ลักษณะเฉพาะและอาการของผู้ป่วยออทิสติก

โรคนี้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ แต่ไม่ได้หมายความว่าบกพร่องทางสติปัญญา
เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ลักษณะเฉพาะและอาการของผู้ป่วยออทิสติก

ออทิสติก คือ ความผิดปกติของสมองอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสนใจ  ทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา และทักษะทางสังคม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ออทิสติกอาจแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็กเล็กและต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่  ส่วนรูปแบบอาการออทิสติกที่แสดงออกและความรุนแรงอาจแตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคล สภาพแวดล้อม และแตกต่างกันในแต่ละช่วงชีวิตของผู้ป่วยออทิสติกเองด้วย 

ลักษณะเฉพาะของออทิสติก

ลักษณะและอาการของผู้ป่วยออทิสติกนั้นอาจแตกต่างกันในแต่ละคนและแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพแวดล้อม  นอกจากนี้ผู้ป่วยออทิสติกยังสามารถมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงชีวิตของพวกเขาได้อีกด้วย นั่นคือเหตุผลที่โรคออทิสติกนี้จึงมักถูกเรียกว่า "ความผิดปกติแบบสเปกตรัม (Spectrum disorder)"  ซึ่งหมายถึงมีความรุนแรงและรูปแบบอาการที่ผันแปรไปได้หลายอย่าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะของกลุ่มอาการออทิสติก สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มหลัก ๆ ได้แก่:

  • ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social interaction)
  • การสื่อสารทางสังคม (Social communication)
  • จินตนาการทางสังคม (Social imagination)

ลักษณะเฉพาะตัวเริ่มแรกของกลุ่มอาการออทิสติกมักจะสามารถสังเกตเห็นได้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี   อย่างไรก็ตามในเด็กออทิสติกบางคน อาการออทิสติกอาจจะไม่ปรากฏให้เห็นจนกว่าจะโตขึ้นกว่านั้น

ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

ผู้ป่วยออทิสติกมักรู้สึกว่า ตนเองเข้าไปเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ได้ยาก โดยอาจจะ:

  • ชอบปลีกตัว รักสันโดษ
  • สนใจคนอื่นน้อย หรือไม่สนใจเลย
  • ไม่เป็นมิตร
  • ไม่หลงเสน่ห์ หรือดึงดูดใจเหมือนคนอื่นทั่วไป หรือต่อต้านการสัมผัสทางกายภาพ เช่น การจูบ การกอด
  • ไม่ค่อยสบตากับคนอื่น บางคนอาจไม่พูดเลย
  • ต้องการมีการติดต่อทางสังคมกับคนอื่น ๆ แต่มีปัญหาอย่างหนักว่า ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
  • ไม่เข้าใจอารมณ์ของคนอื่น และมีปัญหาในการจัดการอารมณ์ของตัวเอง
  • ชอบที่จะอยู่คนเดียว

การสื่อสารทางสังคม

ผู้ป่วยออทิสติก อาจมีปัญหาในการใช้ทักษะการสื่อสารทั้งแบบใช้ถ้อยคำ และแบบไม่ใช้ถ้อยคำ และบางคนอาจไม่สามารถพูดคำพูดใด ๆ ได้เลยตลอดชีวิต ผู้ป่วยออทิสติกที่สามารถพูดได้นั้น ก็อาจใช้คำพูดในรูปแบบที่ซับซ้อนเกินคนปกติทั่วไป บางรายอาจจะพบว่า ใช้วลีแปลก ๆ หรือคำพูดแปลกๆ  ผุ้ป่วยออทิสติกยังสามารถสร้างคำ หรือวลีของตนเองขึ้นมาพูดเองได้ และใช้คำมากกว่าที่จำเป็นเพื่ออธิบายสิ่งที่เรียบง่าย นอกจากนี้ผู้ป่วยออทิสติกบางคนอาจมีอาการพูดเลียนแบบ (echolalia) คือ การพูดซ้ำคำที่มีความหมายน้อยนิด หรือพูดซ้ำๆในสิ่งที่คนอื่นพูดกับตน

ผู้ป่วยออทิสติกดังกล่าวมักจะมีปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้:

  • การแสดงตัวตนในรูปแบบที่เหมาะสม
  • การทำความเข้าใจถึงท่าทางต่างๆ การแสดงออกทางสีหน้า หรือโทนเสียงของผู้อื่น
  • การใช้ภาษากายในการสื่อสาร
  • การทำความเข้าใจคำสั่ง

จินตนาการทางสังคม

เด็กออทิสติก อาจมีลักษณะเฉพาะตัว ดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เล่นแบบใช้จินตนาการได้น้อย
  • เล่นเกมเดิมซ้ำไปซ้ำมา หรือเล่นเกมที่ออกแบบมาสำหรับเด็กอายุน้อยกว่าตัวเอง
  • อารมณ์เสียหากกิจวัตรประจำวันของพวกเขาถูกขัดจังหวะไม่ว่าจะเป็นทางใดก็ตาม
  • แสดงพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่น ปรบมือซ้ำๆ หรือหมุนไปหมุนมา

นอกจากนี้เด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นออทิสติกอาจมีความหมกมุ่นอย่างหนัก เช่น หมกหมุ่นกับวัตถุ รายการ ตารางเวลา หรือกิจวัตรที่เฉพาะเจาะจงบางอย่างที่เป็นแบบแผน เปลี่ยนแปลงได้ยาก 

ปัญหาทางประสาทสัมผัส (Sensory difficulties)

คนส่วนใหญ่ที่เป็นออทิสติกมักมีปัญหาทางประสาทสัมผัสร่วมด้วย  หมายความว่า ผู้ป่วยออทิสติกอาจมีความไวต่อสัมผัสบางอย่าง เช่น การสัมผัสจากคนอื่น พื้นผิวบางชนิด แสงจ้า หรือเสียงที่ดัง  ปัญหาทางประสาทสัมผัสยังสามารถนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวตามมา ผู้ป่วยออทิสติกจึงอาจดูว่า มีท่าทางเงอะงะ หรือมีการเดินที่ผิดปกติไปจากคนทั่วไป

อาการของผู้ป่วยออทิสติก

กลุ่มอาการหลักๆ ของออทิสติก คือ ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หากสังเกตเห็นอาการดังต่อไปนี้ในบุตรหลานของคุณควรรีบปรึกษาแพทย์ว่า ใช่อาการออทิสติกหรือไม่

อาการแสดงในเด็กออทิสติกในช่วงก่อนวัยเรียน (pre-school children)

ภาษาพูด

  • การพัฒนาทางการพูดช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน เช่น ยังพูดคำที่แตกต่างกันได้น้อยกว่า 50 คำ เมื่ออายุครบสองปี หรือไม่พูดเลย
  • พูดกลุ่มคำ หรือวลีซ้ำไปมาอยู่บ่อยครั้ง
  • น้ำเสียงการพูดราบเรียบ ไม่มีอารมณ์ปนอยู่
  • เลือกที่จะสื่อสารโดยใช้คำเพียงคำเดียว แม้ว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถพูดเป็นประโยคได้ก็ตาม

การตอบสนองต่อผู้อื่น

  • ไม่ตอบสนองต่อการเรียกชื่อ  แม้ว่าการได้ยินของพวกเขาจะปกติก็ตาม
  • ปฏิเสธการกอดจากพ่อแม่ หรือผู้ดูแล แม้ว่าพวกเขาอาจจะเป็นฝ่ายเริ่มกอดเองก็ตาม
  • ทำท่าทีไม่พอใจ  หรือท่าทางแปลกประหลาดอย่างมากเมื่อมีคนขอให้ทำอะไรบางอย่าง

การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

  • ไม่ได้รับรู้ หรือตระหนักถึงพื้นที่ส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือเพิกเฉยอย่างแปลกประหลาดในกรณีที่มีคนอื่นรุกล้ำเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัวของตนเอง
  • ไม่ค่อยสนใจในการพูดคุยโต้ตอบกับคนอื่นรวมถึงเด็กที่มีอายุใกล้เคียงกัน
  • ไม่มีอารมณ์สนุกร่วมไปกับสถานการณ์ที่เด็กในวัยของพวกเขาชอบ เช่น ปาร์ตี้งานวันเกิด
  • เลือกที่จะเล่นคนเดียวแทนที่จะขอให้คนอื่นเล่นกับพวกเขา
  • ไม่ค่อยใช้ภาษากาย หรือการแสดงออกทางสีหน้าในการสื่อสาร
  • หลีกเลี่ยงการสบตา

พฤติกรรม

  • มีการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ เช่น สะบัดมือไปมา โยกตัวไปมา หรือสะบัดนิ้วมือ
  • เล่นกับของเล่นเดิมแบบไม่มีจินตนาการซ้ำไปซ้ำมา เช่น เรียงลำดับบล็อกพลาสติกตามขนาดหรือสี แทนที่จะเรียงบล็อกเพื่อสร้างบางสิ่งบางอย่าง
  • ชอบที่จะมีกิจวัตรประจำวันแบบเดิม และจะอารมณ์เสียมากขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรเหล่านี้ไป
  • มีความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบอาหารบางชนิดอย่างมาก โดยให้ความสำคัญกับพื้นผิว หรือสีของอาหารเหล่านั้นพอ ๆ กับรสชาติ
  • มีความสนใจทางประสาทสัมผัสที่ผิดปกติและไม่สมควรทำ เช่น สูดดมกลิ่นของเล่น  วัตถุต่าง ๆ หรือคน 

อาการและอาการแสดงของเด็กออทิสติกในช่วงวัยเรียน (school-age children)

ภาษาพูด

  • เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการสื่อสารด้วยการพูด
  • พูดน้ำเสียงโทนเดียว ราบเรียบ
  • พูดวลีในรูปแบบที่เคยได้ยินมาก่อนเท่านั้น แทนที่จะนำคำแต่ละคำมารวมกันเพื่อสร้างประโยคใหม่เป็นภาษาพูดของตนเอง
  • เวลาพูดจะฟังดูเหมือนเป็นการพูดกับผู้อื่น แทนที่จะเป็นการพูดคุยกัน หรือการสนทนาสองทาง ไม่สามารถพูดคุยต่อเนื่องกับผู้อื่นได้

การตอบสนองต่อผู้อื่น

  • เข้าใจความหมายคำพูดของผู้อื่นแบบตรงตัวอักษร และไม่สามารถเข้าใจคำพูดล้อเลียน คำพูดอุปมาอุปไมย หรือคำเปรียบเปรยได้
  • ทำท่าทีไม่พอใจ หรือท่าทางแปลกประหลาด เมื่อมีคนขอให้ทำอะไรบางอย่าง

การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

  • ไม่ได้รับรู้ หรือตระหนักถึงพื้นที่ส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือมีทีท่าเพิกเฉยแม้จะมีคนอื่นรุกล้ำเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัวของตนเอง
  • ไม่ค่อยสนใจในการพูดคุยโต้ตอบกับคนอื่นรวมถึงเด็กที่มีอายุใกล้เคียงกัน หรือมีเพื่อนสนิทน้อยมากแม้จะพยายามอย่างมากเพื่อจะผูกมิตร
  • ไม่เข้าใจว่าคนทั่วไปมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างไร เช่น การทักทายผู้อื่น หรือการอำลา
  • ไม่สามารถปรับโทนเสียงและเนื้อหาของคำพูดของตนให้เข้ากับสถานการณ์ทางสังคมที่แตกต่างกันได้ เช่น พูดเป็นทางการอย่างมากในงานปาร์ตี้ หรือพูดกับคนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนด้้วยวิธีการพูดที่คุ้นเคย
  • ไม่มีอารมณ์สนุกร่วมไปกับสถานการณ์ที่เด็กในวัยของพวกเขาชอบ
  • ไม่ค่อยใช้ท่าทาง ภาษากาย หรือการแสดงออกทางสีหน้าในการสื่อสาร
  • หลีกเลี่ยงการสบตา

พฤติกรรม

  • มีการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ เช่น สะบัดมือไปมา โยกตัวไปมา หรือสะบัดนิ้วมือ
  • เล่นกับของเล่นเดิมแบบไม่มีจินตนาการซ้ำไปซ้ำมา และมักจะชอบเล่นกับวัตถุสิ่งของมากกว่าเล่นกับคนอื่น
  • มีความสนใจในวัตถุ หรือกิจกรรมเฉพาะชนิดหนึ่งอย่างมาก
  • ชอบที่จะมีกิจวัตรประจำวันแบบเดิม และจะอารมณ์เสียมากขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรเหล่านี้ไป
  • มีความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบอาหารบางชนิดอย่างมาก โดยให้ความสำคัญกับพื้นผิวหรือสีของอาหารเหล่านั้นพอ ๆ กับรสชาติ
  • มีความสนใจทางประสาทสัมผัสที่ผิดปกติ โดยอาจจะชอบแค่บางส่วนของวัตถุและทำกิจกรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ซ้ำไปซ้ำมา เช่น ชอบสูดดมกลิ่นของเล่น วัตถุต่าง ๆ 

เมื่อสงสัยว่า บุตรหลานอาจมีภาวะออทิสติก ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก หรือจิตแพทย์เด็กเพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยออทิสติกเร็วที่สุด  แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการตรวจร่างกาย  พฤติกรรม และประเมินพัฒนาการ โดยไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  หากผลตรวจเป็นปกติ ทุกฝ่ายก็สบายใจ แต่หากลูกหลานมีภาวะออทิสติกจริงก็จะได้รับคำอธิบายอย่างละเอียดให้เข้าใจ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการรักษาร่วมกันต่อไปนั่นเอง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อ.พญ.ศศิธร จินทรพิณ, "มารู้จัก ... ภาวะออทิสติก" https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1307_1.pdf
นพ. ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา, นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ, ออทิสติก (Autistic Disorder) (http://rajanukul.go.th/new/ind...)
What is Autism : There is no type of autism, but many. (https://www.autismspeaks.org/what-autism)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป