กลุ่มอาการออทิสติก (Autism spectrum disorder: ASD)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
กลุ่มอาการออทิสติก (Autism spectrum disorder: ASD)

ออทิสติกเป็นความผิดปกติของพัฒนาการที่แสดงออกมาในรูปแบบของปัญหาในหลาย ๆด้าน ทั้งการปฏิสัมพันธ์ การเข้าสังคม ความคิด การเรียนรู้ รวมถึงพฤติกรรมซึ่งแตกต่างกับเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน

บทนำ

กลุ่มอาการออทิสติกจัดเป็นความผิดปกติของพัฒนาการรูปแบบหนึ่งซึ่งมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสาร ความสนใจ และพฤติกรรม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในเด็กที่เป็นออทิสติก อาการต่าง ๆ มักจะเริ่มเกิดขึ้นก่อนเด็กมีอายุสามปี แม้ว่าบางกรณี อาจมีการวินิจฉัยว่าเด็กเป็นออทิสติกภายหลังจากเด็กคนนั้นอายุเกินสามปีแล้วก็ตาม

คาดว่าความถี่ของเด็กที่เป็นออทิสติกอยู่ที่ประมาณ 1 คนในทุก 100 คน และเด็กชายมักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้มากกว่าเด็กหญิง

ไม่มีการรักษาให้กลุ่มอาการออทิสติกนี้หายขาดได้ แต่การบำบัดด้วยการพูด ภาษาบำบัด กิจกรรมบำบัด การส่งเสริมด้านการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ และมาตรการอื่น ๆ อีกมากมายสามารถนำมาช่วยเด็ก ๆ และผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กเหล่านี้ได้

อาการและอาการแสดง

คนที่เป็นออทิสติกมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสารกับผู้อื่น

ในช่วงเป็นเด็กทารก จะพบว่าเด็กบางคนที่มีอาการของออทิสติกไม่เคยทำเสียงอ้อแอ้หรือ หรือฝึกออกเสียงเหมือนกับทารกคนอื่น เมื่อโตเข้าสู่ช่วงวัยเด็กก็จะมีปัญหาในเรื่องปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ใช้คำพูดหรือเรื่องภาษากายในการโต้ตอบกับคนอื่น ๆ เช่น เด็กออทิสติกมักมีปัญหาเรื่องการสบตา การแสดงออกทางสีหน้า ภาษากาย และท่าทางที่ผิดแปลกจากเด็กทั่วไป พวกเขามักไม่สบตา หรือสบตาเป็นระยะสั้น ๆ และเพิกเฉยทั้งคนที่รู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม

เด็กที่มีอาการของออทิสติกอาจไม่มีรับรู้ถึงตัวตนเด็กรอบข้างและมักไม่สนใจในเด็กคนอื่น บ่อยครั้ง ที่พวกเขามักจะเข้าหาเด็กที่อายุมากกว่าหรืออายุน้อยกว่าตนเอง มากกว่าจะปฏิสัมพันธ์กับเด็กวัยเท่า ๆ กัน และสุดท้ายแล้วพวกเขามักจะเล่นคนเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เด็กที่เป็นออทิสติกยากที่จะเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของคนอื่น และมีปัญหาในการเริ่มต้นบทสนทนา หรือการพูดคุยร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม การพัฒนาทางภาษาของเด็กที่เป็นออทิสติกอาจล่าช้ากว่าวัยเดียวกันและ จะไม่สามารถชดเชยข้อบกพร่องเหล่านั้นด้วยการใช้ภาษาโดยใช้ท่าทาง ภาษากาย หรือการแสดงออกทางสีหน้าได้เลย

เด็กออทิสติก มักจะทวนคำหรือวลีที่คนอื่นพูดซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะพูดทวนในทันทีหรือในภายหลังก็ตาม โดยไม่สามารถเปลี่ยนมาเป็นคำพูดของตัวเองและไม่สามารถทำควบคู่กันให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษาของพวกเขาได้ เด็กบางคนยังไม่สามารถจินตนาการหรือเล่นบทบาทสมมติ แม้ว่าเด็กคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกันจะสามารถเล่นบทบาทสมมติในบทหรือตัวละครเดิมได้อย่างคล่องแคล่ว

เด็กออทิสติกบางคนจะยึดติดกับแบบแผนชีวิตตามปกติอย่างมาก และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดการอาละวาด (Tantrum) ขึ้นมาได้ เด็กบางคนอาจตบมือ หรือบิดนิ้วมือ หรือปัดนิ้วมือไปมาเมื่อรู้สึกตื่นเต้นหรืออารมณ์เสีย คนอื่นอาจเริ่มอาการทำกิจกรรมซ้ำ ๆ  เช่น การเปิดและปิดสวิตช์ไฟขึ้นลง การเปิดและปิดประตูไปมา หรือการจัดเรียงสิ่งต่าง ๆ

กลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นออทิสติกนั้นมักมีปัญหาด้านความคิด ด้านการเรียนรู้ ด้านอารมณ์และด้านพฤติกรรม ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจมีภาวะโรคโรคสมาธิสั้น (Attention deficit/Hyperactivity disorder: ADHD) มีความวิตกกังวล หรือเป็นโรคซึมเศร้าร่วมด้วย

ประมาณ 70% ของเด็กออทิสติกมีค่าความสามารถทางเชาวน์ปัญญาไม่นับเรื่องภาษา (non-verbal IQ) ต่ำกว่า 70 และในเด็กจำนวนนี้มีถึง 50% ที่ค่าดังกล่าวต่ำกว่า 50 นอกจากนี้ ประมาณ 50% ของคนที่มีปัญหาในการเรียนรู้อย่างรุนแรงเป็นกลุ่มอาการออทิสติกร่วมด้วย

การวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิสติก

คุณลักษณะหลักของกลุ่มอาการออทิสติก คือ ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณลักษณะบางประการของกลุ่มอาการออทิสติกอาจจะยังไม่เป็นที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของชีวิตเด็กขึ้น เช่น เมื่อเด็กเริ่มเข้าอนุบาล หรือเข้าโรงเรียน

หากพบอาการและอาการแสดงของกลุ่มอาการออทิสติกเหล่านี้ในตัวบุตรหลานของคุณ หรือหากคุณกังวลถึงเรื่องพัฒนาการของเด็กเหล่านั้น อาจเป็นประโยชน์หากคุณใช้เวลาพูดคุยเรื่องความกังวลเหล่านี้ของคุณกับเจ้าหน้าที่สถานรับเลี้ยงเด็กหรือคุณครูที่โรงเรียนของเด็ก

การดูแลคนที่เป็นออทิสติก

การเป็นผู้ดูแลไม่ได้เป็นเรื่องง่าย เมื่อคุณมัวแต่วุ่นวายกับตอบสนองต่อความต้องการของคนอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่ออารมณ์และพลังงานในร่างกายของคุณอย่างมาก และทำให้คุณเสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้โดยง่าย

หากคุณดูแลคนอื่นอยู่ อย่าลืมว่าคุณควรดูแลตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับตัวคุณเองและคนที่คุณห่วงใย

สาเหตุของกลุ่มอาการออทิสติก

สาเหตุที่แท้จริงของกลุ่มอาการออทิสติกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คิดว่ามีปัจจัยทางพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องอยู่หลายประการ

ในอดีตบางคนเชื่อว่าวัคซีนป้องกันโรค หัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR vaccine) นั้นก่อให้เกิดออทิสติกขึ้นในเด็กที่ได้รับ แต่การศึกษาเกี่ยวกับหัวข้อนี้ได้รับการค้นคว้าวิจัยอย่างกว้างขวางในหลายงานวิจัยที่สำคัญทั่วโลกในเด็กหลายล้านคน และนักวิจัยก็ไม่พบหลักฐานใด ๆ เลยที่จะกล่าวได้ว่าการเกิดออทิสติกนั้นสัมพันธ์กับการได้รับวัคซีนดังกล่าว

ออทิสติกในผู้ใหญ่

ผู้ป่วยออทิสติกบางคนมีความผิดปกติดังกล่าวตั้งแต่ช่วงเป็นเด็ก แต่สามารถเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่โดยไม่ได้รับการวินิจฉัยมาก่อนก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยในช่วงเป็นผู้ใหญ่นั้นมักจะช่วยให้คนที่เป็นออทิสติก และครอบครัวของพวกเขาเข้าใจถึงภาวะนี้ได้ดีขึ้น และสามารถค้นหาคำแนะนำ และการสนับสนุนที่พวกเขาต้องการได้ด้วย

ตัวอย่างเช่น มีบริการเฉพาะหลายอย่างให้กับผู้ใหญ่ที่มีอาการของออทิสติกโดยให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนในสิ่งที่เขาต้องการเพื่อจะอยู่อย่างอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นให้มากที่สุด  หรือแม้กระทั่งการหางานที่เหมาะสม ตรงกับทักษะและความสามารถของพวกเขา เป็นต้น

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/autistic-spectrum-disorder-asd


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Autism Spectrum Disorder. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/autismspectrumdisorder.html)
What is Autism Spectrum Disorder?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/facts.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป