กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตรวจน้ำตาลและสารพิเศษ

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
การตรวจน้ำตาลและสารพิเศษ

อาหารที่มนุษย์บริโภค เมื่อถูกย่อยลงจนถึงที่สุด ก็จะเป็นสารชีวเคมีในระดับโมเลกุลขนาดเล็กที่สุดซึ่งตับจะส่งเข้าสู่กระแสเลือด โดยอาศัยหลอดเลือดเป็นทางลำเลียงไปส่งเซลล์เป้าหมายใช้ประโยชน์ต่อไป

สารชีวเคมีจากอาหารประเภทน้ำตาลและสารพิเศษเหล่านี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ถ้ามีน้อยไป เซลล์เป้าหมายไม่พอใช้ หรือขาดแคลน ก็จะเกิดสภาวะผิดปกติ
  • ถ้ามีมากเกินไปเซลล์เป้าหมายนอกจากจะมีสภาวะผิดปกติแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อหลอดเลือด ในฐานะคล้ายกับเป็น “ขยะ” กองสุมกันกีดขวางเส้นทางทำให้หลอดเลือดอุดตัน

การตรวจสารชีวเคมีจากเลือด ก็เปรียบเสมือนตรวจสินค้าในโบกี้ขบวนรถไฟ ซึ่งง่ายต่อการ “ดัก” ตรวจ ดีกว่าไปตรวจที่อื่น

FBS

วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (เมื่องดอาหารมาแล้ว 8 ชั่วโมง) หากเอ่ยอย่างภาษาชาวบ้านที่เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เรียกการตรวจ FBS นั้นเป็น “การตรวจหาเบาหวาน” หรือ ตรวจหาน้ำตาลในเลือด

คำอธิบายอย่างสรุป

  • FBS ย่อมาจากคำว่า “Fasting Blood Sugar”
    • Fasting แปลว่า ขณะกำลังอดอาหาร
    • Fasting Blood Sugar จึงแปลได้ว่า ค่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะกำลังอดอาหาร
  • ศัพท์ในทางวิชาการจะเรียกว่า “Fasting Plasma Glucose” เรียกย่อๆว่า FPG ฉะนั้น FPG ก็คือค่าเดียวกันกับ FBS
  • น้ำตาลในเลือดที่กำลังเอ่ยถึงนี้มีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะว่า กลูโคสนับเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ที่พร้อมให้ร่างกายน้ำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานเพื่อให้เซลล์ทุกเซลล์สามารถทำงานไปตามหน้าที่ เช่น เซลล์สมองก็มีความคิดความจำแจ่มใส เซลล์กล้ามเนื้อก็มีกำลังวังชา ฯลฯ

ระดับ “กลูโคส” ที่มีในเส้นเลือดนี้จึงจำเป็นต้องมีแต่เพียงให้พอดีๆ ต้องไม่มากและไม่น้อยเกินไป น้อยไป ก็ไม่พอใช้ อาจหน้ามืด หมดแรง มากไป ก็ทำให้เลือดข้น เป็นต้นเหตุอย่างหนึ่งให้หลอดเลือดอุดตัน

  • กลูโคสในเลือดนั้นได้มาจากอาหารที่คนเรากินเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออาหารซึ่งให้พลังงาน 3 ประเภท คือ
    • อาหารคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนม น้ำตาล แอลกอฮอล์ ฯลฯ ทุกอย่างจะเตรียมเป็นกลูโคสได้สูงที่สุด
    • อาหารไขมัน เช่น น้ำมันพืช กะทิ นม เนย (ทั้งแท้และเทียม) ไขมันจากสัตว์ (ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่) ผลสุดท้ายก็เปลี่ยนเป็นกลูโคสได้จำนวนหนึ่ง
    • อาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ถั่ว นม ไข่ ก็เปลี่ยนเป็นกลูโคสได้แต่ด้วยอัตราที่น้อยกว่าสองประเภทแรก

อย่างไรก็ตาม อาหารคาร์โบไฮเดรต (ข้อก) จะผลิตกลูโคสได้อย่างรวดเร็วในปริมาณที่มากจนน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญก่อให้เกิดโรคเบาหวานฉะนั้นผู้ที่ต้องการลดน้ำตาลในเลือดจึงต้อง ลด หรือ งด อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอย่างจริงจัง

  • โดยเหตุผลในข้อที่ผ่านมา ย่อมทำให้ระดับกลูโคสในเลือดจะพุ่งกระโจนสูงขึ้นทันทีภายหลังอิ่มอาหารแต่ละมื้อแต่ในร่างกายของคนที่มีสุขภาพปกติจะมีฮอร์โมน “อินซูลิน” (insulin) จากตับอ่อนเอามาช่วยควบคุมระดับกลูโคสโดยรีบนำพากลูโคสไปส่งให้เซลล์ต่างๆช่วยเผาผลาญนั่นคือช่วยรักษาปริมาณกลูโคสในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือระดับปกติเสมอ
  • ผู้ที่มีอินซูลินบกพร่อง ย่อมมีผลทำให้ระดับกลูโคสสูงอยู่ตลอดเวลาเกิดสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงที่ทำให้เกิด อัมพฤกษ์ หัวใจวาย ตาบอด ถูกตัดขา

ค่าปกติของ FBS

  1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
  2. ค่าปกติทั่วไป

ข้อบ่งชี้สภาวะ

ค่าน้ำตาลในเลือด

ปกติ

<110

ว่าที่เบาหวาน หรือ

การทนน้ำตาลบกพร่อง

(impaired glucose tolerance)

 

110 – 125

 

สงสัยว่า เป็นโรคเบาหวาน

>126

ข้อบ่งชี้สภาวะวิกฤต

ค่าน้ำตาลในเลือด (mg/dL)

ชาย

<50  หรือ >400

หญิง

<40  หรือ >400

       3. ค่าพึงประสงค์     FBS : < 110 mg/dL

ค่าผิดปกติ

  • ในทางน้อย (hypoglycemia) อาจแสดงผลว่า
    • อาจเกิดสภาวะ Insulinoma อันเป็นความผิดปกติที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ทั้งๆ ที่ตามปกตินั้นตับอ่อนจะผลิตอินซูลินได้ก็ต่อเมื่อถูกกระตุ้นจากกลูโคสเท่านั้นฉะนั้นเมื่อมีระดับอินซูลินในกระแสเลือดมากเกินควรจึงย่อมทำให้กลูโคสในกระแสเลือดต้องลดต่ำกว่าปกติที่ควรจะเป็นโดยไม่สมควร
    • อาจเกิดสภาวะ Hypothyroidism หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปโดยเหตุผลว่าฮอร์โมนไทรอยด์มีบทบาทในการควบคุมการเผาผลาญกลูโคส แต่การที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยมันจึงปล่อยฮอร์โมนออกมาน้อยเพราะในการควบคุมจึงทำให้การเผาผลาญกลูโคสเกินขอบเขต ในการนี้ย่อมมีผลทำให้กลูโคสในกระแสเลือดมีระดับต่ำอยู่ตลอดเวลา
    • อาจเกิดโรคตับอย่างใดอย่างหนึ่งเนื่องจากตับเป็นอวัยวะผู้ส่งกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดแต่เมื่อตับทำหน้าที่ไม่ครบถ้วนจึงอาจส่งกลูโคสให้กับเลือดน้อยกว่าที่ควรกระทำ
    • ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ให้ (หรือฉีด) อินซูลิน (ทีม) เกินขนาดย่อมมีผลทำให้กลูโคสในเลือดอาจต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
    • การอดอาหารในกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องโดยวิธีการอดอาหารหรือโดยลัทธิความเชื่อ เช่น โยคี ที่งดอาหารได้หลายๆ วันยังมีผลทำให้กลูโคสในเลือดมีระดับต่ำลง
  • ในทางมาก (hyperglycemia) อาจแสดงผลว่า
    • กำลังเป็นโรคเบาหวาน
    • อาจเกิดความเครียดฉับพลัน
    • อาจกำลังเกิดโรคไตวายเรื้อรัง
    • อาจเกิดสภาวะ “glucagonoma” ที่ตับอ่อนหลังฮอร์โมน glucagon ออกมาได้เองอัตโนมัติทั้งๆที่ฮอร์โมนตัวนี้ตามปกติจะหลั่งออกมาในกรณีที่กระแสเลือดมีกลูโคสอยู่ในระดับต่ำ เพื่อว่าที่จะได้ไปดึงกลูโคสที่เก็บไว้ออกมาใช้เท่านั้น แต่กลูคากอนถูกหลั่งออกมาเองอย่างไร้การควบคุมมันจึงไปดึงกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอย่างไร้การควบคุมไปด้วย ทำให้ระดับกลูโคสในเลือดจึงสูงตลอดเวลาโดยไม่มีเหตุผล
    • อาจเกิดโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (acute pancreatitis) ทำให้ ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนกูคากรไม่ได้มันจึงทะลักเข้าสู่หลอดเลือดจนเกิดสภาวะเช่นเดียวกับข้อง. (ที่ผ่านมา)
    • การกินยารักษาโรคความดันเลือดสูงชนิดขับปัสสาวะ (diuretic therapy)ก็อาจทำให้ร่างกายมีกลูโคสในเลือดเข้มข้นขึ้น

FPG

วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจหาค่าระดับน้ำตาล (กลูโคส) ในกระแสเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • FPG ย่อมาจากคำว่า “Fasting Plasma Glucose” ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “Fasting Blood Sugar” หรือ FBS ซึ่งเพิ่งกล่าวถึงในข้อที่ผ่านมา
  • สรุปแล้ว ค่า FPG ก็คือ FBS ทุกประการ เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น

BUN

วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจอย่างหยาบๆ ให้ทราบสภาวะการทำงานของไต และการกรองของกรวยไต รวมทั้งการทำหน้าที่ของตับ

คำอธิบายอย่างสรุป

  • BUN ย่อมาจากคำว่า “Blood Urea Nitrogen” ซึ่งมีความหมายว่าไนโตรเจนจากสารยูเรียที่มีในกระแสเลือด 
    • ยูเรีย (Urea) เป็นสารประกอบของของเสียอันเป็นผลิตผลสุดท้ายจากการย่อยสลายโปรตีนโดยตัดทั้งนี้ ในชั้นต้นสาร ของเสียจะอยู่ในรูปของแอมโมเนีย (NH3) และต่อจากแอมโมเนียจึงสร้างเป็นสารยูเรีย (Urea) เพื่อให้ไปสามารถขับออกมาได้กับน้ำปัสสาวะ (urine)โดยเหตุนี้น้ำปัสสาวะจึงเน้นตลลไปด้วยกลิ่นแอมโมเนีย  ฉะนั้นใครยิ่งกินเนื้อสัตว์มาก น้ำปัสสาวะก็จะยิ่งเหม็นมาก !  (ซึ่งหมายถึงว่าไปก็ต้องทำงาน หนักมากขึ้นด้วย ! )
  • แต่หากไปของใครทำหน้าที่เริ่มจะบกพร่องหรือทำงานหนักมาช้านานจนสู้ไม่ไหว (พอกินแต่เนื้อสัตว์มายังไม่ยับยั้ง) คราวนี้ก็ย่อมจะเหลือสารยูเรียและไนโตรเจน (อันเป็นส่วนประกอบของแอมโมเนีย NH3) จำนวนมากข้างค้างรออยู่ในกระแสเลือดจนตรวจค่า BUN พบได้ว่ามีระดับสูงผิดปกติคนที่มีค่า BUN สูงจะมีศัพท์เรียกเป็นการเฉพาะว่า “Azotemia”
  • ท่านผู้ใดถูกคุณหมอระบุว่ามีสภาวะ Azotemia ก็โปรดเข้าใจว่าตัวท่านกำลังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับไต แต่ปัญหาแท้จริงอาจจะไม่ใช่ที่ไปก็ได้โดยแบ่งพิจารณาดังนี้
    • หากค่า BUN สูงขึ้นเพราะเหตุใดๆ ก่อนเลือดจะถูกกรองที่ไปก็จะถูกเรียกว่า “Prernal azotemia”
    • หากค่า BUN สูงขึ้น เพราะเหตุใดๆ เมื่อเลือดถูกกรองที่ไตแล้ว แต่ “urea nitrogen” ถูกปิดกั้นมิให้ปล่อยทิ้งออกมาเป็นปัสสาวะได้ตามปกติ จึงทำให้ค่า BUN สูงค่าขึ้น สภาวะอย่างนี้จะถูกเรียกว่า “Postrenal azotemia”

ทั้งข้อ 1 และ 2 มีเหตุปัจจัยกว้างขวาง สมควรให้แพทย์ท่านชี้แจงและแก้ไขให้ต่อไป  ในที่นี้จะขอกล่าวถึง เฉพาะแต่ค่า BUN ที่สูง/ต่ำ โดยทั่วไปให้ตรงตามหัวข้อที่ขึ้นต้นไว้ตามแบบฟอร์มเท่านั้น

ค่าปกติของ BUN

  1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
  2. ค่าปกติทั่วไป

ผู้ใหญ่  =  BUN : 10  -  20 mg/dL
เด็ก  =  BUN : 5  -  18 mg/dL

ค่าปกติ

  • ในทางน้อย อาจเสดงผลว่า
    • อาจกินอาหารโปรตีนต่ำเกินไป
    • ร่างกายอาจมีปัญหาการดูดซึมสารอาหาร
    • อาจมีปัญหาเกี่ยวกับโรคตับ
  • ในทางมากอาจแสดงผลว่า
    • อาจกินอาหารโปรตีนล้นเกิน
    • อาจมีปัญหาสำคัญหรือโรคเกี่ยวกับไตจึงทำให้ขับทิ้งยูเรียไนโตรเจน (urea nitrogen)ออกไปทางปัสสาวะ ไม่ได้ หรือ ไม่หมด จนมีผลต่อเนื่องทำให้ BUN หรือยูเรียไนโตรเจนคั่งค้างอยู่ในเลือดมีระดับสูงขึ้น
    • อาจเกิดจากการกินยาบางตัว
    • อาจดื่มน้ำน้อยเกินไป
    • อาจเกิดมีการตกเลือดในช่องทางเดินอาหาร
    • อาจออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป
    • ตับอ่อนอาจหลั่งเอนไซม์ย่อยอาหารบกพร่อง ทำให้เหลือของเสียรวมทั้งสารยูเรียไนโตรเจนมากกว่าปกติ

ข้อความสังเกต

  • BUN มิใช่ค่าปัจจัยชี้ขาดที่แสดงความสมบูรณ์ของไต แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งซึ่งจำเป็นที่จะใช้ช่วยบ่งชี้ร่วมกับผลการตรวจเลือดตัวอื่นเช่นในข้อต่อไปอีก 2 ข้อ
  • Creatinine จะให้ผลการตรวจไปที่ค่อนข้างแม่นยำมากกว่า
  • Creatinine clearance คือความสามารถในการกรองของเสียของไปที่ยังเหลืออยู่ซึ่งจะแสดงความสมบูรณ์ของไตชัดเจนยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ในแบบฟอร์มตรวจเลือดไม่ได้ระบุการตรวจ Creatinine clearance ไว้เนื่องจากมิใช่เป็นหัวข้อการเจาะเลือดตรวจตามปกติแต่ถึงอย่างไรหากท่านผู้อ่านจะได้กรุณาจำชื่อไว้ก็อาจเป็นประโยชน์ต่อการไปตรวจเลือดเองหรืออาจใช้สื่อสารทำความเข้าใจกับแพทย์ที่ทำการตรวจรักษากับท่านต่อไปก็ได้

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง (พลเอกประสาร เปรมะสกุล) ได้โดยการซื้อหนังสือ (คู่มือแปลผลการตรวจเลือด)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blood Sugar | Blood Glucose | Diabetes. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/bloodsugar.html)
Blood Sugar Levels: How Glucose Levels Affect Your Body. WebMD. (https://www.webmd.com/diabetes/how-sugar-affects-diabetes)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป