การตรวจพบการเต้นของของหัวใจทารกในครรภ์ด้วยอัลตราซาวด์เป็นสัญญาณที่ดี หมายถึงมีความเสี่ยงต่ำต่อภาวะแท้งบุตร
โอกาสเกิดภาวะแท้งบุตรหลังจากตรวจพบการเต้นของหัวใจทารกจากอัลตราซาวด์คือเท่าไหร่?
แพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าความเสี่ยงของภาวะแท้งบุตรลดลงเมื่อสามารถตรวจจับการเต้นของหัวใจได้โดยอัลตราซาวนด์ แต่อัตราส่วนที่ลดลงจะแตกต่างกันไปตามกลุ่ม ยากที่จะบอกถึงตัวเลขที่แน่นอน แต่มีสถิติจากการวิจัยดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- โอกาสที่เป็นไปได้ของภาวะแท้งบุตรหลังจากเห็นการเต้นของหัวใจทารกจากอัลตราซาวด์ สำหรับผู้หญิงที่ไม่มีเลือดออกทางช่องคลอดอยู่ที่ประมาณ 4%
- สำหรับผู้หญิงที่มีเลือดออกทางช่องคลอด และตรวจพบการเต้นของหัวใจทารกจากอัลตราซาวนด์ มีความเสี่ยงของภาวะแท้งบุตรประมาณ 13%
- การศึกษาพบว่าประมาณ 17% ของผู้หญิงที่มีประวัติของการแท้งบุตรหลังพบการเต้นของหัวใจทารกจากอัลตราซาวนด์ จะเกิดภาวะแท้งบุตรซ้ำอีก
- แม่ที่อายุ 35 ปีและมากกว่า มีความเสี่ยงภาวะแท้งบุตรอย่างมีนัยสำคัญหลังพบการเต้นของหัวใจทารกจากอัลตราซาวด์ การศึกษาปี 1996 พบว่าผู้หญิงที่อายุมากกว่า 36 ปี มีความเสี่ยง 16% ที่จะเกิดภาวะแท้งบุตร และผู้หญิงที่อายุ มากกว่า 40 มีความเสี่ยง 20%
คำอธิบายเกี่ยวกับสรีรวิทยาของทารกในครรภ์
การเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาของทารก มนุษย์ทุกคนต้องการให้หัวใจของเราสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆ เพื่อความอยู่รอด ลักษณะกายภาพที่เกิดขึ้น ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์รวบรวมโดยสถาบันสุขภาพ (National institute of Health(NIH)) มีดังนี้
สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
เป็นสัปดาห์เริ่มต้นของตัวอ่อน ระบบและโครงสร้างที่สำคัญในร่างกายจะเริ่มต้นพัฒนาในช่วงนี้
- ลักษณะภายนอกทั่วไปของทารก
- มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทุกส่วน ทั้งยังมีความไวต่อสิ่งที่อาจทำให้เกิดภาวะพิการในทารก เช่น ยาอันตราย การรักษาทางการแพทย์บางชนิด และการติดเชื้อ
สัปดาห์ที่ 6 และ 7 ของการตั้งครรภ์
ทารกจะเจริญเติบโตมากขึ้น และเข้าสู่จังหวะปกติ สิ่งอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 6 และ 7 ได้แก่
- การก่อตัวของตาและหู
- การก่อตัวของกระดูกสันหลัง
- การไหลเวียนของเลือด
สัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์
- ในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ เริ่มมีการเติบโตของแขน มือและเท้ามีลักษณะบานขึ้นเหมือนไม้พาย มีการก่อตัวของปอด
สัปดาห์ที่ 9 ของการตั้งครรภ์
- ในช่วงสัปดาห์ที่ 9 ทุกอวัยวะของทารกเริ่มเติบโต รวมทั้งรูขุมขน และนิ้วเท้า(นิ้วโป้ง)
สัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์
- ในปลายสัปดาห์ที่สิบของการตั้งครรภ์ จะไม่เรียกทารกว่าตัวอ่อน(embryo)อีกต่อไป แต่จะใช้คำว่า ทารก(fetus)แทน ทารกในครรภ์ได้พัฒนาพ้นจากภาวะตัวอ่อน(embryo)
- ในช่วงสัปดาห์นี้ จะมีการก่อตัวของเปลือกตา ใบหู และลำไส้
สัปดาห์ที่ 11-14
- ในช่วงสัปดาห์นี้ จะมีการก่อตัวของอวัยวะเพศ และใบหน้า
สัปดาห์ที่ 15-18
เริ่มมีการก่อตัวของตับ ตับอ่อน และผิวหนังที่ใสๆ และลูกน้อยเริ่มทำท่าดูดปาก