May 21, 2019 22:23
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การรักษาโรคดึงผมตัวเองนั้นนอกจากการใช้ยาแล้วก็ยังสามารถใช้การรักษาด้วยการทำจิตบำบัดหรือพฤติกรรมบำบัดร่วมด้วยได้ครับ แต่การรักษาในรูปแบบนี้ก็ไม่ได้ทำได้ในทุกโรงพยาบาลเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยอาจมากเกินกว่าที่แพทย์จะมีเวลามาทำจิตบำบัดได้
ในเบื้องต้นจึงอาจต้องลองปรึกษากับจิตแพทย์ที่ดูแลอยู่ประจำก่อนว่ามีเวลาเพียงพอสำหรับการทำจิตบำบัดหรือไม่ ถ้าไม่สามารถทำได้ก็อาจขอให้แพทย์ส่งตัวไปรักษาต่อในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการทำจิตบำบัดได้ครับ
นอกจากนี้หมอก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อตรวจประเมินสุขภาพของหนังศีรษะเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีปัญหาของหนังศีรษะที่เป็นอุปสรรคต่อการงอกของเส้นผมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
พฤติกรรมดึงผมตัวเองอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหนังศีรษะที่ทำให้มีอาการคันหรืออาการผิดปกติในรูปแบบอื่นๆ แล้วกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมดึงผมตัวเอง หรืออาจเกิดจากความเครียด วิตกกังวล เมื่อดึงผมแล้วจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
แนวทางการรักษาอาจต้องรักษาจากจิตแพทย์ควบคู่กับแพทย์ผิวหนัง
จิตแพทย์จะมีวิธีการรักษาพฤติกรรมผิดปกตินี้ด้วยการใช้ยา ซึ่งยาจะเป็นตัวช่วยลดความวิตกกังวล ช่วยให้สามารถควบคุมความคิด อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆได้ง่ายขึ้น ร่วมกับการทำจิตบำบัด หากจิตแพทย์/นักจิตวิทยาฯ มีเวลาไม่มากพอที่จะทำจิตบำบัด อยากแนะนำให้ลองปรับพฤติกรรมด้วยตนเองดูก่อน ดังนี้นะคะ
1. สังเกตว่ามีพฤติกรรมดึงผมเกิดขึ้นตอนไหน ก่อนจะมีพฤติกรรมดึงผมรู้สึกอย่างไร มีสัยญาณอะไรที่บ่งบอกว่าจะเกิดพฤติกรรมดึงผมตัวเอง
2. เมื่อพบสัญญาณที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมดึงผม แนะนำให้หยุดความคิดแล้วดึงตัวเองออกมา /เบี่ยงเบนความคิด ไปทำสิ่งอื่นแทน
3. การใช้หนังยางใส่ที่ข้อมือ เมื่อรู้สึกอยากดึงผม ให้ดีดหนังยางเพื่อทำให้รู้สึกตัวและเบี่ยงเบนไปทำอย่างอื่นทันที
4. การใส่ถุงมือ ในเวลาที่มักจะมีพฤติกรรมดึงผมเกิดขึ้น บ่อยๆ
5. พยายามออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย หรือทำงานอดิเรกที่ชอบ จะช่วยลดความวิตกกังวลได้
6.ทานยาตามที่คุณหมอสั่งให้สม่ำเสมอ และไปพบแพทย์ตามนัดนะคะ
การรักษาอาจต้องใช้ระยะเวลา สิ่งสำคัญ การปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมจะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นค่ะ
การรักษาจากแพทยืผิวหนัง ในส่วนนี้ คุรหมอจะดูแลในเรื่องของสุขภาพหนังศีรษะ รวมทั้งฟื้นฟูสภาพเส้นผม ทำให้มีผมงอกตามปกติ ค่ะ
ดังนั้นในกรณีนี้ แนะนำให้ทานยาต่อเนื่อง แล้วลองปรับพฤติกรรมตัวเองตามที่แนะนำดูก่อน ถึงวันนัดก็ควรไปพบแพทย์ตามนัดนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอสอบถามหน่อยค่ะ พอดีมีปัญหาเรื่องดึงผมมาตั้งแต่ ป.2 จนตอนนี้เข้าปี1 แล้วก็ยังไม่หายค่ะ อาการเป็นหนักมาก ตอนนี้ปัจจุบันอายุ19 ผมที่หนังศรีษะหายไปครั้งหัวค่ะ ไปพบจิตแพทย์แล้ว ได้ยามารักษา 1ปี ทั้งให้ยาและคำปรึกษา อาการก็เหมือนเดิมค่ะ บางทีเป็นหนักกว่าเดิม ไม่ทราบว่าต้องทำยังไงดีคะ ดึงตลอดเวลาเลยค่ะส่วนใหญ่เป็นลูกผมที่งอกใหม่ ผมเสีย แตกปลายค่ะ ทานยาก็ไม่หายตอนนี้ไม่อยากทานแล้วค่ะเพราะทานไปก็เหมือนเดิม อยากทราบว่าพอจะมีวิธีรักษาอื่นอีกมั้ยคะนอกจากทานยา แล้วเป็นแบบนี้จะหายมั้ยคะตอนนี้กลัวผมไม่ขึ้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)