ก่อนออกกําลังกาย ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อใช่หรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ก่อนออกกําลังกาย ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อใช่หรือไม่?

เวลาขับรถผ่านสวนสาธารณะ คุณจะเห็นนักวิ่งไม่น้อยกําลังเด้งตัว เป็นจังหวะเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ก่อนจะออกวิ่ง เราถูกชักชวนให้เชื่อว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันการบาดเจ็บและการ ระบมของกล้ามเนื้อหลังการออกกําลัง แต่ภรรยาผมบอกว่า วิ่งออกกําลังมา ไม่รู้กี่ปี ครั้งเดียวที่เธอบาดเจ็บ ก็ตอนยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนวิ่งนี่แหละ ปรากฏว่า เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเธอคนเดียวหรอกครับ ถึงจะฟังดูเข้าท่าที่เราควรจะอบอุ่นกล้ามเนื้อก่อนการออกกําลัง แต่การ ยืดเหยียดกลับไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุดครับ ผลการวิจัยพบว่า การยืดเหยียด ได้ผลน้อยมากในแง่ป้องกันการบาดเจ็บระหว่างการออกกําลัง มิหนําซ้ำ อาจเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อโดนดึงจนเคล็ดปวดได้

ที่นี้ ขอผมอธิบายให้ชัดเจนก่อน ผมยังไม่ได้บอกนะครับว่า คุณ ไม่ควรอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกําลัง 2-3 ปีก่อน ผมมีประสบการณ์ตรง คือกล้ามเนื้อน่องฉีก เพราะลงเล่นเทนนิสโดยไม่อบอุ่นร่างกายก่อน ทําเอา ต้องหยุดเล่นไปนานถึง 6 เดือน ทุกวันนี้ ผมจึงใส่ใจกับการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้ออย่างนุ่มนวลก่อนจะออกกําลังเสมอ เวลาเล่นเทนนิส ผมมักทํา แบบนี้ครับ ผมกับคู่เล่นจะเริ่มตีน็อกลูกกันเบาๆ จากแนวเส้นหน้า โดย เหวี่ยงแร็กเก็ตเบาๆ แค่ครึ่งวง สักพักก็ค่อยๆ เพิ่มวงสวิงไม้ พร้อมออก แรงและถอยไปตีที่เส้นหลัง ถ้าลูกตีมาไม่ตรงตําแหน่ง ผมจะปล่อยไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีการศึกษาจํานวนมากที่ทําเกี่ยวกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ พบว่า อัตราการบาดเจ็บในคนที่ยึดเหยียดกับไม่ยืดเหยียดนั้น ไม่แตกต่างกัน แต่อย่างใด ไม่นานมานี มีผลการศึกษาในนักวิ่ง 2,700 รายของสมาคม กรีฑาลู่และลานของสหรัฐอเมริกาว่า สถิติการบาดเจ็บระหว่างผู้ที่ยืดเหยียด และผู้ไม่ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการวิ่งไม่มีความแตกต่างกัน และยังพบ อีกว่า การบาดเจ็บเกิดขึ้นกับนักวิ่งที่วิ่งไกลๆ ประจํา บ่อยกว่าเกิดกับคนที่ เพิ่งหายจากอาการบาดเจ็บ ที่น่าสนใจคือ นักวิ่งที่ปกติยืดเหยียดกล้ามเนื้อประจํา เมื่อถูกขอให้เปลี่ยนเป็นทําบ้างไม่ทําบ้าง ก็จะมีโอกาสบาดเจ็บบ่อยขึ้นด้วย ทั้งนี้ อธิบายว่าเป็นเพราะกล้ามเนื้อคุ้นเคยกับการยืดเหยียดก่อน ดังนั้น หากคุณเป็นคนที่ชอบยืดเหยียดกล้ามเนื้อเสมอก่อนออกกําลังละก็ มีเหตุผลสมควรที่จะทําต่อไปครับ

การยืดเหยียดอาจจะไม่จัดว่าเป็นการอบอุ่นร่างกายสักเท่าไร แต่กลับสําคัญมากที่เราต้องทําในชีวิตประจําวัน เพื่อรักษาความยืดหยุ่นและสมดุล การทรงตัว ซึ่งสําคัญอย่างยิ่งเมื่อสูงวัยขึ้น ก่อนจะลุกขึ้นจากเตียง ให้ใช้ เวลาอบอุ่นร่างกายสัก 2-3 นาที เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ และนุ่มนวล ให้ เลือดลมเดินดี ดึงหัวเข่ามากอดชิดอกทีละข้าง เป็นท่ายืดกล้ามเนื้อแฮมสตริง งอเข่าแล้วค่อย ๆ โยกขาทั้งสองไปด้วยกันซ้ายทีขวาที่อย่างช้า ๆ เป็นการ ยึดหลัง ยกไหล่ขึ้นแล้วยักไหล่เพื่อคลายเส้น ชุดท่าออกกําลังของคุณ ควรมีท่าโยคะหรือท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อ ผมเริ่มเรียนโยคะเมื่อ 5 ปีก่อนและพบว่า โยคะช่วยให้สรีระของผมดีขึ้น และอาการปวดตึงหลังลดลง และแม้แต่ในชั้นเรียนฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อเหล่านี้ เราก็ยังต้องเริ่มด้วย การอบอุ่นร่างกายครับ

 บทสรุปของหมอเบซเซอร์

มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการออกกําลัง ไม่ได้ช่วยลดการบาดเจ็บหรือลดการระบมของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นหลังการออกกําลังแต่อย่างใด การอบอุ่นกล้ามเนื้ออย่างนุ่มนวลค่อยเป็นค่อยไป มีประโยชน์และดีต่อกล้ามเนื้อของคุณมากกว่า

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์  ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ask the doctor: Stretching before exercise. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/ask-the-doctor-stretching-before-exercise)
Stretching and Flexibility: How to Stretch, When to Stretch. WebMD. (https://www.webmd.com/fitness-exercise/features/how-to-stretch)
Do I need to stretch before exercising?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/exercise/stretch-before-exercising/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป