให้เพิ่มอาการระคายเคืองได้ และไม่ควรสวนล้างช่องคลอด
  3. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากกลับมาเป็นซ้ำจะต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาด
  4. กรณีที่อวัยวะเพศมีอาการบวมแดงมากๆ ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่เป็นเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
  5. ควรใช้เจลหล่อลื่นช่วยในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันอาการแสบช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์
  6. อาการแสบช่องคลอดหลังใช้ยาเหน็บ อาจเป็นเพราะวิธีสอดยาเหน็บยังไม่ถูกวิธี ดังนั้นเมื่อแกะเม็ดยาออกมาแล้วให้จุ่มยาเหน็บให้เปียกเสียก่อน เพื่อช่วยให้การสอดยาที่ช่องคลอดนั้นง่ายขึ้น ไม่แห้งจนแสบหลังใช้ยาเหน็บอีก

โรคเชื้อราในช่องคลอดเป็นโรคที่ไม่น่าอายและรักษาให้หายขาดได้ พร้อมกับปฏิบัติดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี อาการแสบช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์และหลังใช้ยาเหน็บเพราะโรคเชื้อราในช่องคลอดจะไม่เป็นอีกเลย แต่ถ้าเป็นแบบรุนแรงก็ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะจะเสี่ยงต่อการดื้อยาและมักกลับมาเป็นซ้ำอีกในเวลาไม่นาน


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vaginal burning: 10 causes and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321104)
Common Causes of Vaginal Itching and Burning. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/common-causes-of-vaginal-itching-and-burning-3572490)
Vaginal Itching, Burning, and Irritation. WebMD. (https://www.webmd.com/women/guide/vaginal-itching-burning-irritation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป