ว่านกาบหอย

รู้วิธีใช้และสรรพคุณของ ว่านกาบหอย พืชที่คนมักสับสนกับ กาบหอยแครง รวมถึงข้อควรระวังในการนำว่านกาบหอยมาใช้ประโยชน์
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ว่านกาบหอย

ว่านกาบหอย เป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยามากมาย แพทย์แผนโบราณนิยมนำมาเข้าตำรับยาหลายตำรับ สามารถใช้ภายนอกก็ได้ ต้มดื่มก็ได้ประโยชน์ ว่านกาบหอยที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับต้นกาบหอยแครง ซึ่งเป็นต้นไม้กินแมลง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dionea muscipula ซึ่งที่มาของชื่อนั้นมาจาก “Muscipula” ที่แปลว่า “กับดักหนู” ว่านกาบหอย และต้นกาบหอยแครง เป็นพรรณไม้คนละชนิดและคนละสกุล มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่คนมักสับสนว่าเป็นพรรณไม้ชนิดเดียวกัน เนื่องจากชื่อใกล้เคียงกัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tradescantia spathacea Stearn

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชื่อวงศ์ COMMELINACEAE

ชื่อพ้อง Rhoeo spathacea (Sw.) Stearn

ชื่ออังกฤษ Boat-lily, Oyster Lily, Oyster plant, White flower tradescantia

ชื่อท้องถิ่น อั่งเต็ก ฮำ่หลั่งเฮี๊ยะ (จีนแต้จิ๋ว), ปั้งหลานฮวา ปั้งฮัว (จีนกลาง)

ถิ่นกำเนิดของว่านกาบหอย

ต้นว่านกาบหอย หรือ กาบหอยแครง มีถิ่นกำเนิดในแถบเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง มีเขตการกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่างๆ รวมทั้งทวีปเอเชียด้วย ว่านกาบหอยขยายพันธุ์ได้ด้วย ไหล หรือปักชำในพื้นที่ปลูกในช่วงฤดูฝน หรือปักชำในถุงเพาะชำในโรงเรือนนอกฤดูฝน เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึงครึ่งวัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของว่านกาบหอย

ว่านกาบหอย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุ 3-5 ปี มักขึ้นเป็นกอๆ ไม่มีการแตกกิ่งก้าน ลำต้นอวบใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ใบเดี่ยวรูปหอกยาว หรือรูปแกมขอบขนานปลายแหลม ใบมีลักษณะหนาแข็งและตั้งตรง มีความกว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร หน้าใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีม่วง ออกดอกที่โคนใบ มีกาบใบ 2 ใบหุ้มอยู่ คล้ายเปลือกหอยแครง ดอกสีขาวขนาดเล็ก ดอกหนึ่งมี 3 กลีบ กลีบดอกรูปไข่ กลมรี ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะแยกออกเป็น 2-3 แฉก รูปกระสวย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สรรพคุณของว่านกาบหอย

ตามตำราของประเทศต่างๆ พบว่าว่านกาบหอยมีสรรพคุณดังต่อไปนี้

  • ตามตำรายาไทยใช้ใบสดของกาบหอยแครงหรือว่านกาบหอยเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ไอ โดยใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อย ดื่มเป็นยา และนำไปเข้าตำรับยาแก้พิษไข้หรือโลหิตเป็นพิษ
  • ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน กล่าวว่า ใบและดอกของว่านกาบหอยหรือกาบหอยแครงมีรสจืดชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ที่ตับและปอด ใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ แก้ร้อนในปอด แก้ไอเป็นเลือด แก้เลือดกำเดา แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ถ่ายเป็นเลือด แก้บิดท้องร่วง แก้ฟกช้ำ และใช้เป็นยาห้ามเลือด ใช้ดอกของว่านกาบหอยเป็นยาแก้อาการตกเลือดในลำไส้
  • แพทย์พื้นบ้านของประเทศอินเดียจะใช้ใบว่านกาบหอยผสมกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาพอกรักษาโรคผิวหนัง และโรคเท้าช้าง
  • ในประเทศไต้หวันจะใช้กาบหอยแครงทั้งต้นมาตำพอแหลก ใช้เป็นยาพอกแผล มีดบาด เพื่อห้ามเลือดและแก้อาการบวมอักเสบ

แนวทางการใช้ว่านกาบหอยในการรักษาสุขภาพ

  • กรณีใช้เข้าตำรับยาแก้พิษไข้หรือโลหิตเป็นพิษ ใช้ใบแห้ง ครั้งละ 15-35 กรัม หรือใช้ดอก 10-15 กรัม ต้มน้ำรับประทาน หรือนำมาผสมกับตัวยาอื่นๆ
  • กรณีรับประทานเพื่อแก้ไอ แก้เสมหะเป็นเลือด แก้เลือดกำเดาออก แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ถ่ายเป็นเลือดใช้ส่วนดอก 20-30 ดอก ต้มกับน้ำร้อนดื่ม
  • กรณีแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ร้อนภายในปอด ให้ใช้ใบ 10 กรัม ต้มกับฟัก ปรุงรสด้วยน้ำตาลกรวด แล้วดื่ม

ข้อควรระวังเกี่ยวกับว่านกาบหอย

เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรห้ามรับประทาน เนื่องจากยังขาดข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ทางที่ดีควรรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ใช้สมุนไพรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากขึ้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วุฒิ วุฒิธรรมเวช, ย่อเภสัชกรรมไทยและสรรพคุณสมุนไพร, 2546.
วิทยา บุญวรพัฒน์, หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย, 2554.
พร้อมจิต ศรลัมพ์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล และคณะ. สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ, 2535.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)