โรคหืดและโรคอีสุกอีใส

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคหืดและโรคอีสุกอีใส

คนส่วนใหญ่ทราบกันดีว่าโรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยเด็กและไม่เป็นอันตราย เด็กที่เป็นโรคอีสุกอีใสมักมีอาการไข้สูง และรู้สึกไม่สบายเป็นเวลาหลายวัน ผื่นขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสที่แตกง่ายตามหน้าอก หลัง หรือหน้าท้อง โดยปกติแผลเหล่านี้จะเริ่มแห้งเป็นสะเก็ด และเริ่มหายดีภายในสามถึงสี่วัน มีน้อยกรณีที่โรคอีสุกอีใสนั้นจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง และถึงแก่ความตาย

การป้องกันโรคอีสุกอีใสในเด็ก

แนวทางทางการแพทย์แพทย์ปัจจุบันแนะนำให้เด็กทุกคนได้รับวัคซีนอีสุกอีใส แม้ว่าเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีนอาจจะมีโอกาสติดเชื้อโรคอีสุกอีใสได้อยู่บ้าง แต่ก็จะทำให้โรคนี้มีอาการรุนแรงน้อยลง และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ลดลงเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลูกของคุณมีโอกาสได้รับเชื้ออีสุกอีใสหรือไม่

เมื่อทราบว่ามีเด็กติดเชื้ออีสุกอีใสภายในโรงเรียน ลองถามเพิ่มเติมว่าเด็กคนนั้นอยู่ในชั้นเรียนกับบุตรหลาน หรือเป็นเพื่อนเล่นประจำของพวกเขาหรือไม่  ถ้าเป็นเช่นนั้น บุตรหลานของคุณจะมีโอกาสได้รับเชื้ออีสุกอีใสมาแล้ว ให้ตรวจสอบอาการของพวกเขาทุกวันในระหว่างระยะฟักตัวของโรคซึ่งกินเวลาสองถึงสามสัปดาห์ ว่ามีอาการเป็นไข้และตุ่มน้ำใสตามตัวหรือไม่

โรคหอบหืดซึ่งรักษาด้วยเสตียรอยด์ กับโรคอีสุกอีใสในวัยเด็ก

เด็กหลายคนที่เป็นโรคหอบหืดจะได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานเป็นเวลานานหลายเดือน หรือหลายปีเพื่อลดอาการบวม และทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ชื่อของยาเหล่านี้ที่ได้ยินกันบ่อยคือ ยา prednisolone ในขณะที่เด็กบางส่วนอาจได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานเป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นประมาณห้าถึงเจ็ดวัน การรักษาระยะสั้นนี้จะจำเป้นในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อความรุนแรงของโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแม้ว่ากลุ่มยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าสามารถยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ แต่เด็กที่ได้รับยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานนั้นไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อนจากอีสุกอีใสเท่าใดนัก

ไม่มีหลักฐานว่ายาสเตียรอยด์ชนิดสูดดมนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับเด็กที่เป็นโรคหอบหืดที่สัมผัสกับเชื้อโรคอีสุกอีใส ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดดมเป็นยาสำคัญซึ่งจะถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการในระยะยาว และลดความจำเป็น และลดขนาดในการใช้ยาเสริมอื่นๆ เช่น ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน

โดยปกติเด็กที่เป็นโรคหอบหืดที่ได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดใดก็ตาม และเกิดมีอาการอีสุกอีใสขึ้นควรเข้ารับการรักษาด้วยยาดังกล่าวต่อไป การหยุดการรักษาด้วยโรคหอบหืดที่กำหนดไว้เป็นความเสี่ยงอันตรายรุนแรงมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาสเตียรอยด์ในช่วงการระบาดของโรคอีสุกอีใส

หากบุตรของท่านป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสในขณะที่กำลังรักษาโรคหอบหืดด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดฉีด หรือชนิดรับประทานให้แจ้งกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ของบุตรหลานท่านทันที แพทย์อาจสั่งให้มีการฉีดวัคซีน Varicella zoster immune globulin (VariZIG) อย่างไรก็ตาม หากบุตรของท่านได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์ชนิดสูดดม แต่ไม่ได้ใช้ยาชนิดรับประทาน VariZIG นี้มักไม่จำเป็น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้อาจสั่งยา acyclovir ให้ทานเพิ่มเติม ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่ช่วยลดผลกระทบของโรคอีสุกอีใส

ที่มา: http://acaai.org/asthma/condit...


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chickenpox Complications: Who’s at Risk, and Why?. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/chickenpox/complications/)
Fatal chickenpox pneumonia in an asthmatic patient on oral steroids and methotrexate. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC474301/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป