การตรวจชิ้นเนื้อรก (CVS) เป็นการทดสอบที่ดำเนินการขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อตรวจสอบหาความผิดปรกติทางพันธุกรรมของทารก อย่างเช่นตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรม เป็นต้น
กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการนำตัวอย่างเซลล์ชิ้นเล็ก ๆ จากรก (อวัยวะที่มีหน้าที่ส่งถ่ายเลือดของแม่สู่ทารก) มาทดสอบ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
จะดำเนินการ CVS เมื่อไร?
CVS ไม่ได้เป็นกระบวนการที่ต้องเกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกคน โดยการตรวจชิ้นเนื้อรกมักจะแนะนำให้กับสตรีตั้งครรภ์ที่ลูกมีความเสี่ยงเกิดภาวะผิดปรกติทางพันธุกรรมสูงเท่านั้น
อย่างเช่นกรณี:
- ได้ทำการตรวจคัดกรองก่อนคลอดแล้วพบร่องรอยของปัญหาอย่างดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม พาทัวซินโดรม หรือโรคโลหิตจางรูปเคียว เป็นต้น
- ตรวจสอบประวัติครอบครัวแล้วพบคนที่เคยมีภาวะทางพันธุกรรมมาก่อน อย่างเช่นโรคซิสติกไฟโปซิสหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง และตรวจพบความผิดปรกติขณะทำการอัลตราซาวด์ดูสภาพทารก
- การเข้าดำเนินการ CVS เป็นความสมัครใจของคุณเอง แปลว่าหากคุณไม่ต้องการก็สามารถข้ามการดำเนินการตรวจประเภทนี้ได้เลย
- โดยก่อนการตัดสินใจ แพทย์ผดุงครรภ์หรือผู้ดูแลคุณจะชี้แจงหลักการทดสอบที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงผลประโยชน์และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มี
CVS ดำเนินการอย่างไร?
CVS มักจะทำกับสตรีที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 11 และ 14 สัปดาห์ ซึ่งอาจดำเนินการหลังจากที่กล่าวไปได้ตามความเหมาะสม
ระหว่างการทดสอบ จะมีการนำตัวอย่างเซลล์รกชิ้นเล็กออกมา ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้:
- การตัดชิ้นเนื้อรกผ่านทางหน้าท้อง: แพทย์จะแทงเข็มผ่านหน้าท้องของคุณเข้าไป (เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด)
- การตัดชิ้นเนื้อรกผ่านทางปากมดลูก: แพทย์จะใช้ท่อหรือปากคีบขนาดเล็ก ๆ (อุปกรณ์เหล็กเรียบ ๆ ที่หน้าตาคล้ายกับคีม) สอดเข้าไปยังปากมดลูก (ส่วนคอของมดลูก)
- การทดสอบจะดำเนินการประมาณ 10 นาที ส่วนขั้นตอนการขอคำปรึกษาอาจกินเวลาประมาณ 30 นาที
- กระบวนการ CVS มักก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวมากกว่าความเจ็บปวด บางกรณีคุณอาจรู้สึกปวดคล้ายมีประจำเดือนหลังกระบวนการประมาณหนึ่งถึงสองวัน
การรับผลการตรวจ
ผลตรวจครั้งแรกจะได้ภายในสามวัน ซึ่งจะบอกได้ถึงการมีอยู่ของสภาวะทางโครโมโซมของทารกในครรภ์อย่างโรคดาวน์ซินโดรม โรคเอ็ดเวิร์ดหรือพาทัวซินโดรม
หากมีการตรวจพบสภาวะที่หายาก อาจต้องใช้เวลาเป็นสองหรือสามอาทิตย์ก่อนที่จะได้ผลกลับมา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หากผลออกมาแสดงให้เห็นว่าทารกของคุณมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมรุนแรง จะมีการชี้แจงแนวจัดการให้แก่คุณ เนื่องจากสภาวะทางพันธุกรรมส่วนมากไม่สามารถรักษาให้หายได้ คุณต้องพิจารณาทางออกที่ดีที่สุดของตัวคุณและลูกให้ดี
โดยคุณสามารถเลือกอุ้มท้องต่อไปพร้อมกับการหาข้อมูลรับมือกับสภาวะทางพันธุกรรมของลูกคุณ หรือทำแท้งก็ได้
ความเสี่ยงของ CVS มีอะไรบ้าง?
จะมีการชี้แจงความเสี่ยงและผลข้างเคียงต่าง ๆ หลังการทำ CVS แก่คุณ
โดยความเสี่ยงสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการทำ CVS คือการแท้งบุตร ซึ่งเป็นการสูญเสียการตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 23 สัปดาห์แรก โดยคาดประมาณว่าการแท้งบุตร 1-2% เกิดมาจากการทำ CVS เอง
ความเสี่ยงอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่นการติดเชื้อหรือการเข้ารับการตรวจซ้ำเนื่องจากผลที่เก็บมาตอนแรกไม่สามารถให้ผลการทดสอบที่แม่นยำได้
ความเสี่ยงหลังกระบวนการ CVS จะยิ่งสูงขึ้นหากทำกับผู้ที่ตั้งครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ ทำให้เป็นเหตุผลที่การทดสอบประเภทนี้ถูกแนะนำให้ปฏิบัติกับผู้ที่ตั้งครรภ์นานกว่านั้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่?
มีการตรวจอีกประเภทที่เรียกว่าการเจาะตรวจน้ำคร่ำ ซึ่งเป็นกระบวนการเจาะดูดเอาน้ำคร่ำ (ของเหลวที่ห้อมล้อมทารกในครรภ์) ออกมาทดสอบ
โดยวิธีการดังกล่าวมักกระทำในช่วงที่อายุครรภ์อยู่ที่ระหว่าง 15 และ 18 สัปดาห์ ซึ่งสามารถทำกับครรภ์ที่อายุมากกว่านั้นได้ตามความจำเป็น
การทดสอบนี้มีความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรน้อยกว่า แต่จะใช้เวลานานกว่าจะได้ผลการทดสอบ ทำให้คุณมีเวลาตัดสินใจทางเลือกหลังจากนั้นน้อยกว่า
หากคุณถูกแนะนำให้เข้าตรวจหาความผิดปรกติของทารก ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจะเข้ามาพูดคุยกับคุณเพื่อชี้แจงทางเลือกต่าง ๆ กับคุณเพื่อช่วยในการตัดสินใจของคุณ
ทำไมกระบวนการตรวจประเภทนี้จึงถูกแนะนำ?
การตรวจชิ้นเนื้อรก (CVS) มักถูกแนะนำให้แก่สตรีมีครรภ์ที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่ลูกออกมาจะมีความผิดปรกติทางพันธุกรรม ซึ่งกระบวนการนี้สามารถใช้วินิจฉัยโรคหรือภาวะต่าง ๆ ได้ในระยะเริ่มต้นได้
CVS ไม่ได้เป็นกระบวนการบังคับสตรีมีครรภ์ทุกคน โดยจะแนะนำให้เฉพาะผู้ที่มีผลการตรวจหรือมาจากครอบครัวที่มีประวัติสุ่มเสี่ยงเท่านั้น
ซึ่งแม้คุณจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเข้ารับการตรวจนี้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณเอง
CVS สามารถตรวจจับสภาวะใดได้บ้าง?
CVS ถูกใช้เพื่อวินิจฉัยหาภาวะความผิดปรกติทางพันธุกรรมได้หลายประเภท อาทิเช่น:
- ดาวน์ซินโดรม: ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลต่อความบกพร่องทางระดับการเรียนรู้และบุคลิกภาพการแสดงออก
- เอ็ดเวิร์ด ซินโดรม และพาทัวซินโดรม: ภาวะที่ส่งผลให้แท้งบุตร การเสียชีวิตในครรภ์ หรือ (กรณีที่ทารกรอดออกมา) มีปัญหาทางร่างกายรุนแรงและมีความบกพร่องทางการเรียนรู้
- โรคซิสติกไฟโบรซิส: ภาวะที่ทำให้ปอดและระบบย่อยอาหารเกิดอุดตันด้วยเมือกเหนียว
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง: ภาวะที่ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงที่กล้ามเนื้อและทำให้พิการ
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว: ที่ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดแดงพัฒนาขึ้นอย่างผิดปรกติ ทำให้ไม่สามารถส่งผ่านออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้คนทั่วไป
- ทัลลาสซิเมีย: ภาวะที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จำกัดการเจริญเติบโต และสร้างความเสียหายแก่อวัยวะ
- โรคฟีเนียคูโตโนเรีย: โรคที่ร่างกายจะไม่สามารถสลายสารที่เรียกว่าฟีเนียลานินได้ ซึ่งสารดังกล่าวสามารถขึ้นไปสะสมที่สมองได้จนกลายเป็นภาวะที่อันตรายมาก
- CVS ไม่สามารถตรวจหาภาวะหลอดประสาทไม่ปิดได้ ซึ่งเป็นภาวะที่เป็นตั้งแต่กำเนิดที่ส่งผลต่อสมองและไขสันหลัง แต่สามารถตรวจหาภาวะดังกล่าวได้จากการอัลตราซาวด์
การตัดสินใจเข้ารับการตรวจ CVS
หากคุณถูกแนะนำให้เข้ารับการตรวจ ให้สอบถามข้อมูลจากทางแพทย์หรือหมอผดุงครรภ์ของคุณ ถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่จะได้รับ
เหตุผลที่เข้ารับการตรวจ CVS
การทดสอบมักสามารถบอกได้ว่าลูกของคุณจะเกิดมาพร้อมสภาวะความผิดปรกติใดบ้าง
หากพบปัญหาใดจะทำให้คุณมีโอกาสเตรียมตัวรับมือหรือตัดสินใจหาแนวทางจัดการกับการตั้งครรภ์ในครั้งนี้ได้
เหตุผลที่ไม่เข้ารับการตรวจ CVS
อย่างที่กล่าวไปว่าหลังกระบวนการตรวจ CVS จะมีโอกาสประมาณ 1-2% ที่จะแท้งลูกได้ คุณอาจรู้สึกว่าความเสี่ยงเท่านี้สูงเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด ผู้หญิงบางคนตัดสินใจรอดูลูกน้อยกำเนิดออกมา หรือเปลี่ยนไปหาวิธีการตรวจสอบอื่นอย่างการเจาะตรวจน้ำคร่ำแทน
เกิดอะไรขึ้นระหว่างการชิ้นเนื้อรกบ้าง?
การตรวจชิ้นเนื้อรก (CVS) จะเป็นกระบวนการเพื่อนำชิ้นเนื้อกออกมาทดสอบ
การเตรียมการเข้าตรวจ CVS
คุณไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเพิ่มเติม แปลว่าคุณสามารถดื่มหรือรับประทานอาหารก่อนเข้าตรวจได้ตามปกติ
ในบางกรณีแพทย์อาจจะขอให้คุณงดทำธุระก่อนไม่กี่ชั่วโมง เนื่องจากการที่กระเพาะปัสสาวะยังแน่นอยู่จะทำให้การตรวจเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยหากเป็นกรณีนี้ ทางแพทย์หรือหมอผดุงครรภ์ของคุณจะนัดหมายและห้ามก่อนการนัดหมายจริง
คุณสามารถพาคู่สมรส เพื่อน หรือครอบครัวมาด้วยได้ ซึ่งพวกเขาจะเป็นแรงสนับสนุนคุณไปตลอดการทดสอบ
การดำเนินการตรวจ CVS
กระบวนการ CVS จะมีการใช้หลักการอัลตราซาวด์เพื่อนำทางอุปกรณ์ไปยังรก และยังเป็นเครื่องนำทางเพื่อไม่ให้ไปโดนถุงน้ำคร่ำหรือแตะโดนตัวทารก การทดสอบนี้จะดำเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งระหว่าง: การเจาะผ่านช่องท้อง หรือการเจาะผ่านปากมดลูก
การตรวจ CVS ผ่านช่องท้อง
จะมีการทำความสะอาดหน้าท้องของคุณด้วยยาฆ่าเชื้อก่อนการฉีดยาชา
หลังจากยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะทำการแทงเข็มลงบริเวณช่องท้องนั้นไปยังมดลูก โดยเข็มจะถูกนำทางโดยการใช้เทคนิคอัลตราซาวด์ตลอดเวลา
ปลายเข็มจะดูดเก็บตัวอย่างเซลล์ขนาดเล็ก ๆ จากเนื้อเยื่อรก และแพทย์จะทำการดึงเข็มออก
การตรวจ CVS ผ่านปากมดลูก
จะเป็นการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อรกผ่านปากมดลูกของคุณ
วิธีการนี้จะใช้ท่อที่มีเข็มดูดหรือปากคีบขนาดเล็กที่ปลายสอดเข้าไปโดยผ่านช่องคลอดไปยังคอมดลูก โดยท่อจะถูกนำทางโดยการใช้เทคนิคอัลตราซาวด์
ควรใช้วิธีการใด?
กรณีส่วนมากมักใช้วิธีการแรก (สอดเข็มผ่านช่องท้อง) เพราะมีกระบวนการที่ง่ายกว่า
โดยการตรวจเนื้อเยื่อรกด้วยการสอดผ่านปากมดลูกมักทำให้ช่องคลอดมีเลือดออกหลังจากกระบวนการ ซึ่งผู้หญิงที่เข้ารับการตรวจแบบนี้ 1 ใน 10 คนจะเกิดปัญหานี้ขึ้น แต่กระนั้น ระหว่างสองกระบวนการนี้ก็ไม่มีข้อแตกต่างด้านความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรแต่อย่างใด
การตรวจ CVS สร้างความเจ็บปวดหรือไม่?
กล่าวกันว่า CVS มักจะสร้างความรู้สึกไม่สบายตัวมากกว่าที่จะเจ็บปวด ในกรณีส่วนมากหรือก่อนการเจาะตรวจผ่านช่องท้องจะมีการใช้ยาชาก่อน ทำให้หลังจากกระบวนการอาจเกิดความรู้สึกปวด ๆ บ้าง ส่วนการตรวจเนื้อเยื่อรกผ่านปากมดลูกนั้นจะให้ความรู้สึกเหมือนกำลังทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่
การตรวจ CVS กินระยะเวลานานเท่าใด?
ขั้นตอนทั้งหมดมักจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที
หลังจากกระบวนการ คุณจะถูกเฝ้าระวังอาการอย่างภาวะเลือดออกรุนแรงต่ออีกเกือบชั่วโมง หลังจากนั้นคุณก็สามารถกลับบ้านได้
ควรพาบุคคลที่สามมาในวันตรวจด้วย เนื่องจากคุณอาจจะรู้สึกไม่พร้อมที่จะขับรถกลับ
การฟื้นฟูร่างกายหลัง CVS
หลังจากตรวจ CVS แล้ว มักจะเกิดอาการปวดคล้ายเป็นประจำเดือนขึ้น หรืออาจมีอาการตกเลือดเล็กน้อยจากช่องคลอดเป็นเวลาหนึ่งถึงสองวัน โดยคุณสามารถทานยาแก้ปวดทั่วไปอย่างพาราเซตตามอลได้ (ไม่ควรทานอิบูโพรเฟนหรือแอสไพริน)
ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมออกแรงตลอดทั้งวัน และติดต่อกลับไปยังแพทย์หรือโรงพยาบาลทันทีที่คุณประสบกับอาการเหล่านี้:
- มีอาการเจ็บปวดที่ยืดเยื้อ
- มีอุณหภูมิร่างกายสูง 38 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า
- หนาวสั่น
- มีเลือดออกจากช่องคลอดรุนแรง
- มีของเสียใสขับออกจากช่องคลอด
- มดลูกหดรัดตัว
การเข้ารับผลการตรวจ CVS
ผลการตรวจครั้งแรกควรจะออกมาภายในเวลาไม่กี่วัน และจะสามารถบอกได้ถึงสภาวะความผิดปรกติทางโรคโมโซมของลูกคุณ (หากพบ)
หากมีการพบสภาวะที่หายาก อาจใช้เวลาประมาณสองถึงสามสัปดาห์กว่าที่จะได้ผลกลับมา
โดยคุณสามารถเลือกฟังผลทางโทรศัพท์หรือเข้าพบแพทย์ตัวต่อตัวที่โรงพยาบาลก็ได้
ผลการตรวจ
หลังจากการตรวจเนื้อเยื่อรกดำเนินการเสร็จสิ้น ตัวอย่างเซลล์ที่เก็บมาได้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการณ์เพื่อทำการทดสอบต่อ
จะมีการนับจำนวนโครโมโซม (ชุดของพันธุกรรม) ภายในเซลล์ และมีการตรวจสอบโครงสร้างของโครโมโซมเพื่อหาความผิดปรกติต่าง ๆ
ผลที่ได้มีความน่าเชื่อถือเพียงใด?
CVS มีความแม่นยำค่อนข้างมาก หรือประมาณ 99% แต่การตรวจลักษณะนี้ก็ไม่สามารถตรวจจับความผิดปรกติของทารกได้ทั้งหมด และอาจไม่ใช่ทุกครั้งที่สามารถให้ผลที่สามารถยืนยันได้จริง ๆ
มีไม่มากนักที่ผล CVS ออกมาว่าไม่สามารถสรุปความปกติของโครโมโซมของทารกได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าการเก็บตัวอย่างเซลล์ออกมาน้อยเกินไป หรืออาจจะพบเฉพาะความผิดปรกติที่รก แต่ไม่ใช่ตัวเด็กเอง
หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นมา ก็อาจต้องใช้วิธีการเจาะตรวจน้ำคร่ำหลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยออกมา
ผลการตรวจสื่อความหมายว่าอย่างไร?
ผู้หญิงที่เข้ารับการตรวจ CVS และได้ผลออกมาว่า “ปกติ” แปลได้ว่าไม่พบความผิดปรกติทางพันธุกรรมในทารก
แต่อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจปกตินั้นก็ไม่ได้หมายความว่าทารกจะมีสุขภาพสมบูรณ์จริง ๆ เนื่องจากการทดสอบนี้มีเพื่อตรวจหาภาวะความผิดปรกติที่เกิดมาจากยีนที่เพี้ยนไปเท่านั้น ซึ่งไม่ได้รวมความผิดปรกทางพันธุกรรมที่มีในโลกทั้งหมด
หากผลการตรวจออกมาเป็น “บวก” แสดงว่าทารกในครรภ์เป็นกลุ่มเด็กที่มีความผิดปรกติทางพันธุกรรม หากเป็นเช่นนี้ทางแพทย์จะจัดการชี้แจงภาวะดังกล่าว และเสนอแนวทางให้คุณทากรตัดสินใจหลังจากนี้
จะเกิดอะไรขึ้นหากพบปัญหาที่ทารก?
ถ้าการตรวจสรุปออกมาว่าทารกในครรภ์จะเกิดมาพร้อมกับความผิดปรกติทางพันธุกรรม คุณจะได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ ซึ่งอาจจะเป็นแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ของคุณหรือแพทย์พันธุศาสตร์ก็ได้
พวกเขาจะมอบข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะดังกล่าวของบุตรคุณ รวมไปถึงปัญหาที่ลูกต้องประสบ การรักษาเยียวยาที่พวกเขาต้องได้รับ และความคาดหวังในอนาคตที่พวกเขาต้องเผชิญต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อช่วยในการตัดสินใจของคุณ
ภาวะทางพันธุกรรมส่วนมากไม่มีทางรักษาให้หายได้ คุณจึงต้องพิจารณาหาทางออกอย่างถี่ถ้วนที่สุด ซึ่งตัวเลือกหลัก ๆ ก็คือ:
อุ้มท้องต่อไป โดยที่พยายามรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะของลูก เพื่อรับมือกับการดูแลเด็กที่จะลืมตาดูโลกต่อไป หรือทำแท้งเสีย เป็นการตัดสินใจที่ยากมาก ซึ่งตัวคุณไม่จำเป็นต้องตัดสินใจตัวเลือกเหล่านี้โดยลำพัง
คุณสามารถหันไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสภาวะดังกล่าว พูดคุยกับคู่สมรสของคุณ หรือแม้แต่ปรึกษาเพื่อนสนิทและครอบครัวของคุณก็ได้
ความเสี่ยงต่าง ๆ
ก่อนการตัดสินใจรับการตรวจเนื้อเยื่อรก (CVS) แพทย์จะแจ้งคุณเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
โดยความเสี่ยงสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจะถูกอภิปรายข้างล่างดังนี้:
การแท้งบุตร
การตรวจ CVS จะมีความเสี่ยงทำให้สูญเสียลูกในครรภ์ได้ หรือก็คือการสูญเสียครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 23 สัปดาห์นั่นเอง
โดยความเสี่ยงที่จะแท้งจากกระบวนการตรวจ CVS คาดกันว่าอยู่ที่ประมาณ 1-2% หรือหมายความว่าผู้หญิงมีครรภ์ที่เข้ารับการตรวจนี้ 50 จาก 100 คนจะแท้งบุตรหลังกระบวนการทั้งหมด
แต่ก็เป็นการยากที่จะคาดเดาได้ว่าการแท้งจะเกิดขึ้นกับตัวคุณเอง งานวิจัยบางชิ้นได้ระบุว่าโอกาสการแท้งบุตรหลังการตรวจ CVS นั้นเกิดมาจากการดำเนินกระบวนการเอง
ในกรณีส่วนมาก การแท้งบุตรจะเชื่อมโยงกับช่วงเวลาสองอาทิตย์ที่ดำเนินการ CVS เอง ซึ่งไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่บ่งชี้ว่าจะมีวิธีลดความเสี่ยงในการแท้งลูกในช่วงเวลานี้
ความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรหลังการทำ CVS นั้นถูกนับว่ามีค่อนข้างสูงกว่าอีกกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่าการเจาะตรวจน้ำคร่ำ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ดำเนินการกับครรภ์ที่มีอายุมากกว่า
ตัวอย่างไม่เพียงพอ
การตรวจ CVS ประมาณ 1% จะได้ตัวอย่างที่ไม่เพียงพอต่อการทดสอบหาความผิดปรกติ อาจเป็นเพราะเซลล์ที่นำมามีปริมาณไม่มากพอ หรือเพราะว่าเซลล์ตัวอย่างนั้นปนเปื้อนเซลล์ของมารดามาก็ได้
หากตัวอย่างที่ได้รับมาไม่เพียงพอ จะมีการดำเนินการ CVS ซ้ำอีกครั้ง หรืออาจเปลี่ยนไปใช้วิธีการเจาะตรวจน้ำคร่ำแทน (โดยจะทำหลังจากผ่านไปแล้วไม่กี่สัปดาห์)
การติดเชื้อ
เช่นเดียวกับกระบวนการผ่าตัดทั้งหลาย การทำ CVS เองก็มีความเสี่ยงของการติดเชื้อเช่นกัน การติดเชื้อนี้สามารถเกิดขึ้นได้หากมีแบคทีเรียตกค้างอยู่บนผิวหนังหรือบนอุปกรณ์ที่ใช้
แต่กระนั้น โอกาสติดเชื้อก็มีน้อยมาก ๆ โดยจะพบกรณีติดเชื้อประมาณ 1 ใน 1,000 ครั้งเท่านั้น
ภาวะแพ้หมู่เลือด
หากกรุ๊ปเลือกของคุณคือ RhD ลบ แต่กรุ๊ปเลือดของลูกคุณเป็น RhD บวก จะเกิดอาการแพ้ขึ้นระหว่างการดำเนินการ CVS
ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากการที่เลือดบางส่วนของทารกไหลเข้าไปยังกระแสเลือดของร่างกายมารดา ทำให้ร่างกายแม่เกิดการสร้างแอนติบอดีขึ้นมาทำลายเลือดของทารก หากไม่ทำการรักษาจะทำให้ทารกกลายเป็นโรครีซัสได้
หากคุณไม่ทราบหมู่เลือดของตัวเอง จะมีการทดสอบกรุ๊ปเลือดก่อนดำเนินการ CVS เพื่อหาความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ขึ้น โดยหากมีความเสี่ยงจะมีการฉีดยาที่เรียกว่า anti-D immunoglobulin ให้ไปยับยั้งการเกิดอาการแพ้ดังกล่าว