ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการอ่อนแรง คือ ความรู้สึกที่ร่างกายอ่อนเพลีย อ่อนล้า เหนื่อยอ่อน อาจไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้เกิดอาการสั่นตามร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ ในบางรายอาจพบอาการกระตุกบริเวณที่มีอาการอ่อนแรง
ผู้ป่วยมักจะมีอาการอ่อนแรงที่บางบริเวณของร่างกาย เช่น ที่แขนหรือขา แต่ก็มีบางรายที่อาจมีอาการอ่อนแรงทั้งร่างกาย ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัสตับอักเสบ โดยอาการอ่อนแรงอาจเกิดขึ้นชั่วคราว หรือเรื้อรังก็ได้
อาการอ่อนแรงมีอาการอะไรบ้าง?
เมื่อเกิดอาการอ่อนแรงขึ้น จะสามารถพบอาการดังนี้
- อาการอ่อนแรงที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย (Isolated Weakness) : หากพบอาการอ่อนแรงที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย อาจทำให้มีอาการเคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ และมีอาการสั่นที่ควบคุมไม่ได้
- อาการอ่อนแรงทั้งร่างกาย (Full-Body Weakness) : อาการอ่อนแรงชนิดนี้จะทำให้รู้สึกเพลียคล้ายกับตอนเป็นไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการไข้ หรือมีอาการปวดที่บริเวณที่มีอาการ
- อาการที่เป็นอันตราย : หากมีอาการต่อไปนี้ร่วมกับอาการอ่อนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- เวียนศีรษะ
- หน้ามืด
- สับสน
- พูดลำบาก
- การมองเห็นผิดปกติไป
- เจ็บหน้าอก
- หายใจลำบาก
สาเหตุของอาการอ่อนแรง
สาเหตุของอาการอ่อนแรงที่พบบ่อย ได้แก่
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
- โรคของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Disease)
- โลหิตจาง (Anemia) ซึ่งเกิดจากการเสียเลือดในปริมาณมากขณะมีประจำเดือน
- ซึมเศร้า (Depression)
- นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ (Lack of sleep)
- โรคเบาหวาน (Diabates) ที่ควบคุมได้ไม่ดี หรือเป็นโรคเบาหวานแต่ไม่ได้รับการวินิจฉัย
- หัวใจล้มเหลว (Heart Failure)
- ขาดวิตามินบี 12 (Vitamin B12 Deficiency)
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ซึ่งมักเกิดขึ้นขณะใช้ยาคลายกังวลชนิดอ่อน (Mild Tranquilizers) เพื่อรักษาอาการวิตกกังวล
- กล้ามเนื้ออักเสบหลายมัด (Polymyositis)
- การได้รับยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
ในบางครั้ง อาจพบอาการอ่อนแรงได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
- โรคมะเร็ง (Cancer)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (Heart attack)
- การบาดเจ็บที่เส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อ
- เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อ
- การได้รับยาเกินขนาด
- การได้รับวิตามินเกินขนาด
- การได้รับสารพิษ
การวินิจฉัยสาเหตุของอาการอ่อนแรง
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติอาการ เก็บปัสสาวะและเจาะเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อหาการติดเชื้อและโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการอ่อนแรง ถ้ามีอาการปวดร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาให้มีการตรวจด้วยการถ่ายภาพทางการแพทย์ ได้แก่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- การตรวจเอกซเรย์
- การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI scan)
- การตรวจซีทีสแกน (CT scans)
- การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasounds)
ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าอาการอ่อนแรงของผู้ป่วย อาจเกิดจากภาวะหัวใจตายจากการขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมอง แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจสแกนสมอง (Brain Scan) และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) ร่วมด้วย
การรักษาอาการอ่อนแรง
การรักษาอาการอ่อนแรงส่วนมาก มักจะรักษาที่ต้นเหตุ ซึ่งก็คือโรคที่ทำให้เกิดอาการนี้ขึ้น เช่น
- ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) : ถ้าผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำ การเพิ่มปริมาณสารน้ำเข้าสู่ร่างกายจะช่วยบรรเทาอาการอ่อนแรงได้ หากผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง ก็อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยการให้สารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ และอาจจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อเพิ่มความดันโลหิตด้วย ซึ่งจะช่วยให้อาการอ่อนแรงดีขึ้น
- โรคมะเร็ง (Cancer) : ถ้าอาการอ่อนแรงมีสาเหตุมาจากโรคมะเร็ง ทางเลือกในการรักษามะเร็ง ได้แก่ การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy), การฉายรังสี (Radiation treatment) และการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัดและวิธีอื่นๆ อาจเป็นสาเหตุของอาการอ่อนแรงได้เช่นกัน
- การสูญเสียเลือด : หากอาการอ่อนแรงเกิดจากการสูญเสียเลือด แพทย์อาจให้การรักษาด้วยการให้ธาตุเหล็กเสริม หรือถ้าอาการโลหิตจางมีความรุนแรงมาก แพทย์อาจให้การรักษาด้วยการให้เลือด
ในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าอาการอ่อนแรงเกิดจากไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เพียงแค่รับประทานยาบรรแก้ปวด ลดไข้ และพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว อาการอ่อนแรงก็จะหายไปเอง
ที่มาของข้อมูล
April Kahn, What Causes Asthenia? (https://www.healthline.com/symptom/asthenia),March 9, 2016.