พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
เขียนโดย
พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการเมาค้าง (Binge Drinking) และวิธีแก้เมาค้าง ในช่วงสงกรานต์

สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และวิธีรักษาอาการเมาค้าง (Binge Drinking)
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการเมาค้าง (Binge Drinking) และวิธีแก้เมาค้าง ในช่วงสงกรานต์

หลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนักๆ วันต่อมามักจะเกิดความรู้สึกปวดศีรษะ ซึ่งระดับความรุนแรงนั้นอยู่กับชนิดและปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีแก้เมาค้างที่จะทำให้อาการนั้นบรรเทาลง และรู้สึกร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้นได้

สาเหตุของการเมาค้าง

โดยปกติ ร่างกายจะมีการขับของเสียในรูปแบบของปัสสาวะ ซึ่งมักขับสารอาหารที่สำคัญอย่างแมกนีเซียม วิตามินบี และโพแทสเซียม ออกไปด้วย ทำให้เกิดการคั่งของสารแอลดีไฮด์ มีผลต่อการลดปริมาณน้ำตาลในเลือดและรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนิน จึงเกิดเป็นอาการปวดศีรษะโดยส่วนใหญ่ อาการเมาค้างจะเกิดขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลง ซึ่งตรงกับช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น หลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักในคืนก่อน ทั้งนี้ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปริมาณที่ดื่มเข้าไปก็ส่งผลให้เกิดอาการเมาค้างที่แตกต่างกัน หากร่างกายได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มาก ก็จะทำให้เกิดอาการเมาค้างมากขึ้นตามไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของการเมาค้าง

  • รู้สึกสับสน มึนงง จำเหตุการณ์ไม่ได้
  • ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตาพร่า
  • พูดติดขัด ไม่ชัด กระบวนการตอบสนองล่าช้า ไม่สัมพันธ์กัน
  • ทรงตัวไม่ได้ เดินเซ ชนสิ่งกีดขวาง กะระยะผิดพลาด
  • ขาดสติสัมปชัญญะ และความสามารถในการบังคับยวดยานพาหนะลดลง
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • อารมณ์แปรปรวนอย่างเห็นได้ชัด
  • การควบคุมตนเองและการยับยั้งชั่งใจน้อยลง และช่วงของความสนใจยังสั้นลงด้วย

วิธีป้องกันอาการเมาค้าง

  • กำหนดปริมาณการดื่มสุราในแต่ละครั้ง เพื่อรักษาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดไม่ให้สูงเกินไป
  • ดื่มให้ช้าลง โดยดื่มเพียงหนึ่งแก้วหรือในปริมาณที่น้อยกว่านั้นในแต่ละชั่วโมง
  • ดื่มร่วมกับการทานอาหาร หรือรับประทานของกินเล่นหรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันรองท้องก่อน จะช่วยให้ร่างกายชะลอการดูดซึมแอลกอฮอล์ได้มาก
  • ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ไปด้วย และไม่ดื่มตอนท้องว่าง จะช่วยให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้น้อยลง ทั้งนี้ น้ำเปล่าจะช่วยให้ผู้ดื่มไม่เกิดภาวะขาดน้ำ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สีเข้ม เนื่องจากมันมีส่วนผสมของสารแขวนลอย (congener) มาก ส่งผลให้ผู้ดื่มเกิดอาการเมาค้างอย่างรุนแรง

วิธีแก้เมาค้าง

  • จิบน้ำเปล่าบ่อยๆ หรือน้ำผลไม้ ป้องกันการขาดน้ำ และจะช่วยขับสารพิษหรือแอลกอฮอล์ออกทางปัสสาวะได้มากขึ้น นอกจากนี้ความเปรี้ยวจะช่วยแก้อาการคลื่นไส้ได้ แถมวิตามินซีในผลไม้พวกส้ม ยังช่วยให้ร่างกายสดชื่นขึ้นด้วย
  • รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ โดยเลือกรับประทานยาพาราเซมอล อย่างไรก็ดี ผู้ที่ดื่มเป็นประจำไม่ควรรับประทานยานี้ เนื่องจากยาพาราเซตามอลอาจทำลายตับอย่างรุนแรง ไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินเพื่อลดอาการแก้ปวด เนื่องจากจะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • รับประทานอาหารรสจืดและย่อยง่าย เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และฟื้นฟูกระเพาะอาหารให้กลับมาทำงานได้ปกติ โดยอาจรับประทานซุปผักซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามิน
  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้อาการเมาค้างหายไปเมื่อตื่นขึ้นมา แต่ก็ไม่ควรนอนจมบนเตียงตลอดทั้งวัน ควรลุกออกมาสูดอากาศเพื่อให้ออกซิเจนช่วยกระตุ้นการทำงานของเมตาบอลิซึม ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นได้
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซ้ำในวันรุ่งขึ้น โดยเฉพาะตอนเช้า เนื่องจากจะยิ่งเพิ่มฤทธิ์แอลกอฮอล์ในร่างกายให้มากขึ้น และสร่างเมาช้าลงกว่าเดิม

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กรมสุขภาพจิต, เทคนิคบรรเทาอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ (หนังสือคู่มือการให้การปรึกษาสำหรับผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์ หน้า 86-91)
Daniel J. DeNoon, CDC: Binge Drinking 'Huge U.S. Health Problem': Binge Drinking Rates Highest in Wisconsin, Lowest in Tennessee (https://www.webmd.com/mental-health/addiction/news/20101005/cdc-binge-drinking-huge-us-health-problem) 5 October 2010.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป